svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

“ยุติธรรมสร้างสุข” บูรณาการแก้ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

18 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดีเอสไอ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ บูรณาการตรวจพิสูจน์สัญชาติของผู้ขอมีสัญชาติไทย ในพื้นที่ อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่ และอ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน อำนวยความเป็นธรรมด้านความมั่นคง กรณีคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

“บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ” ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชน และความเหลื่อมล้ำ สำหรับประเทศไทย มี “บุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ” จดทะเบียนกับรัฐบาลทั้งสิ้น 479,943 คน ส่วนใหญ่ เป็น “กลุ่มเปราะบาง” มีปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำ เนื่องจากเป็นชนกลุ่มน้อย ฐานะยากจน อยู่ห่างไกลตามแนวชายแดน และขาดพยานหลักฐานสำคัญในการพิจารณาให้สัญชาติ ดังนั้น จึงมีคนไร้รัฐไร้สัญชาติจำนวนหนึ่งที่ยังต้องรอการพิจารณาสัญชาติอย่างเป็นธรรมจากรัฐ

 

แม้ว่าประเทศไทย ได้แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย และอนุบัญญัติเกี่ยวกับสัญชาติให้สอดคล้องกับแนวทางสหประชาชาติ เพื่อแก้ไขปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติแล้วก็ตาม แต่กลับกันยังคงพบปัญหาในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้น อีกหลายประการ หากหน่วยงานหรือองค์กรมีการประสานงานกันจะทำให้ปัญหาด้านสิทธิมนุษยชนและความเหลื่อมล้ำก็ได้รับการแก้ไข้ การบูรณาการแก้ไขปัญหา” น่าจะดีกว่า “ส่งคืนปัญหา”

 

“ยุติธรรมสร้างสุข” บูรณาการแก้ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

จากสถิติตั้งแต่ปี 2545 ถึงปัจจุบัน กรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) มีสถิติการรับเรื่องร้องเรียนเนื่องจากเป็นหน่วยงานที่ประชาชนคาดหวังต้องการให้ช่วยเหลือแก้ไขปัญหาความเดือนร้อน จากสถิติพบว่า เรื่องร้องเรียน 100 % เมื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว เป็นเรื่องสืบสวนเพื่อพิสูจน์เงื่อนไขในการเป็นคดีพิเศษได้เพียง 16.83 % ส่วนที่เหลืออีก 83.17 % ต้อง “ยุติเรื่อง” หรือ “ส่งคืนปัญหา” ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำให้ประชาชนอาจเสียโอกาส ปัญหาไม่ได้รับการแก้ไข และต้องเสียเวลาในการเริ่มต้นแก้ไขปัญหาอีก ดังนั้น การประสานงานบูรณาการร่วมกับหน่วยงาน องค์กรที่เกี่ยวข้อง ปัญหาก็จะคลี่คลาย

 

จากกรณีดังกล่าวจึงได้สร้างแนวคิด “การบูรณาการแก้ไขปัญหา” น่าจะดีกว่า “ส่งคืนปัญหา” โดยแนวคิดในการแก้ปัญหาคนรัฐไร้สัญชาติ มีดังนี้

  1. สร้างโอกาสในการเข้าถึงกระบวนการพิสูจน์สัญชาติ โดยการค้นหาและนำคนรัฐไร้สัญชาติเข้าสู่กระบวนการพิสูจน์สัญชาติ 
  2. ป้องกันปัญหาการทุจริต และสร้างความรวดเร็วในการพิสูจน์สัญชาติโดยการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการพิสูจน์สัญชาติ เช่น การตรวจพิสูจน์ DNA การนำฐานข้อมูลทะเบียนราษฎรมาเชื่อมโยงทำแผนผังครอบครัว
  3.  ช่วยเหลือในการตรวจพิสูจน์สารพันธุกรรม (DNA) โดยไม่ค่าใช้จ่าย(ค่าใช้เฉลี่ยต่อราย 8,500 บาท/ราย)  ถึงภูมิลำเนา 
  4. ลดความผิดพลาดในกระบวนการพิจารณาสัญชาติ โดยสร้างกระบวนการกลั่นกรองก่อนการพิจารณาสัญชาติ

 

“ยุติธรรมสร้างสุข” บูรณาการแก้ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

สำหรับผลการดำเนินการ มีการเพิ่มมูลค่างาน (Value Added) คำถึงปัญหาความเดือนร้อนของประชาชน จากการคิดนอกกรอบ โดยนำเรื่องร้องเรียนที่ควรต้องส่งคืน จากเรื่องร้องเรียนที่ไม่ใช่คดีพิเศษ นำมาต่อยอดบูรณาการการทำงานร่วมกันกับหน่วยงานและองค์กรที่เกี่ยวข้อง

โดยการบูรณาการ ทำงานร่วมกันเพื่อลดช่องว่างของปัญหา นำหน่วยงาน องค์กร ผู้นำชุมชน และคนไร้รัฐไร้สัญชาติ มาออกแบบนวัตกรรมการให้บริการร่วมกัน เพื่อให้การพิสูจน์สัญชาติเป็นไปด้วยความถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม

 

นำนวัตกรรมมาใช้ในการให้บริการ ซึ่งเดิมจะใช้โปรแกรมระบบทะเบียนราษฎร (AMI) ซึ่งออกแบบให้ใช้ได้แบบเงื่อนไข และเข้าไปตรวจสอบได้เพียงครั้งหนึ่งราย ซึ่งต้องใช้เวลาในการสืบค้นมาก จากนั้นจึงนำข้อมูลมาเชื่อมโยงโดยใช้ทักษะของแต่ละคน ซึ่งทำให้ต้องใช้เวลามาก

 

กรณีนี้ DSI ได้สร้างนวัตกรรม “โปรแกรมค้นหาข้อมูลส่วนบุคคล (DSI Smart Search)”  ดึงข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลของกรมการปกครอง จากอัตลักษณ์ของ “คนไร้รัฐไร้สัญชาติ” ครั้งละหลายๆ คน และสามารถค้นหาแบบมีเงื่อนไขถึงเครือญาติได้ จากนั้นจะนำข้อมูลเหล่านั้นเข้าสู่ “ระบบฐานข้อมูลเพื่อพัฒนาเป็นข่าวกรองที่มีคุณภาพ (IBase)” แล้วใช้ “โปรแกรมวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชื่อมโยง (I2)” เชื่อมโยงข้อมูลแล้วนำมาสร้างภาพข้อมูล (Data Visualization)  “ความสัมพันธ์ทางเครือญาติ” ซึ่งจะใช้เป็นหลักฐานส่วนหนึ่งในการพิสูจน์สัญชาติ และมีความเร็วในการประมวลผลข้อมูลกว่าเดิม 12 เท่า และมีความถูกต้องของข้อมูล 100 % เช่น ทำด้วยมือจะต้องใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง (240 นาที) แต่เมื่อทำด้วยนวัตกรรมของ DSI จะใช้เวลาประมาณ 20 นาที ซึ่งรวดเร็วขึ้น 220 นาที/ราย

 

“ยุติธรรมสร้างสุข” บูรณาการแก้ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

 

จากนั้น ใช้พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ มาสนับสนุน หรือทดแทนการสอบปากคำ เพื่อพิสูจน์หาความสัมพันธ์ทางสายโลหิตและเครือญาติ โดยการตรวจ DNA จากสถาบันนิติวิทยาศาสตร์

 

ที่ผ่านมา สำนักทะเบียน DSI สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ภาคประชาชน ได้บูรณาการร่วมกันในพื้นที่ อ.อุ้มผาง อ.ท่าสองยาง อ.แม่ระมาด จ.ตาก อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว อ.เชียงคาน จ.เลย อ.บางสะพานน้อย จ.ประจวบคีรีขันธ์ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี อ.ปัว จ.น่าน

 

ส่วน อ.อมก๋อย จ.เชียงใหม่  มีการบูรณาการนำคนไร้รัฐไร้สัญชาติและบุคคลอ้างอิงมาตรวจพิสูจน์ DNA จำนวน 360 ราย แต่มีการคัดกรองเหลือ 201 ราย จำแนกเป็น คนไร้สัญชาติ 127 ราย บุคคลอ้างอิง 74 ราย

 

“ยุติธรรมสร้างสุข” บูรณาการแก้ปัญหาคนไร้รัฐไร้สัญชาติ

 

ที่ อ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน มีการบูรณาการนำคนไร้รัฐไร้สัญชาติและบุคคลอ้างอิงมาตรวจพิสูจน์ DNA จำนวนรวม 62 ราย ราย จำแนกเป็น คนไร้สัญชาติ 40 ราย  บุคคลอ้างอิง 12 ราย ได้รับการพิจารณาสัญชาติ จำนวน 20 ราย ส่วนที่เหลือรอผลการพิจารณา

 

ในส่วน อ.สบเมย มีการบูรณาการนำคนไร้รัฐไร้สัญชาติและบุคคลอ้างอิงมาตรวจพิสูจน์ DNA จำนวนรวม 8 ราย จำแนกเป็น คนไร้สัญชาติ 4 ราย  บุคคลอ้างอิง 4 ราย ได้รับการพิจารณาสัญชาติ จำนวน 1 ราย ส่วนที่เหลือรอผลการพิจารณา

logoline