svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ตร.- กสทช. จับมือเอกชน ร่วมกำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยุติ 14 รูปแบบหลอกลวง

15 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จับมือ กสทช. ดึงผู้ประกอบการเครือข่ายโทรศัพท์ ร่วมกำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยุติ 14 รูปแบบ หลอกลวง ออนไลน์ ปิดกั้นทุกช่องทาง

     วันนี้ (15 ก.พ.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ รอง ผบ.ตร. ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศปอส.ตร.) หรือ ศูนย์ PCT: Police Cyber Taskforce และนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รองเลขาธิการ รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ได้ประชุมร่วมกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง เช่น  AIS , DTAC , TRUE , บมจ.โทรคมนาคมแห่งชาติ , 3BB เพื่อหารือถึงการแก้ปัญหาแก๊งคอลเซ็นเตอร์และอาชญากรรมทางออนไลน์

 

     โดยเนื้อหาของการประชุม มีประเด็นในการขอความร่วมหลายเรื่อง ทั้งการขอให้สำนักงาน กสทช. และผู้ให้บริการ แจ้งประชาสัมพันธ์ ส่งข้อความเตือนภัย ให้ความรู้แก่ประชาชน ถึงรูปแบบอาชญากรรมทางเทคโนโลยี จำนวน 14 รูปแบบ ได้แก่  

 

 

ตร.- กสทช. จับมือเอกชน ร่วมกำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยุติ 14 รูปแบบหลอกลวง

ตร.- กสทช. จับมือเอกชน ร่วมกำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยุติ 14 รูปแบบหลอกลวง
 

     1.หลอกขายของออนไลน์ 2.คอลเซ็นเตอร์ (Call Center) ข่มขู่ให้เกิดความกลัว 3.เงินกู้ออนไลน์ ดอกเบี้ยโหด 4.เงินกู้ออนไลน์ ที่ไม่มีจริง (เงินกู้ทิพย์) 5.หลอกให้ลงทุนต่างๆ 6.หลอกให้เล่นพนันออนไลน์ 7.ใช้ภาพปลอมหลอกให้หลงรักแล้วโอนเงิน (Romance scam) หรือ หลอกให้ลงทุน (Hybrid scam) 8.ส่งลิงก์ปลอมเพื่อหลอกแฮ็กเอาข้อมูลส่วนตัว

 

     9.อ้างเป็นบุคคลอื่นเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนตัว 10.ปลอม Line , Facebook หรือ Account หลอกยืมเงิน 11.ข่าวปลอม (Fake news) - ชัวร์ก่อนแชร์ 12.หลอกลวงเอาภาพโป้เปลือยเพื่อใช้แบล็คเมล์ 13.โฆษณาชวนไปทำงานต่างประเทศแล้วบังคับให้ทำงานผิดกฎหมาย 14.ยินยอมให้ผู้อื่นใช้บัญชีธนาคาร (บัญชีม้า) ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดฐานฉ้อโกงประชาชน

 

     การขอความร่วมมือ ผู้ให้บริการ ผู้รับใบอนุญาต ในการแก้ปัญหาการหลอกลวงประชาชนโดยใช้การปลอมหมายเลขโทรศัพท์ จากการใช้เทคโนโลยี VoIP (Voice over Internet Protocol) นั้น ผู้ให้บริการต่อสาย VoIP ไปยังปลายทาง (Call Termination) ต้องตรวจสอบการโทรที่มาจากต่างประเทศ หากเบอร์ที่โทรมานั้นมีรูปแบบเป็นเบอร์โทรศัพท์บ้าน เบอร์พิเศษ 3 หลัก หรือเบอร์พิเศษ 4 หลักของประเทศไทย ให้ผู้ให้บริการดังกล่าวตัดสายเพื่อไม่ให้ส่งต่อการโทรนั้นไปยังปลายทางในประเทศไทย และกำชับผู้ให้บริการต่อสาย VoIP ไปยังปลายทาง (Call Termination)ดังกล่าว ต้องแสดงเบอร์โครงข่ายของตนเองหรือโครงข่ายที่ตนเองเช่าใช้ ที่โทรศัพท์ที่รับสายปลายทางด้วย
 

 

ตร.- กสทช. จับมือเอกชน ร่วมกำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยุติ 14 รูปแบบหลอกลวง

ตร.- กสทช. จับมือเอกชน ร่วมกำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยุติ 14 รูปแบบหลอกลวง

     หากพบว่ามีการโทรเข้าโดยส่งเบอร์แปลกปลอมที่ไม่ใช่เบอร์ของตนเองเข้ามาให้ตัดสายนั้นทันที ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการปลอมแปลงเบอร์โทรเข้ามา รวมทั้งให้แสดงแหล่งที่มาของข้อมูลที่มาจากต่างประเทศ ให้ชัดเจน แตกต่างจากข้อมูลภายในประเทศ เช่น มีเครื่องหมาย + หรือสัญลักษณ์เฉพาะ ที่หน้าจอโทรศัพท์มือถือของประชาชน เพื่อจะได้ทราบในทันทีจะได้ไม่หลงเชื่อว่าเป็นหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่รัฐ

 

     รวมถึง ความร่วมมือในการตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล/ช่องทางการส่งข้อมูล(Traffic) ที่คนร้ายใช้ในการติดต่อ เพื่อสืบสวนหาต้นต่อในการจับกุม สืบสวน และปิดกั้นช่องทางการส่งข้อมูล(Traffic) ดังกล่าวต่อไป

 

     ด้านนายไตรรัตน์ กล่าวว่า ทางสำนักงาน กสทช. ได้ตระหนักถึงปัญหา และได้มีความร่วมมือกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อดำเนินการด้านเทคนิคเพื่อการป้องกันการใช้เทคโนโลยีของมิจฉาชีพไปสร้างความเดือนร้อนให้ประชาชน รวมถึง เตรียมการประชาสัมพันธ์ข้อมูลเพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงภัยอันตรายดังกล่าว และให้ข้อมูลสนับสนุนการสืบสวน สอบสวนของตำรวจ

 

     ขณะที่ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กล่าวว่า ผบ.ตร. สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งกวาดล้างแก๊งคอลเซ็นเตอร์ และอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนไทย โดยขณะนี้พบว่า มิจฉาชีพใช้วิธีการหลอกหลายรูปแบบ เช่น แก๊งคอลเซ็นเตอร์ที่โทรศัพท์ไปข่มขู่ อ้างเป็นเจ้าหน้าที่หลอกให้โอนเงิน หลอกให้ลงทุน จึงขอให้ประชาชนอย่าไปหลงเชื่อ คิดก่อนโอน อย่าโอนไว อย่าโอนเงินให้กับคนที่ไม่รู้จัก อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทางสื่อสังคมออนไลน์ ขอให้ตั้งสติ รวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุด นำข้อมูลมาปรึกษาเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่ หรือแจ้งข้อมูลได้ที่ ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายเลขโทรศัพท์ 081-866-3000 หรือสายด่วน กองบัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี 1441 ตลอด 24 ชม. รวมถึงแจ้งมายังศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล โทร.1111

 

 

ตร.- กสทช. จับมือเอกชน ร่วมกำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยุติ 14 รูปแบบหลอกลวง

ตร.- กสทช. จับมือเอกชน ร่วมกำจัดแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยุติ 14 รูปแบบหลอกลวง

logoline