svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ครม. ผ่านโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถและ จยย. ใหม่ กระตุ้นวงการยานยนต์ไทย

22 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผ่านแล้ว! ครม. อนุมัติร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต สินค้ารถยนต์และรถจักรยานยนต์ รวม 27 ประเภท เพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

     วันนี้ (22 ก.พ.) นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ครม. มีมติอนุมัติหลักการ ร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่..) พ.ศ.  ....   ซึ่ง การปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้ารถยนต์ประเภทต่าง ๆ รวม 27 ประเภท โดยจะมีรถยนต์ต้องจัดเก็บภาษีตามอัตราในร่างกฎกระทรวงนี้เมื่อกฎกระทรวง มีผลใช้บังคับ (วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา)  รวม 6 ประเภท ดังนี้  

 

     1. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle: PPV)  แบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้าที่สามารถเสียบปลั๊ก ประจุไฟฟ้าได้ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 10 

 

     2. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท ประหยัดพลังงาน แบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle) จัดเก็บ ภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 2 

 

     3.รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท ประหยัดพลังงานแบบมาตรฐานสากล (Eco car)  ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 14   

 

     4. รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) แบบผสมที่ใช้ พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้าที่สามารถเสียบปลั๊กประจุไฟฟ้าได้ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 5 

 

     5. รถยนต์กระบะแบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle)  แบ่งเป็น 2 ช่วงระยะเวลา คือ ตั้งแต่วันที่กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึง วันที่ 31 ธ.ค. 68  ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0  และตั้งแต่ 1 ม.ค. 69 - 31 ธ.ค. 78  ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 2   

 

     6. รถยนต์กระบะแบบเซลล์เชื้อเพลิง [Fuel Cell Powered Vehicle  ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แบ่งเป็น 2 ช่วง ตั้งแต่วันที่ กฎกระทรวงมีผลใช้บังคับถึงวันที่ 31 ธ.ค. 68 และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 69 - 31 ธ.ค. 78  ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 5 
 

 

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

สำหรับรถยนต์ที่เหลืออีก 21 ประเภท จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี  69 - 78 ตามลำดับ ได้แก่

 

     7. รถยนต์นั่ง ไม่เกิน 3,000 CC ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 13 - 38  สำหรับความจุกระบอกสูบเกิน 3,000  CC ตั้งแต่  1 ม.ค. 69 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50 

 

     8. รถยนต์นั่ง PPV 2500 CC ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตาม มูลค่าร้อยละ 18 - 50  ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทไบโอดีเซล (B20) ร้อยละ 16 - 50 

 

     9. รถยนต์นั่งที่ผลิตจากรถยนต์กระบะ หรือดัดแปลงจากรถยนต์กระบะ ที่ผลิตหรือดัดแปลงโดยผู้ประกอบอุตสาหกรรม ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 2.5 - 40  ที่ดัดแปลงโดยผู้ดัดแปลง จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 25   

 

     10. รถยนต์สามล้อชนิดรถสกายแลป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0  

 

     11. รถยนต์อื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 1 - 5 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 50 

 

     12. รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน  ให้จัดเก็บภาษีในอัตรา ตามมูลค่าร้อยละ 13 - 38 กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ ให้จัดเก็บ ภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 25 - 40 หากความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 CC ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 50 

 

     13. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่ใช้ เป็นรถพยาบาล และรถยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะที่ไม่เคยมีการจำหน่าย ในท้องตลาดเป็นการทั่วไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 

 

     14. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท Hybrid Electric Vehicle ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 6 - 28  หากความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 CC ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 40 

 

     15. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภท Plug-in Hybrid  ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 5 - 10 หากความจุกระบอกสูบเกิน 3,000 CC ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 30  
 

 

ครม. ผ่านโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถและ จยย. ใหม่ กระตุ้นวงการยานยนต์ไทย

     16. รถยนต์นั่งหรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงาน แบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Powered Vehicle) ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 1 กรณีที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไข ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 5 

 

     17. รถยนต์นั่งสามล้อ และรถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้นโดยใช้เครื่องยนต์ ของรถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 250 CC รถยนต์สามล้อ  ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 2 - 4  รถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้นโดยใช้เครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 250 CC ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 4 

 

     18. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (No Cab) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 3 - 5 

 

     19. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (No Cab) ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทไบโอดีเซล (B20)ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 2 - 4 

 

     20. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (Space Cab) ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทไบโอดีเซล (B20) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 3 - 7  

 

     21. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (Space Cab) ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 5 - 8 

 

     22. รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตาม มูลค่าร้อยละ 8 - 13  

 

     23. รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ที่ใช้เชื้อเพลิง ประเภทไบโอดีเซล (B20) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 6 - 12 

 

     24. รถยนต์กระบะแบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle)   ให้จัดเก็บภาษี ในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 -2   25. รถยนต์กระบะแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Powered Vehicle)  ให้จัดเก็บภาษีในอัตรา ตามมูลค่าร้อยละ 0 - 1    

 

     26. รถยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะที่ไม่เคยมีการจำหน่าย ในท้องตลาด จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0 

 

     27. รถยนต์ประเภทอื่น ๆ นอกจากข้อ 15 - ข้อ 26  ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 15 - 50  ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 69 เป็นต้นไป โดยจะพิจารณาจากความจุกระบอกสูบ อัตรา การปล่อย CO2  

 

ครม. ผ่านโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถและ จยย. ใหม่ กระตุ้นวงการยานยนต์ไทย

 

สำหรับ การปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตสินค้า รถจักรยานยนต์รวม 4 ประเภท ได้แก่  
 

     1. แบบพลังงานไฟฟ้า โดยจะพิจารณาจากแรงดันไฟฟ้า ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 0 - 10 ตั้งแต่ 1 ม.ค. พ.ศ. 69 เป็นต้นไป 

 

     2. แบบที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิง หรือแบบผสมที่ใช้พลังงาน เชื้อเพลิงและไฟฟ้า ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 4 - 25 

 

     3. รถจักรยานยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะ ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 0  ตั้งแต่ 1 ม.ค. 69 เป็นต้นไป 4. รถจักรยานยนต์อื่น ๆ นอกจากข้อ 1 - ข้อ 3 แบ่งเป็น  2 ช่วงระยะเวลาคือ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 69 - 31 ธ.ค. 72 และตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 73 เป็นต้นไป ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่า ร้อยละ 25 – 30

 

     นายธนกร ยังกล่าวว่า นายกรัฐมนตรียังกำชับให้มาตรการภาษี ให้เกิดประโยชน์ในการลงทุน และ เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี  เป้าหมายคือ ยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กระตุ้นผู้ประกอบการปรับปรุงและพัฒนาสู่เทคโนโลยีทันสมัย การลดปล่อยก๊าซ CO2  และยังเป็นการสนับสนุน พลังงานสะอาด เพือลดโลกร้อน ตามยุทธศาสตร์ประเทศไทย

 

ครม. ผ่านโครงสร้างภาษีสรรพสามิตรถและ จยย. ใหม่ กระตุ้นวงการยานยนต์ไทย

logoline