svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กสม.จี้ศบค.ยกเลิก "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"ฉ.27 ละเมิดสิทธิ์มนุษยชน

07 เมษายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คณะกรรมการสิทธิมนุษชยแห่งชาติ เผยมติ กสม. ชี้ ข้อกำหนดฯออกตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับ 27 ข้อ 11 เป็นการจํากัดเสรีภาพในการแสดงออก รวมทั้งเสรีภาพในการเสนอข้อมูลข่าวสารของประชาชน เข้าข่ายละเมิดสิทธิมนุษยชน จี้ ศบค.ยกเลิกภายใน 60 วัน

เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 2565 สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษชยแห่งชาติ (กสม.) แถลงข่าวถึงผลการพิจารณาข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่ง พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ฉบับที่ 27 จํากัดเสรีภาพการเสนอข่าวสารในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โรคโควิด-19 ที่ออกโดย ศบค. ว่า เกินสมควรแก่เหตุ เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

 

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้แทน 6 องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ได้แก่ สภาการสื่อมวลชนแห่งชาติ สมาคมนักข่าววิทยุโทรทัศน์ไทย สมาคมนักข่าว นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สหภาพแรงงานกลางสื่อมวลชนไทย และสมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2564  ขอให้ตรวจสอบกรณีที่นายกรัฐมนตรีประกาศใช้ ข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2564 ข้อ 11 และ ข้อกําหนดฯ (ฉบับที่ 29) ลงวันที่ 29 กรกฎาคม 2564

 

กสม.จี้ศบค.ยกเลิก "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"ฉ.27 ละเมิดสิทธิ์มนุษยชน

 

ซึ่งระบุมาตรการเพื่อมิให้มีการบิดเบือนข้อมูลข่าวสารอันทําให้เกิดความเข้าใจผิด ในสถานการณ์ฉุกเฉิน (สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19) และการเสนอข่าวที่อาจทําให้ ประชาชนเกิดความหวาดกลัวหรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารทําให้เกิดความเข้าใจผิดจนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน 

โดยผู้ร้องเห็นว่าการกระทํา ดังกล่าวของนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ถูกร้องเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนและสื่อมวลชน จึงขอให้ตรวจสอบนั้น  กสม. เห็นว่า การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินและออกข้อกําหนดฯ ฉบับที่ 27 ข้อ 11 เพื่อแก้ไขสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ซึ่งมีลักษณะเป็นการจํากัดเสรีภาพในการแสดงออก  รวมทั้งเสรีภาพในการเสนอข้อมูลข่าวสารของประชาชน มีข้อความของบทบัญญัติที่กว้างขวาง คลุมเครือ ไม่ชัดเจน และสามารถตีความไปได้หลายแบบตามความมุ่งหมายของผู้ใช้กฎหมาย โดยอาจมีการตีความได้ว่า การเสนอข่าวหรือการแสดงความคิดเห็นที่เป็นความจริง แต่ทําให้ประชาชนหวาดกลัวก็ถือว่ามีความผิดได้ โดยที่มิได้พิจารณาว่าข่าวนั้นเป็นความจริงหรือไม่ หรือเป็นข่าวที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะหรือไม่  

 

นอกจากนี้ผู้บังคับใช้กฎหมายยังอาจตีความได้ว่า การเสนอข่าวหรือการแสดงความคิดเห็นที่เป็นความจริงแต่อาจทําให้ ประชาชนเกิดความหวาดกลัว  

 

จึงเห็นควรมีข้อเสนอแนะมาตรการในการป้องกันหรือแก้ไขการละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก.ศบค.) ดังนี้ คือ ให้พิจารณายกเลิกข้อกําหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกําหนดการบริหารราชการ ในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 (ฉบับที่ 27) เฉพาะส่วนในข้อ 11  และในระหว่างที่ข้อกําหนดฯ ฉบับที่ 27 ข้อ 1 ยังมีผลใช้บังคับ ให้ ศบค.ใช้วิธีการชี้แจงหรือ ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19  โดยให้พิจารณาใช้มาตรการที่จําเป็นเหมาะสมภายใต้กฎหมายที่ใช้บังคับอยู่แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายอาญา หรือ พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 เป็นต้น 

 

กสม.จี้ศบค.ยกเลิก "พ.ร.ก.ฉุกเฉิน"ฉ.27 ละเมิดสิทธิ์มนุษยชน

นายวสันต์ ภัยหลีกลี้ กล่าวอีกว่า สำหรับขั้นตอนจากนี้จะมีการส่งรายงานของกสม.ไปยัง ศปก.ศบค. ซึ่งมีเวลาในการยกเลิกประกาศฉบับที่ 27 ข้อ 11 ดังกล่าวภายใน 60 วัน และกสม.จะยังติดตามผลักดันเรื่องนี้ต่อ เพราะในรายงานระบุแล้วว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน

logoline