svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เกมการเมือง “สภาล่ม” ซ้ำซาก 17 ครั้ง ทำวาระพิจารณาตกค้างนับร้อย

10 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สุดฉาว!! ส่องวาระประชุมสภาฯ เกมการเมืองทำสภาล่มซ้ำซาก 17 ครั้ง ทำให้งานที่ต้องพิจารณาตกค้างอยู่เป็นร้อยเรื่อง

จากรณีการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันนี้ ( 10 ก.พ. 65)  ซื่งล่มซ้ำซากเป็นครั้งที่ 17 แล้ว โดยการประชุมวันนี้ มีนายชวน หลีกภัย ประธานสภาฯ เป็นประธานการประชุม ว่า ตั้งแต่เปิดประชุม และผ่านพิจารณาในวาระสำคัญ คือ กระทู้ถามสด และกระทู้ถามทั่วไป แล้วเสร็จ การดำเนินการประชุมเป็นไปอย่างปกติ จนมาถึง  วาระพิจารณาเรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม และพิจารณารับทราบประกาศคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เรื่อง นโยบายการตรวจเงินแผ่นดิน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 แล้วเสร็จ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เสนอนับองค์ประชุม และสุดท้ายองค์ประชุมไม่ครบทำให้สภาล่มในที่สุด

 

 

เกมการเมือง “สภาล่ม” ซ้ำซาก 17 ครั้ง ทำวาระพิจารณาตกค้างนับร้อย

 

หลังจากเหตุการณ์สภาล่มทำให้เรื่องที่ต้องพิจารณาในวันนี้ต้องยุติลงและมีเรื่องที่ตกค้าง ซึ่งวาระการประชุมวันนี้มีวาระกาพิจารณาที่เหลืออีก

 

เรื่องที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว และสภาต้องนำมาพิจารณาต่ออีก 17 เรื่อง ได้แก่

               

๑ รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง ผลกระทบและแนวทางแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลไทยอย่างยั่งยืนซึ่งคณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัยพิจารณาเสร็จแล้ว  (พิจารณาต่อจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒๙ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) เป็นพิเศษ วันศุกร์ที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เพื่อให้ที่ประชุมลงมติ)

               

๒ รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง ปัญหาการบังคับใช้และแนวทางแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๖๒ซึ่งคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชนพิจารณาเสร็จแล้ว   (ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒๑ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ กันยายน ๒๕๖๔)

               

๓ รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการเสนอกฎหมายบำนาญพื้นฐานแห่งชาติซึ่งคณะกรรมาธิการการสวัสดิการสังคมพิจารณาเสร็จแล้ว (ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔)

               

๔ รายงานการศึกษา เรื่อง ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ซึ่งคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพิจารณาเสร็จแล้ว           

 

เกมการเมือง “สภาล่ม” ซ้ำซาก 17 ครั้ง ทำวาระพิจารณาตกค้างนับร้อย                  

๕ รายงานการศึกษา เรื่อง เทคโนโลยี 5Gซึ่งคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพิจารณาเสร็จแล้ว                       

 

๖ รายงานการศึกษา เรื่อง New Space และกิจการอวกาศ (Space Economy)ซึ่งคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพิจารณาเสร็จแล้ว                            

 

๗ รายงานการศึกษา เรื่อง การเกษตรยุคใหม่ของประเทศไทย The Next Generation Farming of Thailand

ซึ่งคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพิจารณาเสร็จแล้ว                            

 

๘ รายงานการศึกษา เรื่อง การศึกษา TELEMEDICINE ในประเทศไทยซึ่งคณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมพิจารณาเสร็จแล้ว                            

 

๙ รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการกำหนดราคาขายปลีกก๊าซ NGV ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดและบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM ๒.๕)ซึ่งคณะกรรมาธิการกิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุนพิจารณาเสร็จแล้ว  

                         

๑๐ รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมสุราไทยซึ่งคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจพิจารณาเสร็จแล้ว 

                           

๑๑ รายงานผลการพิจารณาศึกษาญัตติ เรื่อง การศึกษา ตรวจสอบ และติดตามการดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา และช่วงนครราชสีมา – หนองคายซึ่งคณะกรรมาธิการการคมนาคมพิจารณาเสร็จแล้ว  (เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๔.๔ - ๔.๑๑ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๕ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๔)

               

๑๒ รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง ความคุ้มค่าและประสิทธิผล การส่งเสริมการลงทุนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจพิจารณาเสร็จแล้ว  

                          

๑๓ รายงานการศึกษา เรื่อง การบริหารราชการรูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง (Self-governing Province)

ซึ่งคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษพิจารณาเสร็จแล้ว                        

               

(เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๔.๑๒ - ๔.๑๓ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๙ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๔)

               

๑๔ รายงานผลการพิจารณาศึกษาและแก้ไขปัญหาช้างป่าซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว   (ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๔)

               

๑๕ รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การแก้ไขปัญหาการรถไฟแห่งประเทศไทยซึ่งคณะกรรมาธิการการคมนาคมพิจารณาเสร็จแล้ว             

           

๑๖ รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง การแก้ไขปัญหาราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานการณ์วิกฤตน้ำมันแพง ไตรมาส ๔ ปี ๒๕๖๔ซึ่งคณะกรรมาธิการการพลังงานพิจารณาเสร็จแล้ว   (เรื่องตามระเบียบวาระหมายเลข ๔.๑๕ – ๔.๑๖ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔)

               

๑๗ รายงานผลการพิจารณาศึกษา เรื่อง ญัตติเพื่อพิจารณาศึกษาสอบหาข้อเท็จจริงกรณีการปิดอ่าวมาหยา จังหวัดกระบี่ซึ่งคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิจารณาเสร็จแล้ว                    

               

(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๕)

 

 

               

เรื่องด่วนต้องพิจารณาได้แก่  

               

๑. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อศึกษาข้อเท็จจริงในข้อบกพร่องการกำหนดเส้นทางเสด็จ และการถวายความปลอดภัยของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เมื่อวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๓(พลตำรวจตรี สุพิศาล ภักดีนฤนาถ และนางสาวสุทธวรรณ สุบรรณ ณ อยุธยา เป็นผู้เสนอ) (ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๓ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพุธที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๓)

               

๒. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและสอบหาข้อเท็จจริงในการสลายการชุมนุม ยุทธภัณฑ์และขั้นตอนสลายการชุมนุมเป็นไปตามกฎหมายหรือมาตรฐานสากล ซึ่งการชุมนุมโดยสงบ สันติ และปราศจากอาวุธ ย่อมได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ (นายชลน่าน ศรีแก้ว เป็นผู้เสนอ)  (ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๒ ครั้งที่ ๑๐ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๓)

               

๓. ญัตติด่วน เรื่อง ให้สภาผู้แทนราษฎรมีมติขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๑๐ (๒) ตามข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. ๒๕๖๒ ข้อ ๔๘(นายไพบูลย์ นิติตะวัน เป็นผู้เสนอ)  (ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๔)

               

๔. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการก่อสร้างเส้นทางใหม่จากสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ ๓ จังหวัดนครพนม ไปยังกลุ่มจังหวัดอีสานตอนกลาง (กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่น นครราชสีมา) โดยการขุดเจาะอุโมงค์ลอดเทือกเขาภูพานที่จังหวัดกาฬสินธุ์ – สกลนคร(นายนิยม เวชกามา กับคณะ เป็นผู้เสนอ) 

                        

๕. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและสอบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่ล้นเกินและขัดต่อหลักนิติธรรมต่อผู้ต้องขังทางการเมือง(นายชลน่าน ศรีแก้ว เป็นผู้เสนอ) (เรื่องตามระเบียบวาระเรื่องด่วนที่ ๔ – ๕ ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๗ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๔)

               

๖. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการก่อสร้างเส้นทางคมนาคมพิเศษ (อุโมงค์ลอดเทือกเขาภูพาน) จากสะพานมิตรภาพไทย – ลาว แห่งที่ ๓ จังหวัดนครพนม ไปยังกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพื่อเชื่อมโยงกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๑๒ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๖๔)

               

๗. ญัตติด่วน เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและสอบหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบิดเบือนกฎหมายของเจ้าพนักงานในตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรมเพื่อกลั่นแกล้งต่อผู้ชุมนุมและผู้แสดงความคิดเห็นทางการเมือง(นายรังสิมันต์ โรม เป็นผู้เสนอ)  (ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๑๗ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๑๖ ธันวาคม ๒๕๖๔)

               

๘. ขออนุญาตสภาผู้แทนราษฎรเพื่อเรียกตัว นายรังสิมันต์ โรม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมายังพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในระหว่างสมัยประชุม ตามมาตรา ๑๒๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒๐ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๕๖๔)

               

๙. ญัตติด่วน ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาการก่อสร้างเส้นทางสายใหม่ เชื่อมต่อจากทางหลวงพิเศษหมายเลข ๖ (มอเตอร์เวย์โคราช) ไปยังสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ ๓ จังหวัดนครพนม ผ่านกลุ่มจังหวัดอีสานตอนกลาง (ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด สกลนคร นครพนม(นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ เป็นผู้เสนอ)  (ค้างมาจากการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ ๒๕ ปีที่ ๓ ครั้งที่ ๒๓ (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่สอง) วันพฤหัสบดีที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๕)

 

เกมการเมือง “สภาล่ม” ซ้ำซาก 17 ครั้ง ทำวาระพิจารณาตกค้างนับร้อย        

 

และเรื่องที่ค้างพิจารณาตั้งแต่ปีที่แล้วรวม 190 เรื่อง เช่น ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาเรื่องระบบการจัดจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลและแก้ไขปัญหาให้แก่ผู้ค้าสลากรายย่อย (นายเลิศศักดิ์ พัฒนชัยกุล และนายกิตติศักดิ์ คณาสวัสดิ์ เป็นผู้เสนอ) , ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษารายละเอียดโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ สายเด่นชัย - เชียงราย - เชียงของ และการวางแผนงานเพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ (นายพิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน เป็นผู้เสนอ) ,ญัตติ เรื่อง ขอให้สภาผู้แทนราษฎรตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาและติดตามกระบวนการสันติภาพในจังหวัดชายแดนภาคใต้(นายชวลิต วิชยสุทธิ์ เป็นผู้เสนอ)

 

วาระการประชุมเว็บไซต์สภาผู้แทนราษฎร 

 

logoline