svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ทส. จับมือพันธมิตร ศึกษาอุปกรณ์บำบัดไอเสีย ลดการเกิดมลพิษ

18 พฤษภาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมควบคุมมลพิษ ร่วมมือกับหน่วยงานขนส่งมวลชน ทหาร เอกชน องค์กรธุรกิจด้านพลังงานสะอาด เปิดโครงการศึกษาประสิทธิภาพอุปกรณ์บำบัดไอเสีย จากเครื่องดีเซลในสภาวะจริง นำไปกำหนดมาตรการเชิงนโยบายลดมลพิษ ยกมาตราฐาน ยูโร 5 - 6 ดึงทูตสหราชอาณาจักร เป็นสักขีพยาน

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เป็นประธานและร่วมลงนาม การดำเนินงานโครงการศึกษาประสิทธิผลของการติดตั้งอุปกรณ์บำบัดไอเสียรถยนต์ สำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดใหญ่ใช้งานเพื่อการพาณิชย์ เพื่อลดมลพิษทางอากาศ ร่วมกับ กองทัพเรือ โดยกรมการขนส่งทหารเรือ กรมการขนส่งทางบก องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ บริษัท สามมิตร กรีนพาวเวอร์ จำกัด บริษัท Eminox Ltd บริษัท เอสซีจี โลจิสติกส์ จำกัด และบริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด โดยมีนายเดวิด โทมัส อุปทูตรักษาการแทน สถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย ร่วมเป็นสักขีพยาน เพื่อการทดสอบประสิทธิภาพของ Diesel Particulate Filter (DPF) ในสภาวะของการใช้งานจริงของรถยนต์ดีเซล เป็นข้อมูลประกอบการกำหนดมาตรการเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหามลพิษจากรถยนต์ดีเซลใช้งานในประเทศไทย ให้สำเร็จต่อไปตามวาระแห่งชาติ

 

นายอรรถพล กล่าวว่า จากสถานการณ์ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งพื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) โดย คพ. และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันพิจารณาแนวทางและมาตรการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้ “การแก้ไขปัญหามลภาวะด้านฝุ่นละออง” เป็นวาระแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 

โครงการศึกษาประสิทธิผลของการติดตั้งอุปกรณ์บำบัดไอเสียรถยนต์ สำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดใหญ่

 นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เป็นประธานและร่วมลงนาม การดำเนินงาน

ภายใต้แผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” มีมาตรการในการแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศจากภาคการขนส่งที่สำคัญ ได้แก่ การกำหนดมาตรฐานไอเสียรถยนต์ใหม่ ระดับ ยูโร 5 และยูโร 6 ควบคู่ไปกับการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงกำมะถันต่ำ 

 

การส่งเสริมการใช้รถยนต์พลังไฟฟ้าในประเทศ ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถโดยสารสาธารณะ และศึกษาวิจัยเทคโนโลยีอุปกรณ์บำบัดไอเสียเพื่อประเมินประสิทธิภาพและพิจารณาใช้งานกับกลุ่มรถยนต์ดีเซลใช้งานทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ในที่มีอายุการใช้งานมากกว่า 15 ปี ที่มีจำนวนมากถึงร้อยละ 60 ของรถยนต์เครื่องยนต์ดีเซลที่มีการใช้งานในประเทศ เป็นต้น

โครงการศึกษาประสิทธิผลของการติดตั้งอุปกรณ์บำบัดไอเสียรถยนต์ สำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดใหญ่

การทดสอบประสิทธิภาพของ Diesel Particulate Filter (DPF) นำข้อมูลประกอบการกำหนดนโยบาย การกำหนดมาตรฐานไอเสีย ระดับ ยูโร 5 และยูโร 6 ควบคู่มาตรฐานคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงกำมะถันต่ำ

นายอรรถพล กล่าวว่า การศึกษาอุปกรณ์ Diesel Particulate Filter (DPF) เป็นเทคโนโลยีสำหรับกรองฝุ่นละอองจากไอเสียรถยนต์ที่มีการติดตั้งในรถยนต์ในระดับมาตรฐานยูโร 5 และยูโร 6 มีประสิทธิภาพในการลดฝุ่นละอองทั้งน้ำหนัก (Mass) และจำนวนอนุภาค (Particle Number) จากไอเสียรถยนต์ได้ถึงร้อยละ 90 และปัจจุบันมีการใช้งานกับรถยนต์กลุ่มมาตรฐานดังกล่าว รวมถึงรถยนต์ใช้งานที่ใช้เทคโนโลยีเก่ามากกว่า 10 – 15 ปี ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจและเป็นที่ยอมรับทั่วโลก เพื่อจัดการและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไอเสียรถยนต์ ทั้งกับรถยนต์ใหม่และรถยนต์ใช้งาน

 

“ภาคเอกชนและผู้ประกอบการจำเป็นต้องมีเทคโนโลยีช่วยในการลดการเกิดมลพิษจากเครื่องยนต์เก่า ท่อไอเสียที่ปลดปล่อยออกมาต้องอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานเพื่อลดการเกิดฝุ่นละออง PM2.5 ซึ่งแหล่งกำเนิดมลพิษหลักมาจากภาคการขนส่งและการจราจร การกำหนดมาตรฐานฝุ่น PM2.5 ใหม่เป็น 37.5 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ของไทยให้เทียบเท่ากับมาตรฐานของประเทศสหรัฐฯและกลุ่มประเทศยุโรป รวมถึงการกำหนดมาตรฐานไอเสียรถยนต์ใหม่ ระดับยูโร 5 และยูโร 6 จะทำให้ฝุ่น PM2.5 ลดลงไปได้ถึง 75%" นายอรรถพล กล่าว

logoline