svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ไขข้อสงสัย อาการ "โควิดปลอม" มีจริงหรือไม่ ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่

01 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่งบทความเพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ อาการโควิดปลอม มีจริงหรือไม่ คอข่าวไปติดตามอ่านกันได้ตรงนี้

หยิบยกบทความดีๆ ที่มาจากคอลัมม์ดัง ใน กรุงเทพธุรกิจ คอลัมน์ “มองมุมใหม่” เขียนโดย รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ อาการโควิดปลอม มีจริงหรือไม่ คอข่าว คอโควิด-19 รีบไปติดตามอ่านข้อมูลดีๆ กันได้ตรงนี้

 

จากสถานการณ์ปัจจุบัน ยอดผู้ติดเชื้อโควิดมีจำนวนสูงขึ้น  ขณะเดียวกันอาการของโควิด ก็มีความคล้ายกับการเป็นหวัดมากขึ้น ได้เคยสังเกตไหมว่าก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่มีอาการของโควิดปลอมเกิดขึ้น?

ไขข้อสงสัย อาการ "โควิดปลอม" มีจริงหรือไม่ ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่

อาการโควิดปลอม ก็คืออาการที่คิดว่าตนเองติดเชื้อโควิด มีอาการหลายๆ อย่างที่คล้ายกับผู้ที่เป็นโควิด แต่เมื่อตรวจทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่าไม่เป็น จากนั้นอาการต่างๆ ข้างต้นก็หายไปโดยพลัน ดังนั้นไม่น่าแปลกใจว่าทำไม บางคนที่เมื่อได้อ่านหรือรับฟังข่าวเกี่ยวกับโควิด-19 ท่านจะมีอาการระคายคอหรือน้ำมูกไหลขึ้นมาทันที 

 

หรือถ้าทราบว่าคนที่รู้จักหรือใกล้ตัวเป็นโควิด ตนเองก็จะรู้สึกว่ามีอาการของโควิด-19 ขึ้นมาเช่นเดียวกัน และเริ่มเกิดข้อสันนิษฐานขึ้นมาว่าตนเองติดเชื้อโควิดหรือไม่? 

ไขข้อสงสัย อาการ "โควิดปลอม" มีจริงหรือไม่ ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่
 

ไขข้อสงสัย อาการ "โควิดปลอม" มีจริงหรือไม่ ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ ไขข้อสงสัย อาการ "โควิดปลอม" มีจริงหรือไม่ ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่

 

 

 

บางท่านอาการดังกล่าวอาจจะหายไปได้เอง เพื่อเวลาผ่านไป แต่บางท่านถึงขั้นทำ ATK หรือ PCR เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าตนเองติดเชื้อหรือไม่ และเมื่อผลออกมาแล้วว่าไม่ติดเชื้ออาการระคายคอหรือน้ำมูกไหลก็จะหายไปทันที

 

ในยุคที่คนมีความสนใจและมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพมากขึ้น ความกังวลหรือความเครียดที่เกี่ยวเนื่องจากสุขภาพจนทำให้คิดไปเองว่าตนเองป่วย ไม่ใช่เรื่องแปลก ในวงการแพทย์เขาก็มีศัพท์เฉพาะที่เรียกว่า Hypochondia หรือ Health anxiety หรือ ล่าสุดเรียกกันว่า Illness anxiety disorder 

ไขข้อสงสัย อาการ "โควิดปลอม" มีจริงหรือไม่ ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่

ในไทยนั้นคำว่า Hypochondia ก็ได้มีบรรดาผู้รู้แปลไว้ว่า “โรคคิดไปเองว่าป่วย” ซึ่งในสหรัฐอเมริกานั้น OCD Center ใน L.A. ประมาณไว้ว่าร้อยละ 4-6% ของประชากรทั้งหมดเป็นโรคดังกล่าว

ผู้ที่เป็นโรคคิดไปเองว่าป่วยนั้น ก็จะชอบคิดว่าตนเองป่วยเป็นโรคร้ายแรงจากอาการเพียงนิดหน่อย หรือ จะมีความกังวลและตรวจเช็กร่างกายตนเองตลอดเวลาเพื่อหาว่าตนเองเจ็บป่วยในเรื่องใด จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมเมื่อโควิด-19 ระบาดมากขึ้น เมื่อมีอาการระคายคอเพียงเล็กน้อย ไอ หรือ น้ำมูก ก็มักจะคิดและเครียดไปทันทีว่าตนเองเป็น โควิด-19 

ไขข้อสงสัย อาการ "โควิดปลอม" มีจริงหรือไม่ ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่

ไขข้อสงสัย อาการ "โควิดปลอม" มีจริงหรือไม่ ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่

 

นอกจากนี้การระบาดของโควิด ยังสร้างปรากฎการณ์ที่เรียกว่า Self-fulfilling prophecy ขึ้นมาอีกด้วย นั้นคือเมื่อมีความคาดหวังบางอย่างเกิดขึ้น ร่างกายก็จะตอบสนองและนำไปสู่อาการบางอย่างเพื่อตอบสนองต่อความคาดหวังนั้น

 

ซึ่งในประเด็นของโควิด นั้นเมื่อพบว่าคนใกล้ตัวเป็นโควิด ก็คิดว่าตนเองคงจะต้องติดเชื้อไปด้วย และความคิดดังกล่าวก็ทำให้เกิดความรู้สึกว่าระคายคอ หรือ หายใจลำบาก หรือ เจ็บหน้าอก ขึ้นมา และนำไปสู่ความเครียด ความกังวลว่าตนเองจะเป็นโควิดไปด้วย แม้จะตรวจ ATK แล้วพบว่าไม่เป็นก็ยังไม่เชื่อผลของ ATK และยังมีอาการต่างๆ ข้างต้นไปเรื่อยๆ จนกระทั่งได้ตรวจ PCR แล้วอาการต่างๆ ถึงหายไปเอง

 

มีบทความใน BBC ที่รายงานความคาดหวังหรือความคิดดังกล่าว จะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในร่ายกายของคน จะทำให้เกิดการหลั่งสารบางอย่างที่นำไปสู่อาการปวดศรีษะ ซึ่งยิ่งทำให้บุคคลผู้นั้นคิดไปเองคิดว่าตนเองป่วยแล้วจริงๆ

 

ความกังวลและระมัดระวังในเรื่องของสุขภาพเป็นสิ่งที่ดี แต่ความกังวลในระดับที่มากเกินไป จนถึงขั้นเป็น Illness anxiety disorder กลับจะส่งผลเสียต่อทั้งสุขภาพกายและจิตของคน ในบทความของ BBC รายงานผลวิจัยว่าอาการ Illness anxiety disorder ส่งผลต่ออัตราการตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว ถ้ามีความกังวลเกี่ยวกับสุขภาพที่มากเกินไปอาจจะเสียชีวิตเร็วกว่าผู้ที่ไม่มีความกังวลที่มากเกินไป

 

เป็นเรื่องโดยธรรมชาติอยู่แล้วที่คนจะมีความเครียด ความกังวล หรือ ความตื่นกลัวต่อเชื้อโรคในช่วงของการระบาดของโควิด แต่ความกังวลหรือความเครียดที่มากเกินไปก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพกายและใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาจจะทำให้เกิดอาการ Illness anxiety disorder ในระยะยาวเมื่อโควิดกลายเป็นเรื่องปกติแล้ว ดังนั้นการเดินสายกลางอย่างมีสติอาจจะเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด

.

ไขข้อสงสัย อาการ "โควิดปลอม" มีจริงหรือไม่ ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่

ขอขอบคุณ ที่มา : คอลัมน์ “มองมุมใหม่” จากกรุงเทพธุรกิจ

รศ.ดร.พสุ เดชะรินทร์ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[email protected] 

 

 

logoline