svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เช็ก 3 อาการป่วยจากติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรีบเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว

14 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. เปิด 3 อาการรุนแรงของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องเข้าสู่ระบบการรักษาให้เร็วที่สุด ย้ำ ไม่ควรรอ อาการที่ว่าจะเป็นแบบไหน พร้อมข้อแนะนำต้องทำอย่างไร เช็กรายละเอียดได้ที่นี่

สืบเนื่องจากยอด ตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ของไทย ยังพุ่งสูงและยอดทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค.รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

 

โดยตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ในวันนี้ (14 มีนาคม 2565) มียอดผู้ติดเชื้อรวม 22,130 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 22,103 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 27 ราย หายป่วยกลับบ้าน 23,508 ราย ผู้ป่วยกำลังรักษา 225,889 ราย และเสียชีวิต 69 ราย

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. เปิด 3 อาการรุนแรงของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องเข้าสู่ระบบการรักษาให้เร็วที่สุด

เช็ก 3 อาการป่วยจากติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรีบเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว

ในการแถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษก กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ ศบค.ได้ขอความร่วมมือประชาชนว่า หากเป็นผู้ป่วยสีเขียว ไม่มีอาการรุนแรงให้เข้าสู่ระบบ 1330 ปกติเพื่อสงวนเตียงสีเหลือง สีแดง ให้ผู้ที่มีความจำเป็นจริง ๆ ที่ให้โทรสายด่วน 1169 โดยมีเกณฑ์การประเมินคัดแยกผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติกรณีโรคติดเชื้อโควิด-19 ใหม่ สำหรับ USEP Plus โดยผู้ป่วยตรวจที่มีผลตรวจ ATK หรือ RT-PCR มีผลเป็นบวก ร่วมกับมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. เปิด 3 อาการรุนแรงของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องเข้าสู่ระบบการรักษาให้เร็วที่สุด

เช็ก 3 อาการป่วยจากติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรีบเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. เปิด 3 อาการรุนแรงของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องเข้าสู่ระบบการรักษาให้เร็วที่สุด

 

 

 

 

1.หัวใจหยุดเต้น มีสิ่งอุดกลั้นทางเดินหายใจ หายใจลำบากเฉียบพลัน มีภาวะช็อค ภาวะโคม่า มีอาการซึมลงเมื่อเทียบกับระดับความรู้ตัวเดิม หรือกำลังชักเมื่อแรกรับที่จุดคัดแยก

 

2.มีอาการไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียสนานกว่า 24 ชั่วโมง หรือ หายใจเร็วกว่า 25 ครั้งต่อนาทีในผู้ใหญ่ ปริมาณออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 94% หรือมีโรคประจำตัวที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือจำเป็นต้องติดตามอาการอย่างใกล้ชิดตามดุลพินิจของแพทย์ หรือ ในเด็กหากมีอาการหายใจลำบาก ดื่มนมหรือทานอาหารได้น้อยลง

 

3.มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรง หรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม หญิงตั้งครรภ์ ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่อ หรือเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1 พันเซลล์ต่อไมโครลิตร อื่นๆ หรือตามดุลพินิจของผู้คัดแยก

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. เปิด 3 อาการรุนแรงของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องเข้าสู่ระบบการรักษาให้เร็วที่สุด

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข ได้เน้นย้ำว่า ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องเข้าสู่ระบบการรักษาให้เร็วที่สุด ไม่ควรรอ โดยช่องทางแบบผู้ป่วยนอกอย่างใกล้ชิด หรือ OPD ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านได้ แต่สำหรับผู้ป่วยสีเขียวเก็บเตียงให้ผู้ป่วยที่มีความจำเป็นจริง ๆ

 

ข้อมูลจาก ศูนย์ข้อมูล COVID-19 รายงานตัวเลขยอดผู้ติดเชื้อ "โควิด19" วันจันทร์ที่  14  มีนาคม  2565 รวม  22,130  ราย (ยังไม่นับรวม ATK) ตัวเลขผู้เสียชีวิตรายวันอยู่ที่  69 ราย  โดยแบ่งจำนวนผู้ติดเชื้อ "โควิด19" เป็น ติดเชื้อในประเทศ  22,103  ราย  ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ  27 ราย ผู้ป่วยสะสม 983,520 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565) แบ่งเป็น

 

หายป่วยกลับบ้าน 23,508 ราย
หายป่วยสะสม 788,794 ราย (ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565)
ผู้ป่วยกำลังรักษา 225,889 ราย


สำหรับสถิติตัวเลขรายวันของ ผู้ติดเชื้อใหม่ - เสียชีวิตเพิ่ม จาก "โควิด19" ในรอบสัปดาห์ ดังนี้

 

  •   7 มีนาคม 2565 ติดเชื้อ 21,162  ราย เสียชีวิต  65 ราย
  •   8 มีนาคม  2565 ติดเชื้อ18,943   ราย เสียชีวิต 69 ราย 
  •   9 มีนาคม 2565 ติดเชื้อ 22,073 ราย เสียชีวิต  69 ราย
  • 10 มีนาคม 2565 ติดเชื้อ  22,984 ราย เสียชีวิต 74 ราย 
  • 11 มีนาคม 2565 ติดเชื้อ  24,792  ราย เสียชีวิต 63 ราย 
  • 12 มีนาคม  2565 ติดเชื้อ 24,592  ราย  เสียชีวิต 68 ราย
  • 13  มีนาคม 2565 ติดเชื้อ 23,584 ราย เสียชีวิต 66 ราย 

เช็ก 3 อาการป่วยจากติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรีบเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว

เช็ก 3 อาการป่วยจากติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรีบเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว

ส่วน สถานการณ์ทั่วโลก วันที่ 14 มีนาคม 2565 เวลา 06:00 น. 

พบตัวเลขผู้ป่วยยืนยัน 458,115,978  ราย 
กลับบ้านแล้ว  391,303,870   ราย 
ยังรักษาอยู่     60,746,762     ราย
เสียชีวิต          6,065,346  ราย 
 

โดย 5 อันดับ ประเทศที่มีการติดเชื้อสูงสุดได้แก่ สหรัฐอเมริกา, อินเดีย , บราซิล , ฝรั่งเศส และ ตามลำดับ สำหรับประเทศไทยขณะนี้อยู่ที่ลำดับที่ 33 ของโลก

 

ทั้งนี้ สถานการณ์การ "ฉีดวัคซีนโควิด-19" ของประเทศไทย ข้อมูลเมื่อวันที่ 13  มีนาคม 2565  ข้อมูลการฉีดรายวัน 37,101 ราย มียอดฉีดสะสม  126,137,625 ราย แยกเป็นแต่ละเข็ม ดังนี้ 

 

เข็มที่ 1 ฉีด   13,311  ราย    ฉีดสะสม  54,417,848  ราย 
เข็มที่ 2 ฉีด    2,612   ราย    ฉีดสะสม  49,976,969  ราย 
เข็มที่ 3 ฉีด    17,305  ราย    ฉีดสะสม  19,906,522  ราย

เข็มที่ 4 ฉีด     3,873  ราย     ฉีดสะสม   1,872,286   ราย

เช็ก 3 อาการป่วยจากติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรีบเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว

เช็ก 3 อาการป่วยจากติดเชื้อโควิด-19 ที่ต้องรีบเข้าสู่ระบบการรักษาโดยเร็ว

logoline