svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมวิทย์ เผยโอมิครอนครองไทย 96.2% คาดไม่นานจะครอบคลุมทั่วประเทศ

15 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ เผยประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อโอมิครอน ร้อยละ 96.2 และคาดว่าอีกไม่นานจะครบ 100%

     วันนี้ (15 ก.พ.) ที่กรมวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ระบุว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีการตรวจหาสายพันธุ์โควิด-19 ในประเทศไทยกว่า 2,000 ตัวอย่าง พบว่า เป็นสายพันธุ์โอมิครอนกว่า ร้อยละ 97.2 และพบสายพันธุ์เดลต้า ร้อยละ 2.8 

 

     โดย 10 จังหวัดที่พบสายพันธุ์โอมิครอนมากที่สุดคือ กรุงเทพมหานคร ภูเก็ต ชลบุรี ร้อยเอ็ด สมุทรปราการ หนองคายสุราษฎร์ธานี มหาสารคาม กาฬสินธุ์ และขอนแก่น 

 

     ส่วนกลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศที่พบติดเชื้อ ส่วนมากจะพบสายพันธุ์โอมิครอน ร้อยละ 99.4 ส่วนสัดส่วนการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนในประเทศ พบร้อยละ 96.2 คาดว่าอีกไม่นานจะครบ 100% หลังจากที่มีการแพร่ระบาดโอมิครอนรวดเร็ว ตามธรรมชาติของไวรัสก็จะมีการกลายพันธุ์ไวรัส เช่นเดียวกับโอมิครอน ที่มีการกลายพันธุ์ เป็น BA.1 , BA.2 และ BA.3 

 

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
 

     โดยประเทศไทยพบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน คือ BA.1 กับ BA.2 และ BA.1.1 ซึ่งประเทศไทย เริ่มตรวจพบ BA.2 ในเดือนมกราคม แต่จากการสุ่มตรวจโดยการตรวจเบื้องต้นในพื้นที่พบ BA.2 ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 18

 

     BA.1 กับ BA.2 มีลักษณะกลายพันธุ์ต่างกัน มีส่วนที่กลายพันธุ์เหมือนกัน 32 ตำแหน่ง ที่กลายพันธุ์ต่างกัน 28 ตำแหน่ง 

 

     โดย BA2 จากข้อมูลพบกว่าเริ่มมีการแพร่เร็วกว่า BA1 ส่วนความรุนแรงและการหลบวัคซีน อยู่ในช่วงระหว่างเก็บข้อมูล ขณะนี้ กรมวิทย์จะประสานกับกรมการแพทย์เพื่อติดตามอาการทางคลินิกของผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน BA.2 ต่อไป 

 

     จากรายงานพบว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นยังช่วยป้องกันสายพันธุ์โอมิครอน BA.2 และช่วยลดอาการป่วยหนักและเสียชีวิตได้จึงอยากขอความร่วมมือประชาชนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ไปรับวัคซีน
 

 

กรมวิทย์ เผยโอมิครอนครองไทย 96.2% คาดไม่นานจะครอบคลุมทั่วประเทศ

     นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ในการตรวจหาผู้ติดเชื้อและการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้ออาจไม่จำเป็นต้องทำทุกวัน ไม่ใช่จะเป็นการปกปิด บิดเบือนข้อมูล แต่ในการคิดตามสถานการณ์นั่นมีข้อมูลเพียงพอในการเฝ้าระวังแต่ละวันอยู่แล้ว รวมไปถึงการตรวจแยกสายพันธุ์ ซึ่งถ้าไม่มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงความรุนแรงของโรคลดลง ก็ไม่จำเป็นต้องตรวจคัดแยกสายพันธุ์เช่นเดียวกับในหลายประเทศ ที่มีการลดจำนวนการตรวจคัดกรองลง เนื่องจากเป็นภาระค่าใช้จ่ายที่เกินความจำเป็น หลังจากนี้หากพบมีอาการป่วยจึงจะค่อยตรวจและรักษา เหมือนไข้หวัดใหญ่ หรือโรคอื่นๆ  

 

 

กรมวิทย์ เผยโอมิครอนครองไทย 96.2% คาดไม่นานจะครอบคลุมทั่วประเทศ
 

logoline