svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หมอยง รื้องานวิชาการ "ฝีดาษลิง" 20 ปีก่อน ยืนยันน่ากลัวน้อยกว่า "โควิด"

25 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอยง รื้องานวิชาการ 20 ปีที่แล้ว ยืนยัน "ฝีดาษลิง" แพร่สู่มุนษย์ เป็นไปได้ยาก และน่ากลัวกว่า "โควิด-19" สามารถควบคุมการระบาดได้

25 พฤษภาคม 2565 ความคืบหน้ากรณี “หมอยง” ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระบุถึง “ฝีดาษลิง” มีมานานนับสิบปี การติดต่อของโรคยาก ต้องสัมผัสฝีหนองและสารคัดหลั่ง

 

ล่าสุด หมอยง ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” หัวข้อ “ฝีดาษลิง ในคน” หยิบยกงานวิชาการที่เขียนไว้เมื่อปี 2546 หรือเมื่อ 20 ปีที่แล้ว มายืนยันว่าการแพร่ระบาดมีมานานและข้อแนะนำในอดีตสามารถใช้ได้ในปัจจุบัน มีรายละเอียดดังนี้..

 

“ฝีดาษลิง ในคน”
ยง ภู่วรวรรณ  25 พฤษภาคม 2565

 

โรคนี้ไม่ใช่โรคใหม่ เคยระบาดในแอฟริกาแล้วเข้าสู่อเมริกา ระบาดในหลายรัฐในปีพ.ศ 2546  มีผู้ป่วยมากกว่า 30 ราย
 

ในปีนั้น ผมได้เขียนบทความทางวิชาการ ลงในวารสารคลินิก อย่างละเอียด และข้อเสนอแนะบทความนี้ก็ยังสามารถใช้ได้ในปัจจุบัน ได้ไปค้นและหยิบขึ้นมา ดังที่ได้เผยแพร่นี้
 

หมอยง รื้องานวิชาการ "ฝีดาษลิง" 20 ปีก่อน ยืนยันน่ากลัวน้อยกว่า "โควิด"

เป็นเวลาเกือบถึง 20 ปีแล้ว ที่เขียนเรื่องนี้ขึ้นมา และเมื่อมาอ่านดูเนื้อหาก็ยังสามารถใช้ได้ดี 

 

การติดต่อของโรคนี้ ติดต่อได้ยากกว่า  covid 19 ไข้ทรพิษ มาก โอกาสที่จะระบาดใหญ่แบบโควิด หรือไข้ทรพิษ จึงมีน้อยมาก

 

หมอยง รื้องานวิชาการ "ฝีดาษลิง" 20 ปีก่อน ยืนยันน่ากลัวน้อยกว่า "โควิด"

หมอยง รื้องานวิชาการ "ฝีดาษลิง" 20 ปีก่อน ยืนยันน่ากลัวน้อยกว่า "โควิด"

 

ก่อนหน้านี้ หมอยง โพสต์ถึง ฝีดาษลิง เมื่อ 21 พ.ค.ที่ผ่านมาว่า ขอพูดซ้ำอีกครั้ง การเรียกฝีดาษวานร เพื่อเป็นเกียรติให้กับศาสตราจารย์นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ ที่ใช้เรียกชื่อนี้มามากกว่า 10 ปี

 

ไวรัสในตระกูลฝีดาษ Poxvirus ทำให้เกิดโรคทั้งในมนุษย์  และในสัตว์หลายชนิดเช่น วัว ลิง นกและไก่ ซึ่งไวรัสพบในสัตว์อาจจะข้ามมาสู่คนได้ เช่น ฝีดาษวัว ฝีดาษลิง ฝีดาษคน (smallpox) ถ้าเกิดในมนุษย์จะรุนแรงที่สุด และติดต่อคนสู่คนได้ง่ายมาก แต่การข้ามสายพันธุ์ของไวรัสฝีดาษวานร มาสู่คน การแพร่กระจายจะเกิดได้ยากกว่า ต้องสัมผัสอย่างใกล้ชิด และความรุนแรงของโรคจะน้อยกว่าฝีดาษคนมาก 

 

หมอยง รื้องานวิชาการ "ฝีดาษลิง" 20 ปีก่อน ยืนยันน่ากลัวน้อยกว่า "โควิด"

ฝีดาษวัว ก็ข้ามมายังคนได้ ตัวอย่างเช่นหญิงรีดนม ที่ติดฝีดาษวัว ในสมัยคุณหมอเอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ กว่า 200 ปีที่แล้ว ที่คุณหมอเจนเนอร์ พบว่า หญิงรีดนมที่ติดฝีดาษวัว แล้วเมื่อเกิดการระบาดของโรคฝีดาษคน หญิงรีดนมคนนี้ไม่ติดโรคฝีดาษ จึงเป็นที่มาของการเอาเชื้อฝีดาษวัว มาปลูกให้กับคนแล้วสามารถป้องกันฝีดาษของคนได้ โดยที่คนติดฝีดาษวัว เป็นเพียงแค่ตุ่มหนองเล็กๆตุ่มหนึ่งเท่านั้น และก็หายไปโดยที่แผลเป็นไว้ ส่วน โรคสุกใส (Chicken pox) เป็นไวรัสคนละตัว ไม่เกี่ยวข้องกันเลย  

 

ไวรัสในกลุ่มฝีดาษวานร ฝีดาษวัว ฝีดาษคน มีความคล้ายคลึงกันมาก ดังนั้น การปลูกฝีป้องกันฝีดาษวัว ป้องกันฝีดาษคนได้ และยังพบว่า น่าจะป้องกันฝีดาษวานรได้ด้วย

 

หมอยง รื้องานวิชาการ "ฝีดาษลิง" 20 ปีก่อน ยืนยันน่ากลัวน้อยกว่า "โควิด"

 

ประเทศไทย แต่เติม ปลูกฝีให้กับทุกคน โดยเฉพาะตั้งแต่แรกเกิด และโรคนี้สามารถควบคุมได้ และหมดไป จึงเลิกการปลูกฝีในประเทศไทย ประมาณปี พศ 2517 เป็นต้นมา  และองค์การอนามัยโลกประกาศว่าฝีดาษหมดไปในปีพ.ศ 2523  และทั่วโลกก็เลิกปลูกฝีตั้งแต่นั้นมา 

 

ประชากรไทยที่เกิดก่อนปี 2517  เกือบทุกคนมีการปลูกฝี หรือสังเกตได้จากการมีแผลเป็นของการปลูกฝี เป็นแผลเป็นที่แบนราบ แต่เรายังมีการให้วัคซีน BCG ป้องกันวัณโรค ซึ่งแผลเป็นของวัคซีนป้องกันวัณโรคจะมีลักษณะนูนกว่า  ดังแสดงในรูป แผลเป็นบนจะเป็นวัคซีนป้องกันวัณโรค แผลเป็นล่างจะเป็นวัคซีนป้องกันฝีดาษ (ภาพที่ 1 -2) เป็นวัณโรค (ภาพที่ 3) เป็นแผลเป็นจากวัคซีนฝีดาษ

 

ภาพที่ 1

ภาพที่ 2

ภาพที่ 3

logoline