svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ครม. เคาะแล้ว ลดอัตราภาษีสรรพสามิต EV เริ่มต้นรถยนต์ 6 ประเภท

22 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ครม. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ปรับลดอัตราภาษียานยนต์ไฟฟ้ารวม 27 ประเภท เบื้องต้นเริ่มต้นยานยนต์ไฟฟ้า 6 ประเภท

22 กุมภาพันธ์ 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมรถยนต์มีการพัฒนาเทคโนโลยีไปสู่การผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางผลิตรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไฟฟ้า

 

ครม. เคาะแล้ว ลดอัตราภาษีสรรพสามิต EV เริ่มต้นรถยนต์ 6 ประเภท

 

ทั้งนี้ การปรับปรุงโครงสร้างการจัดเก็บภาษีดังกล่าว โดยจะมีการปรับลดอัตราภาษี เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานไฟฟ้าครั้งนี้ มีสินค้ารถยนต์ประเภทต่าง ๆ รวม 27 ประเภท ในเบื้องต้นจะมี 6 ประเภทที่มีผลบังคับใช้หลังจากวันถัดไปจากวันที่ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา ส่วนที่เหลือจะมีผลบังคับใช้ในปี 2569–2578 

 

ครม. เคาะแล้ว ลดอัตราภาษีสรรพสามิต EV เริ่มต้นรถยนต์ 6 ประเภท


สำหรับ รถยนต์ 6 ประเภท ประกอบด้วย

  1. รถยนต์กระบะ ปลั๊กอินไฮบริด  
  2. รถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 10 คนแบบ EV 
  3. รถยนต์ที่นั่งไม่เกิน 10 คนแบบอีโคคาร์
  4. รถยนต์กระบะ 4 ประตูแบบปลั๊กอินไฮบริด
  5. รถยนต์กระบะ EV
  6. รถยนต์กระบะ แบบเซลล์เชื้อเพลิงไฮโดรเจน
     

ครม. เคาะแล้ว ลดอัตราภาษีสรรพสามิต EV เริ่มต้นรถยนต์ 6 ประเภท

สำหรับ รถยนต์ที่เหลืออีก 21 ประเภท จะมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี  2569-2578  มีดังนี้

1. รถยนต์นั่ง ความจุกระบอกสูบ ไม่เกิน 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
2. รถยนต์นั่งกึ่งบรรทุก (Pick-up Passenger Vehicle: PPV)
3. รถยนต์นั่งที่ผลิตจากรถยนต์กระบะ หรือดัดแปลงจากรถยนต์กระบะ
4. รถยนต์สามล้อชนิดรถสกายแลป
5. รถยนต์อื่น ๆ นอกเหนือจากข้อ 1 - 5 ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 50 ตั้งแต่ 1 ม.ค. 69  เป็นต้นไป 
6. รถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน
7. รถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ที่ใช้ เป็นรถพยาบาล และรถยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะที่ไม่เคยมีการจำหน่าย
8. รถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงานแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า (Hybrid Electric Vehicle)
9. รถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงานแบบผสมที่ใช้พลังงานเชื้อเพลิงและไฟฟ้า ที่สามารถเสียบปลั๊กประจุไฟฟ้าได้ (Plug-in Hybrid Electric Vehicle)
10. รถยนต์นั่ง หรือรถยนต์โดยสารที่มีที่นั่งไม่เกิน 10 คน ประเภทประหยัดพลังงาน แบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Powered Vehicle)
11. รถยนต์นั่งสามล้อ และรถยนต์นั่งที่ผลิตขึ้นโดยใช้เครื่องยนต์ ของรถจักรยานยนต์ขนาดไม่เกิน 250 ลูกบาศก์เซนติเมตร
12. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (No Cab)
13. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่ไม่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (No Cab) ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทไบโอดีเซล (B20) 
14. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (Space Cab) ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภทไบโอดีเซล (B20)
15. รถยนต์กระบะที่ออกแบบสำหรับให้มีน้ำหนักรถรวม น้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 4,000 กก. ที่มีพื้นที่ใส่สัมภาระด้านหลัง ที่นั่งคนขับ (Space Cab) 
16. รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตาม 
17. รถยนต์กระบะ 4 ประตู (Double Cab) ที่ใช้เชื้อเพลิง ประเภทไบโอดีเซล (B20) 
18 รถยนต์กระบะแบบพลังงานไฟฟ้า (Electric Powered Vehicle)
19. รถยนต์กระบะแบบเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Powered Vehicle)
20. รถยนต์ต้นแบบที่ผลิตหรือนำเข้ามาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำไปวิจัย พัฒนา หรือทดสอบสมรรถนะที่ไม่เคยมีการจำหน่ายในท้องตลาด
21. รถยนต์ประเภทอื่น ๆ นอกจากข้อ 9 - 20  ให้จัดเก็บภาษีในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 15 - 50  ตั้งแต่ วันที่ 1 ม.ค. 69 เป็นต้นไป โดยจะพิจารณาจากความจุกระบอกสูบ อัตรา การปล่อย CO2  


ขอบคุณข้อมูล : ฐานเศรษฐกิจ, กรุงเทพธุรกิจ

logoline