svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สปสช. แนะ 5 วิธีเอาตัวรอดจากวายร้ายโควิด19 อย่างไรในที่ทำงาน

31 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สปสช. เผย 5 วิธีดีๆ ในการเอาตัวรอดจากวายร้ายโควิด จากสถานที่ทำงาน ทั้งนี้หากตรวจ ATK แล้วพบว่า ขึ้น 2 ขีด ใช้สิทธิแบบไหน รักษาตัวอย่างไร ตรงนี้มีคำตอบ

สปสช. แนะ 5 วิธีเอาตัวรอดจากวายร้ายโควิด19 อย่างไรในที่ทำงาน

วายร้ายไวรัสโควิด หนึ่งภัยร้ายที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ และสามารถติดต่อจากคนสู่คนโดยการคลุกคลี เข้าใกล้ชิดกับผู้ป่วย โดยติดเชื้อผ่านละอองฝอยของน้ำมูก น้ำลาย ของผู้ป่วยติดเชื้อ จากการจาม ไอ หรือการสัมผัส ซึ่งวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อโควิด-19 ด้วยตัวเราเอง คือ

 

– อย่าเอามือปิดปากเวลาไอหรือจาม เนื่องจากทำให้เชื้อโรคติดมือ และมือของเรานี่เองที่จะไปสัมผัสสิ่งต่าง ๆ เช่น ราวบันได ปุ่มกดลิฟต์ และทำให้ผู้อื่นที่มาสัมผัสต่อเสี่ยงที่จะติดเชื้อตามไปด้วย

 

– ใช้ทิชชู่ปิดปาก เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคกระจาย และควรนำทิชชูนั้นไปทิ้งถังขยะที่มีฝาปิด

 

– หากไม่มีทิชชู ให้ใช้ต้นแขนด้านในปิดปากและจมูก ด้วยการนำแขนข้างใดข้างหนึ่งมาจับไหล่ฝั่งตรงข้ามของตัวเอง

 

– เมื่อไอ จาม แล้วต้องรีบล้างมือด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจลทันที

สปสช. แนะ 5 วิธีเอาตัวรอดจากวายร้ายโควิด19 อย่างไรในที่ทำงาน

ทาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) นำข้อมูลจากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข แนะนำ 5 วิธี อยู่ที่ทำงานอย่างไร ให้ปลอดภัยจากโควิด-19 ดังนี้

1. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ที่ปฏิบัติงาน และล้างมือบ่อยๆ

2. หมั่นทำความสะอาดของใช้ส่วนตัว เช่น โทรศัพท์ โต๊ะทำงาน

3. ใช้รูปแบบออนไลน์ แทนการรวมกลุ่มพูดคุยหรือการประชุม

4. ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม

5. แยกกันกิน และเว้นระยะห่าง ระหว่างกันกับผู้ร่วมงาน

สปสช. แนะ 5 วิธีเอาตัวรอดจากวายร้ายโควิด19 อย่างไรในที่ทำงาน

บริษัทหรือต้นสังกัด ควรพิจารณาการใช้มาตรการ Work From Home ให้มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้มีโรคประจำตัว หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้น กรณีสงสัยว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงแนะนำให้เร่งตรวจ ATK เพื่อยืนยัน หากตรวจ ATK แล้วขึ้น 2 ขีด ติดเชื้อโควิด-19 ให้ดำเนินการดังนี้

1.กลุ่มที่ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย (สีเขียว) รักษาตามอาการ เช่น ยาลดไข้ แก้ไอ แก้เจ็บคอ หรือไปรับยาที่สถานพยาบาลตามสิทธิ-สถานพยาบาลรัฐใกล้บ้าน (เจอ แจก จบ) และกักตัวอยู่ที่บ้าน 10 วัน การใช้สิทธิรักษา มีดังนี้

- สิทธิบัตรทอง 30 บาท (สปสช.)  ติดต่อไปที่สถานพยาบาลประจำที่ท่านลงทะเบียนไว้ หรือไปที่หน่วยบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้ทั่วประเทศ 

โรงพยาบาลเอกชน ที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช.

- สิทธิประกันสังคม ไป รพ.ที่ลงทะเบียนไว้ รวมถึงสถานพยาบาลคู่สัญญาในระบบประกันสังคมทุกแห่ง และสถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง (สายด่วน 1506)

- สิทธิข้าราชการ ไป สถานพยาบาลรัฐทุกแห่ง และ รพ.เอกชนที่ทำข้อตกลงรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มสีเขียวกับ สปสช. (สายด่วนกรมบัญชีกลาง 02-2706400 วัน-เวลาราชการ)

 

2.กลุ่มที่มีอาการปานกลางถึงอาการหนัก (กลุ่มสีเหลือง-สีแดง) ทุกสิทธิการรักษาใช้สิทธิ UCEP Plus เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ สถานพยาบาลรัฐ-เอกชน ที่อยู่ใกล้ได้

 

3.กลุ่มเปราะบาง 608 หญิงตั้งครรภ์ เด็กเล็กอายุ 0-5 ขวบ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง ที่เป็นสิทธิบัตรทอง 30 บาท (สิทธิ สปสช.) และสิทธิองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โทร. 1330 ประเมินอาการเข้าระบบรักษาที่บ้าน

 

สำหรับหมายเลขโทรศัพท์ ที่ควรบันทึกไว้กรณีตนเองหรือคนใกล้ชิดติดเชื้อ ได้แก่

- เจ็บป่วยฉุกเฉิน โทร. 1669

- ประกันสังคม โทร. 1506

- บัตรทอง-อปท. โทร. 1330

- ข้าราชการ โทร. 02-270-6400

- สอบถามสิทธิ UCEP Plus 028721669

สปสช. แนะ 5 วิธีเอาตัวรอดจากวายร้ายโควิด19 อย่างไรในที่ทำงาน

 

logoline