svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

1 กุมภาพันธ์ 2565 ครบรอบ 1 ปี "รัฐประหารเมียนมา"

01 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

1 กุมภาพันธ์ 2565 ครบรอบ 1 ปีรัฐประหารเมียนมา ไฟความขัดแย้งคร่าชีวิตประชาชนเมียนมาไปกว่าพันคน ถูกจับกุมกว่าหมื่นคน และคาดว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ ต้องหลบหนี หรือย้ายถิ่นนับแสนคน

ความขัดแย้งและความรุนแรงใน “เมียนมา” เป็นปัญหามีมาอย่างยาวนานและยังคงดำเนินต่อไป ท่ามกลางคราบน้ำตาของผู้คนในประเทศที่ยังคงเรียกร้องโหยหาสันติภาพและประชาธิปไตย

 

1 กุมภาพันธ์ 2565 ครบรอบ 1 ปี \"รัฐประหารเมียนมา\"

 

1 กุมภาพันธ์ 2564 เกิดการรัฐประหารเมียนมา โดย “พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้นำรัฐประหาร”  โค่นล้มรัฐบาล “ออง ซาน ซูจี”  นับเป็นวันที่จุดไฟความขัดแย้งให้ลุกโชนขึ้นมาอีกครั้ง  และจนถึงวันนี้ผ่านมาแล้ว 1 ปีเต็ม สถานการณ์ยังคงอลม่านไร้วี่แววแห่งสันติภาพ ซ้ำยังเกิดเหตุนองเลือด คร่าชีวิตประชาชนเมียนมาไปกว่าพันคน ถูกจับกุมกว่าหมื่นคน และคาดว่ามีผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ ต้องหลบหนี หรือย้ายถิ่นนับแสนคน

 

1 กุมภาพันธ์ 2565 ครบรอบ 1 ปี \"รัฐประหารเมียนมา\"

 

 

ย้อนไทม์ไลน์เหตุการณ์รัฐประหารเมียนมา

 

1 กุมภาพันธ์ 2564

ทหารควบคุมตัวนางอองซานซูจี วัย 76 ปี และสมาชิกสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย ซึ่งได้รับเลือกตั้งใหม่ในการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2563 ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน

 

2 กุมภาพันธ์ 2564

เกิดการประท้วงครั้งแรก ประชาชนทุบหม้อ กระทะ บีบแตรรถ ประท้วงรัฐประหาร

 

6 กุมภาพันธ์ 2564

รัฐบาลสั่งบล็อก Twitter และ Instagram ตามด้วยการปิดอินเทอร์เน็ต

 

1 กุมภาพันธ์ 2565 ครบรอบ 1 ปี \"รัฐประหารเมียนมา\"

 

8 กุมภาพัน์  2564

การประท้วงขยายวงสู่มวลชนนับแสนคนในหลายเมืองและหมู่บ้านต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวมถึงกลุ่มแรงงานนัดกันหยุดงานประท้วง

 

9 กุมภาพันธ์ 2564

เกิดเหตุรุนแรงในหลายเมืองหลังเจ้าหน้าที่เข้าปราบปรามผู้ประท้วง โดยหญิงวัย 19 ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กระสุนยิงเข้าที่ศรีษะขณะร่วมการประท้วงในกรุงเนปิดอว์ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา

 

10 มีนาคม 2564

คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมีมติเป็นเอกฉันท์เรียกร้องให้มีการยกเลิกรัฐประหารของทหารในเมียนมา และประณามความรุนแรงของทหารต่อผู้ประท้วงอย่างสันติ

28 มีนาคม 2564

ชาวกระเหรี่ยงหลายพันคน หลบหนีเข้าไทยหลังกองทัพประกาศปราบปรามกลุ่มชาติพันธุ์ที่สนับสนุนผู้ประท้วงรัฐบาล

 

1 เมษายน 2564

“ออง ซาน ซูจี”  ถูกตั้งข้อหากระทำความผิดภายใต้กฎหมายความลับทางการ

 

24 เมษายน 2564

Min Aung Hlaing เดินทางไปจาการ์ตาเพื่อประชุมสุดยอดกับผู้นำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หัวหน้ากองกำลังติดอาวุธลงนามในแผนห้าจุดเพื่อยุติความรุนแรงและหาทางแก้ไขวิกฤตทางการเมือง

 

24 พ.ค 2564

“ออง ซาน ซูจี” ปรากฏตัวในศาลเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รัฐบาลของเธอถูกโค่นล้ม

 

1 สิงหาคม 2564

“มิน ออง หล่าย” แต่งตั้งตนเองเป็นนายกรัฐมนตรีในสภาบริหารของกองทัพบก เขาย้ำคำมั่นว่าจะจัดการเลือกตั้งภายในปี 2023

 

1 กุมภาพันธ์ 2565 ครบรอบ 1 ปี \"รัฐประหารเมียนมา\"

 

16 ตุลาคม 2564

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) กีดกัน Min Aung Hlaing จากการประชุมสุดยอดของพวกเขา โดยกล่าวว่ากองทัพล้มเหลวในการดำเนินการตามแผนเพื่อยุติวิกฤตการณ์

 

16 พฤศจิกายน 2564

เมียนมาร์ตั้งข้อหาอองซานซูจีและอีก 15 คนในข้อหา “ฉ้อโกงการเลือกตั้งและการกระทำที่ผิดกฎหมาย” ในการเลือกตั้งเดือนพฤศจิกายน 2563

 

7 มกราคม 2565

นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา เป็นผู้นำต่างชาติคนแรกที่เยือนเมียนมาร์

 

จากเหตุการณ์รัฐประหารในวันนั้น ยังคงมีความรุนแรงอย่างเนื่องภาพความรุนแรงมีให้เห็นเป็นระยะ ทั้งการสู้รบระหว่างทหารกองกำลังสหภาพแห่งชาติกะเหรี่ยง (เคเอ็นยู) กับ ทหารเมียนมา ตรงข้าม อ.แม่สอด จ.ตาก ซึ่งมีการเสริมกำลังพร้อมอาวุธหนักเข้าพื้นที่ต่อเนื่อง ทำให้ชาวเมียนหลายพันคนต้องอพยพหนีภัยสงครามเข้ามาฝั่งไทย

 

ขณะอดีตผู้นำประเทศอย่าง “ออง ซาน ซูจี” ยังถูกแจ้งข้อหาและดำเนินคดีอย่างต่อเนื่องทั้ง ความผิดในข้อหายุยงปลุกปั่นและละเมิดมาตรการควบคุมโควิด-19 ซึ่งถูกสั่งจำคุกเป็นเวลา 4 ปี แต่ลดโทษเหลือ 2 ปี นอกจากนี้รัฐบาลทหารเมียนมายังได้ตั้งข้อหาคอร์รัปชัน ละเมิดกฎหมายความลับของรัฐ รวมถึงกฎหมายด้านโทรคมนาคมจากการครอบครองวิทยุสื่อสารที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งจะมีการพิจารณาลงโทษในไม่ช้านี้

 

1 กุมภาพันธ์ 2565 ครบรอบ 1 ปี \"รัฐประหารเมียนมา\"

 

แม้ว่าสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ (ยูเอ็น) จะประณาม และเรียกร้องให้คว่ำบาตร หยุดขายอาวุธให้แก่รัฐบาลทหารเมียนมาเพื่อตอบโต้กองทัพเมียนมา นำโดยพลเอกอาวุโส มิน อ่อง หล่าย ที่ก่อรัฐประหารยึดอำนาจล้มรัฐบาล   ยังเรียกร้องให้รัฐบาลทหารเมียนมาฟื้นฟูกระบวนการส่งมอบประชาธิปไตยในประเทศและปล่อยตัวนางออง ซาน ซูจี หัวหน้าพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (เอ็นแอลดี) แต่จนถึงขณะนี้  ข้อมูลจาก Assistance Association for Political Prisoners (สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง-AAPP)  จนถึงปัจจุบัน มีผู้ถูกสังหารไปแล้ว 1,503 คน และ 11,838 คนถูกจับกุม ส่วนรายงานผู้ได้รับผลกระทบจากการสู้รบ ต้องหลบหนี หรือย้ายถิ่น ยังไม่มีหน่วยงานสรุป คาดว่าจะมีนับแสนคน

 

 

 

logoline