svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

“สตาร์ทอัพสายเขียว”เพิ่มมูลค่ากัญชาเชิงพาณิชย์

02 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ฟาร์มเกษตรอินทรีย์เพชรล้านนา สร้างแบรนด์รักษ์กัญ ปูพรมแฟรนไชส์ธุรกิจอาหาร-เครื่องดื่มกัญชาทั่วไทย1,000 แห่ง ด้าน“แต๊เชียงดาว” เข็นสินค้าน้ำสมุนไพรกัญชาจ่อขึ้นทะเบียน อย. เผย 1 ปีตลาดเครื่องดื่มสายเขียวโตก้าวกระโดด วอนรัฐกำหนดค่าธรรมเนียม-มาตรฐานค่า THC ให้ชัดเจน

นายองอาจ ปัญญาชาติรักษ์ ผู้บริหารวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เพชรลานนา อำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง เปิดเผยว่า ทางวิสาหกิจฯ ได้รับอนุญาตให้ปลูกกัญชาถูกต้องตามกฎหมายเป็นแห่งแรกของประเทศไทย เมื่อปี 2562 ในพื้นที่ 4 ไร่ 1 งาน 95 ตารางวา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยเริ่มเก็บกัญชาได้ตั้งแต่ปี 2564

“สตาร์ทอัพสายเขียว”เพิ่มมูลค่ากัญชาเชิงพาณิชย์      

ล่าสุด ในปีนี้ได้ต่อยอดเพิ่มมูลค่าด้วยการแปรรูปกัญชา เพื่อนำมาเป็นวัตถุดิบหลักในผลิตชากัญชา เครื่องดื่มกัญชา ก๋วยเตี๋ยวกัญชา และหมูยอกัญชา ภายใต้แบรนด์ “รักษ์กัญ”

“สตาร์ทอัพสายเขียว”เพิ่มมูลค่ากัญชาเชิงพาณิชย์

ทั้งนี้ ได้มีการใช้ใบกัญชาอินทรีย์ที่ปลูกแบบกลางแจ้ง มาผลิตเป็นเครื่องดื่ม เช่น น้ำอัญชันกัญชา น้ำลำไยกัญชา และน้ำเก็กฮวยกัญชา โดยเปิดเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ให้ผู้ประกอบการที่สนใจความโดดเด่นของกัญชามาร่วมกันสร้างธุรกิจ โดยจากการที่ได้เปิดตลาดมา 10 เดือน สามารถขายแฟรนไชส์ได้เกือบ 1,000 แห่งทั่วประเทศ ทั้งที่จำหน่ายในคาเฟ่ ร้านอาหาร และตลาดนัด โดยเครื่องดื่มกัญชามีทั้งแบบที่ใช้ชื่อของแบรนด์รักษ์กัน และแบรนด์ของผู้ประกอบการ เพื่อให้ผู้ประกอบการมีโอกาสเข้าถึงกัญชาได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และสามารถนำไปต่อยอดเป็นธุรกิจที่หารายได้จากกัญชาได้ 

นอกจากเครื่องดื่มแล้ว ยังได้เปิดแฟรนไชส์ “เตี๋ยวรักษ์กัญ” โดยมีการคิดค้นสูตรให้ผู้ประกอบการได้นำไปประกอบอาชีพได้ในราคา 6,500 บาท โดยนำส่วนก้านมาพัฒนาร่วมกับสมุนไพรชนิดต่างๆ ให้เป็นเครื่องตุ๋น เมื่อนำมาปรุงเป็นน้ำซุปก๋วยเตี๋ยว รสชาติจะดี กลมกล่อม โดยขณะนี้ได้ขยายแฟรนไชส์ทั่วประเทศแล้วกว่า 50 แห่ง

 

พร้อมกันนี้ ยังได้ผลิต “ตุ๋นกัญ” เป็นซองจำหน่ายในร้านขายของชำทั่วประเทศด้วย เพื่อให้เข้าถึงลูกค้ารายย่อยที่สนใจจะนำไปปรุงเป็นเมนูอาหารต่างๆ อีกด้วย

      “สตาร์ทอัพสายเขียว”เพิ่มมูลค่ากัญชาเชิงพาณิชย์                                               

“ภายในปีนี้เราจะพยายามเข้าสู่ตลาดออนไลน์ให้ได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับว่า ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จะได้รับการอนุญาตจากทาง อย. หรือไม่ แต่ในระหว่างที่เรากำลังพัฒนาให้กัญชาเข้าไปมีบทบาทในเมนูอาหาร และเครื่องดื่มนั้น ในปีนี้ได้ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างโมเดลช็อปอินช็อป ด้วยการให้ร้านอาหาร หรือคาเฟ่ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการนำกัญชาไปเป็นเมนูสำคัญ เพราะต้องการที่จะพัฒนากลุ่มสตาร์ทอัพทั่วประเทศ” นายองอาจ กล่าว

“สตาร์ทอัพสายเขียว”เพิ่มมูลค่ากัญชาเชิงพาณิชย์

นายเอกสกุล แก้วมณี เจ้าของร้านน้ำซ่า กัญชาไทย by แต๊ เชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า เปิดทำธุรกิจน้ำสมุนไพร และน้ำซ่ากัญชา มาเป็นเวลา 1 ปีแล้ว ถือว่าได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี โดยส่วนตัวได้ศึกษาประโยชน์ของกัญชามานานกว่า 2 ปี และครอบครัวมีศักยภาพในการผลิตน้ำสมุนไพรมากว่า 20 ปี ทำให้สามารถจะนำกัญชามาต่อยอดกันอย่างได้ลงตัว

 

ปัจจุบันนี้มีน้ำสมุนไพรกัญชากว่า 20 ชนิด เช่น กระเจี๊ยบชากัญ กระชายชากัญ หญ้าหวานชากัญ กาแฟกัญชา ชาไข่มุกชากัญ และมะนาวชากัญ จำหน่ายในราคาขวดละ 35 บาท และปีนี้ได้ขยายแฟรนไชส์ในจังหวัดเชียงใหม่ไปแล้ว 4 สาขา

 

“สตาร์ทอัพสายเขียว”เพิ่มมูลค่ากัญชาเชิงพาณิชย์

            

นอกจากนั้น ยังได้ผลิตน้ำซ่ากัญชาออกมาจำหน่ายด้วยในรูปแบบน้ำอัดลมโบราณ ทำให้เป็นอีกหนึ่งสินค้าที่มีเสน่ห์ พร้อมกันนี้ ยังได้นำกัญชามาต่อยอดกับเมนูอาหารกับคนในชุมชนด้วย เพื่อให้คนในพื้นที่ได้มีส่วนร่วมในการสร้างรายได้ร่วมกัน โดยได้ขอความร่วมมือจากผู้ผลิตไส้อั่วเจ้าเก่าแก่ในอำเภอเชียงดาวมาผลิต ไส้อั่วกัญชาแบบโบราณ รวมไปถึงผู้ผลิตหมั่นโถวมาผลิตหมั่นโถวไส้ถั่วแดงกัญชา ไส้เผือกกัญชา และไส้เห็ดหอมกัญชา และยังมีขนมถั่วแปบ ขนมโบราณของภาคเหนือ มาผลิตเป็นขนมถั่วแปบที่ใส่กัญชาเข้าไปด้วย ตลอดจนก๋วยเตี๋ยวหลอดกัญชา และคุกกี้กัญชา ทำให้คนในชุมชนมีความตื่นตัวที่จะพัฒนาสินค้าด้วยการต่อยอดจากกัญชากันมากขึ้น

“สตาร์ทอัพสายเขียว”เพิ่มมูลค่ากัญชาเชิงพาณิชย์

แม้ว่าจะเป็นช่วงที่เกิดการแพร่ะระบาดของเชื้อโควิด-19 แต่การเริ่มต้นธุรกิจกลับเดินหน้าไปได้ด้วยดี กลายเป็นเครื่องดื่ม และอาหารที่ลูกค้าอยากทดลองชิม เพราะมีกัญชาเป็นตัวชูโรง ซึ่งตั้งแต่ที่เปิดขายน้ำสมุนไพรกัญชา ในช่วงเทศกาลเคยสามารถขายได้วันละ 1,000 ขวด และในช่วงปกติสามารถขายได้วันละ 400 ขวด ส่วนหนึ่งที่ได้รับการตอบรับดีนั้น เพราะเราเน้นการผลิตเครื่องดื่มที่มีรสชาติดี และมีกัญชาเป็นตัวชูโรงสำคัญ” นายเอกสกุล กล่าว

“สตาร์ทอัพสายเขียว”เพิ่มมูลค่ากัญชาเชิงพาณิชย์

สำหรับการปลดล็อกกัญชาถือว่าเป็นข่าวดีที่ทำให้ชาวบ้าน หรือวิสาหกิจชุมชน ได้มีทางเลือกในการสร้างอาชีพและรายได้มากขึ้น แต่ตอนนี้อยากให้ภาครัฐได้เร่งวางแนวทางว่า จะมีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมอย่างไร ที่ไม่กระทบต่อผู้ประกอบการรายย่อยที่มีเป็นจำนวนมากทั่วประเทศ หรือแม้แต่ค่า THC ไม่เกิน 0.2% นั้น ชาวบ้านไม่มีความรู้ อาจจะเข้าข่ายถูกดำเนินคดีได้ หรือแม้กระทั่งโรงเก็บกัญชาควรจะต้องทำหรือไม่ ซึ่งถือเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องการความชัดเจนทั้งสิ้น

 

ภาพ/ข่าว : สกาวรัตน์ ศิริมา จ.เชียงใหม่ 

logoline