svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

อัยการ-นักวิชาการ ระดมสมองถกร่างกฎหมาย "ชะลอฟ้อง" เพื่ออะไร

24 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดบทสรุปงานเสวนาทางวิชาการ เรื่อง “ชะลอฟ้อง เพื่ออะไร เพื่อใคร EP.3 : เปิดร่างกฎหมายชะลอฟ้อง” ที่จัดโดย สถาบันนิติวัชร์ สำนักงานอัยการสูงสุด

สำนักงานวิจัยกฎหมายอาญาและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ สานักงานอัยการสูงสุด ได้จัดเสวนาทางวิชาการในหัวข้อเรื่อง “ชะลอการฟ้อง เพื่ออะไร เพื่อใคร EP.3 : เปิดร่างกฎหมายชะลอฟ้อง” ผ่านระบบ Zoom และ Facebook Live โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายวิพล กิติทัศนาสรชัย ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยกฎหมายอาญาและพัฒนากระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ เป็นวิทยากร และมี ดร.สรรพัชญ รัชตะวรรณ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานวิจัยกฎหมายอาญาและ พัฒนากระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์ ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ

ม.ล.ศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์

งานเสวนาเริ่มต้นโดย ม.ล.ศุภกิตต์ จรูญโรจน์ เลขาธิการสถาบันนิติวัชร์ กล่าวเปิดการเสวนา และอภิปรายพิเศษ โดยเกริ่นนำถึงความเป็นมาและความพยายามของหน่วยงานต่าง ๆ ในอดีตที่ต้องการ นำการชะลอการฟ้องมาใช้ในประเทศไทยเพื่อให้โอกาสแก่ผู้กระทำผิดบางประเภทไม่ต้องถูกควบคุมตัว เข้าสู่เรือนจำและสามารถกลับสู่สังคมปกติได้โดยไว

 

แต่ด้วยเหตุที่ยังมีข้อถกเถียงและปัญหาบางประการ จึงทำให้ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งในครั้งนี้ที่ทุกหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้ร่วมมือกัน ยกร่างกฎหมายชะลอการฟ้องฉบับนี้ขึ้นจนสำเร็จ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความเห็นของประชาชน ก่อนที่จะนำร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

 

ประเด็นเรื่องหลักการและเหตุผลของร่างพระราชบัญญัติชะลอการฟ้อง พ.ศ. ….เริ่มต้นประเด็นโดย นายวิพล กิติทัศนาสรชัย กล่าวว่า เนื่องจากการที่สังคมไทย ไม่มีมาตรการชะลอการฟ้องทำให้ผู้ที่พลั้งพลาดกระทำความผิดกฎหมายอาญาที่ไม่มีความร้ายแรงขาดโอกาส ในการที่จะไม่มีมลทินมัวหมองติดตัว ซึ่งกระทบต่อโอกาสในการใช้ชีวิตทั้งในด้านการเรียน และการทำงานเนื่องจากเมื่อถูกฟ้องคดีต่อศาล

 

แม้ต่อมาศาลจะพิจารณารอการลงโทษก็ตาม บุคคลนั้นก็มีประวัติอาชญากรรมติดตัวแล้ว ต้องการให้โอกาสแก่ผู้ต้องหาที่ไม่มีแนวโน้มว่าจะกลับไปกระทำความผิดซ้ำและเปิดโอกาสรับฟังความเห็นและความต้องการของผู้เสียหาย เพื่อให้ผู้ต้องหาทราบและได้แสดงความรับผิดชอบเสียแต่ในโอกาสแรก และมีการออกแบบกลไกการตัดสินใจชะลอฟ้องให้มีคุณภาพเพื่อไม่พลาดไปให้โอกาสกับผู้ที่ไม่สมควรได้รับโอกาส และไม่พลาดไปปิดโอกาสผู้ที่ควรได้รับโอกาส 

 

ประเด็นเรื่องประเภทของคดีที่สามารถเข้าสู่กระบวนการชะลอการฟ้องได้
นายวิพล กิติทัศนาสรชัย กล่าวว่า คดีที่จะชะลอฟ้องได้จะต้องเป็นคดีที่ไม่ร้ายแรงซึ่งมี อัตราโทษจาคุกอย่างสูงไม่เกิน 5 ปี ซึ่งมีความสอดคล้องกับโทษที่ศาลสามารถรอลงอาญาได้ และต้องเข้าเงื่อนไขว่า เป็นการกระทำผิดครั้งแรก (First timer) เว้นแต่จะได้กระทำผิดโดยประมาทหรือลหุโทษหรือพ้นโทษมานาน 5 ปี อีกทั้งต้องได้รับความยินยอมโดยสมัครใจจากผู้เสียหายให้มีการชะลอการฟ้องด้วย

อัยการ-นักวิชาการ ระดมสมองถกร่างกฎหมาย \"ชะลอฟ้อง\" เพื่ออะไร

ประเด็นเรื่องวิธีและขั้นตอนในการพิจารณาออกคำสั่งชะลอการฟ้อง และการกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ต้องหาปฏิบัติตาม นายวิพล กิติทัศนาสรชัย กล่าวในประเด็นนี้ว่า บทบัญญัติมาตรา 10 ได้กำหนดให้พนักงานอัยการมีอำนาจดำเนินการตามที่เห็นสมควร ดังต่อไปนี้

1.ให้พนักงานคุมประพฤติสืบเสาะประวัติ ความประพฤติของผู้ต้องหา

2.ให้พนักงานอัยการมีอำนาจสั่งให้พนักงานสอบทำการสวนสอบสวนเพิ่มเติม เพื่อทราบความเป็นมาแห่งชีวิตและความประพฤติอันเป็นอาจิณของผู้ต้องหาได้

3.จัดให้มีกระบวนการเพื่อให้เกิด ความสมานฉันท์ เร่งให้เกิดความเป็นธรรมโดยการพูดคุย ถึงการเยียวยากับผู้เสียหายในโอกาสแรกด้วย

4.การให้อำนาจพนักงานอัยการมีอำนาจสั่งให้ ผู้ต้องหา ผู้เสียหาย หรือบุคคลใด ๆ มาให้ถ้อยคำ

5.การให้อำนาจพนักงานอัยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาหารือร่วมกัน เพื่อประกอบการตัดสินใจได้ทั้งนี้พนักงานอัยการ ก็ยังต้องพิจารณาอีกว่าการชะลอฟ้องจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ต้องหา ผู้เสียหาย และสังคมหรือไม่ และจะต้องรายงาน ให้ศาลทราบโดยไม่ชักช้า

แต่ถ้าพนักงานอัยการพิจารณาแล้วเห็นว่าการชะลอการฟ้องไม่เป็นประโยชน์ต่อผู้ต้องหา ผู้เสียหาย และสังคม ก็ให้พนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ชะลอการฟ้องและดำเนินคดีต่อไป ซึ่งคำสั่งไม่ชะลอการฟ้องของพนักงานอัยการให้เป็นที่สุด

 

นายวิพล กิติทัศนาสรชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า ในขณะที่พนักงานอัยการจะมีคำสั่งชะลอการฟ้อง อาจกำหนดมาตรการที่ช่วยการประคับประคองความประพฤติของผู้ต้องหา เพื่อให้เกิดผลดีต่อตัวผู้ต้องหา ผู้เสียหาย และสังคม โดยการกำหนดให้ผู้ต้องหาต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขและระยะเวลาตามบทบัญญัติ มาตรา 11 ก็ได้

แต่อย่างไรก็ดี การคุมประพฤติจะต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี และต้องไม่เกินกำหนดอายุความสำหรับความผิดนั้น และเมื่อมีการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ แล้ว หากปรากฏว่าข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปภายหลังจากที่พนักงานอัยการมีคำสั่งชะลอการฟ้องแล้ว กฎหมายเปิดโอกาสให้พนักงานอัยการอาจแก้ไขเพิ่มเติมหรือเพิกถอนเงื่อนไขการคุมความประพฤติข้อหนึ่งข้อใดหรือทุกข้อก็ได้ และรายงานให้ศาลทราบ

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท กล่าวว่า บทบัญญัติในมาตรา 10 ถือเป็นเครื่องมือ ที่สาคัญในการประกอบการตัดสินใจสั่งชะลอฟ้องของพนักงานอัยการ ควรมีแนวทาง (Guidelines) ในการพิจารณาว่าควรมีการชะลอการฟ้องในเรื่องใดบ้าง แม้คดีจะเข้าเงื่อนไขที่สามารถชะลอฟ้องได้ พนักงานอัยการก็ต้องคำนึงถึงพฤติการณ์ความเสียหายของการกระทำความผิด และลักษณะส่วนตัวของผู้กระทำแต่ละคนประกอบการตัดสินใจด้วยในส่วนของเงื่อนไขการคุมความประพฤติมีการบัญญัติเงื่อนไขให้เลือกเพียง 8 เงื่อนไข

โดยมีเงื่อนไข ที่น่าสนใจ เช่น พนักงานอัยการสามารถกำหนดเงื่อนไขให้ผู้กระทำความผิดไปจ่ายค่าปรับได้ ริบทรัพย์ที่ได้ใช้หรือ มีไว้ใช้ในการกระทำความผิดเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ หรืออายัดรถหรือฝากใบขับขี่ไว้กับรัฐเป็นเวลา 6 เดือน หรือกำหนดให้ผู้ต้องหาต้องติดเครื่องตรวจวัดปริมาณแอลกอฮอล์ในรถเพื่อใช้ตรวจวัดก่อนจึงจะสามารถสตาร์ทรถได้ หรือห้ามมิให้ผู้ต้องหาพบกับผู้เสียหายหรือผู้ร่วมกระทำผิด

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท ได้ให้ความเห็นว่า บทบัญญัติมาตรา 11 ต้องมีการกำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ ไว้ให้ชัดเจนและหลากหลายเพื่อให้พนักงานอัยการสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสม โดยต้องมีการบัญญัติเงื่อนไขต่าง ๆ เอาไว้อย่างชัดแจ้งถึงเงื่อนไขที่พนักงานอัยการจะสามารถออกคำสั่งกำหนดได้และอีกประเด็นหนึ่งในเรื่องของระยะเวลาการคุมความประพฤติที่ได้ถูกกำหนดไว้ในในร่างมาตรา 11 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติเอาไว้ว่า “การคุมความประพฤติตามวรรคหนึ่ง ต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี แต่ต้องไม่เกินกำหนดอายุความสำหรับความผิดนั้น”

ในประเด็นนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ไม่เห็นด้วย กับการบัญญัติในลักษณะดังกล่าว โดยมีข้อสังเกตว่าระยะเวลาการคุมความประพฤตินั้นเมื่อพนักงานอัยการ ได้มีคำสั่งชะลอการฟ้องภายในกำหนดอายุความแล้ว แม้การคุมความประพฤติจะเกินกำหนดอายุความแล้ว ก็ยังสามารถคุมความประพฤติต่อไปได้ เนื่องจากเมื่อพนักงานอัยการมีคำสั่งชะลอการฟ้อง อายุความย่อมสะดุดหยุดลง

 

ประเด็นเรื่องกระบวนการตรวจสอบคำสั่งชะลอการฟ้อง
นายวิพล กิติทัศนาสรชัย กล่าวว่า หลังจากพนักงานอัยการมีคำสั่งชะลอการฟ้องแล้ว ศาลจะเข้ามามีบทบาทสาคัญในการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งชะลอการฟ้อง (Judicial Review) ซึ่งหากศาลเห็นว่ามีแนวโน้มที่คำสั่งชะลอการฟ้องจะไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็มีอำนาจเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้อง มาสอบถามเพื่อประกอบการพิจารณาสั่งได้ภายใน 30 วัน ซึ่งเจตนารมณ์ของผู้ที่ร่างกฎหมายฉบับนี้ต้องการให้กระบวนการยุติธรรมเป็นหนึ่งเดียวโดยการร่วมมือกัน ทำให้กระบวนการตัดสินใจชะลอการฟ้องมีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่บทบาทหน้าที่หลักในการตัดสินใจยังคงเป็นของพนักงานอัยการ เนื่องจากการตัดสินใจชะลอการฟ้องเป็นเรื่องของสำนวนที่พนักงานอัยการจะสั่งฟ้อง

ดร.ปกป้อง ศรีสนิท อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รองศาสตราจารย์ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท กล่าวว่า การชะลอการฟ้องถือเป็นทางเลือกที่ 3 ของพนักงานอัยการนอกเหนือจากการสั่งฟ้อง หรือสั่งไม่ฟ้องคดี ซึ่งการสั่งไม่ฟ้องคดีสามารถสั่งได้หลายเหตุผล ไม่ว่าจะด้วยเหตุหลักฐานไม่พอฟ้องหรือหลักฐานพอฟ้องแต่ไม่เป็นประโยชน์สาธารณะ แต่ข้อเสียของการ สั่งไม่ฟ้องโดยอ้างว่าไม่เป็นประโยชน์สาธารณะจะทำให้ผู้ต้องหาหลุดจากคดีอาญาโดยบริบูรณ์ โดยไม่ต้อง เสียค่าปรับ และทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำความผิดก็ต้องส่งคืนผู้กระทำความผิดซึ่งอาจนำกลับมาใช้กระทำความผิดซ้ำได้ จึงนาไปสู่การกำเนิดกฎหมายชะลอการฟ้องโดยภายใต้แนวคิดที่ว่าจะทำอย่างไรให้ไม่ต้องฟ้องคดีอาญา แต่มีการกำหนดเงื่อนไขบางอย่างให้ผู้กระทำความผิดต้องปฏิบัติตาม หากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด ก็สั่งจะยุติการดำเนินคดี แต่หากฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กำหนดก็ยังมีอำนาจดำเนินคดีต่อไป

ดร.สรรพัชญ รัชตะวรรณ อัยการประจำสำนักงานอัยการสูงสุด สำนักงานวิจัยกฎหมายอาญาและ พัฒนากระบวนการยุติธรรม สถาบันนิติวัชร์

ดร.สรรพัชญ รัชตะวรรณ ได้กล่าวเสริมว่า ในประเทศอังกฤษนั้น เท่าที่ค้นคว้ามาเบื้องต้น พบว่า ศาลสามารถเข้ามาตรวจสอบ (Judicial Review) คำสั่งชะลอการฟ้องของพนักงานอัยการได้ แต่เท่าที่เห็น ในคำพิพากษาของศาลประเทศอังกฤษ พบว่า ศาลจะเข้ามาตรวจสอบว่าคำสั่งชะลอการฟ้องชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หรือในการออกคำสั่งดังกล่าวพนักงานอัยการผู้ใช้ดุลพินิจได้ปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติ (Guideline) ของสำนักงานอัยการสูงสุดประเทศอังกฤษหรือไม่เท่านั้น ส่วนในประเทศอื่น เช่น ประเทศญี่ปุ่น หรือประเทศเกาหลีก็จะมีความแตกต่างออกไปเนื่องจากว่า ใน 2 ประเทศนั้น พนักงานอัยการเป็นผู้เข้ามามีบทบาทในคดีอาญาตั้งแต่ต้น กล่าวคือเป็นผู้มีบทบาทในการสอบสวนคดี ดังนั้น การออกคำสั่งชะลอการฟ้องจึงถือเป็นอำนาจของพนักงานอัยการโดยแท้ จึงไม่ได้มีกระบวนการในการขออนุญาตต่อศาล

 

จากนั้นผู้ดำเนินรายการได้จัดให้วิทยากรได้ตอบคำถามของผู้เข้ารับฟังการเสวนา อาทิ การชะลอการฟ้องจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้เสียหาย ซึ่งหมายความว่าผู้เสียหายอาจจะต้องได้รับค่าสินไหมทดแทนจากผู้กระทำความผิดด้วย ดังนั้น หากผู้ต้องหามีฐานะยากจนจะเข้าสู่กระบวนการชะลอฟ้องได้หรือไม่ นายวิพล กิติทัศนาสรชัย กล่าวว่า แม้เป็นผู้ที่มีฐานะยากจนแต่หากได้แสดงเจตจานง ออกมาอย่างชัดเจนว่าจะปฏิบัติตามเงื่อนไข และได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านั้นครบถ้วนก็ถือว่าเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่พึงได้รับโอกาสเข้าสู่กระบวนการชะลอฟ้อง

 

ในช่วงท้ายของการเสวนา ม.ล.ศุภกิตต์ จรูญโรจน์ ได้ตั้งข้อสังเกตว่า อาจมีการแก้ไขเพิ่มเติมร่างพระราชบัญญัติชะลอการฟ้องในประเด็นต่าง ๆ ตามที่วิทยากรเสนอความเห็น ได้แก่

1.ประเด็นเรื่องคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว คงต้องระบุให้ชัดเจนตามเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติ ชะลอการฟ้องฉบับนี้ที่ไม่ได้ใช้กับคดีที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้ต้องหา

2.ประเด็นเรื่องค่าปรับการริบทรัพย์ ที่ได้ใช้ในการกระทำความผิด การพักใช้ใบอนุญาตขับขี่ และการนำวิธีการเพื่อความปลอดภัยมาใช้เมื่อมี คาสั่งชะลอกรฟ้อง และ

3.ประเด็นเรื่องระยะเวลาการคุมความประพฤติตามร่างพระราชบัญญัติ ชะลอการฟ้อง มาตรา 11 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า “การคุมความประพฤติตามวรรคหนึ่ง ต้องมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 3 ปี แต่ต้องไม่เกินกำหนดอายุความสาหรับความผิดนั้น” ซึ่งหากเป็นคดีที่มีอายุความ เพียง 1 ปี กว่าจะมีคำสั่งชะลอการฟ้อง การกำหนดระยะเวลาคุมประพฤติคงได้ในระยะอันสั้นไม่เหมาะกับพฤติการณ์แห่งคดีบางประเภท

 

นอกจากนี้ ได้ตอบข้อกังวลของพนักงานอัยการในประเด็นที่ศาลจะเข้ามาตรวจสอบคำสั่ง ชะลอการฟ้องของพนักงานอัยการว่า ศาลจะเข้ามาตรวจสอบความชอบด้วยมาตรา 9 เท่านั้น หากพนักงานอัยการใช้ดุลพินิจโดยสุจริตเที่ยงธรรมและเป็นไป ตามหลักเกณฑ์ตามมาตรา 9 พนักงานอัยการก็ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จึงไม่ต้องกังวลว่าจะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ การเสวนา เปิดร่างกฎหมายชะลอฟ้อง

logoline