svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนใน Saudi Vision 2030 แผนปฏิรูปเศรษฐกิจซาอุฯ

27 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนใน Saudi Vision 2030 แผนปฏิรูปเศรษฐกิจสังคมซาอุดีอาระเบีย จากการที่ พลเอกประยุทธ์ ได้ถูกเชิญอย่างเป็นทางในการเยือน ครั้งประวัติศาสตร์

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนใน Saudi Vision 2030 แผนปฏิรูปเศรษฐกิจซาอุฯ

27 มกราคม 2565 จากกรณี เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด มกุฎราชกุมาร รองนายกรัฐมนตรี และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ของซาอุดีอาระเบีย เชิญพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะพระราชอาคันตุกะเข้าเฝ้าฯอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 25-26 มกราคมที่ผ่านมา จนเป็นที่จับจับตามองของหลายประเทศ  โดยเฉพาะแนวทางการบริหารประเทศ ของเจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

 

นอกจากนี้ยังได้มีการกล่าวถึง Saudi Vision 2030 แผนปฏิรูปเศรษฐกิจสังคม ที่ออกแบบมาเพื่อให้ซาอุดีอาระเบียเดินหน้าโดยไม่ต้องพึ่งพาการส่งออกน้ำมันแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งมีการกล่าวถึงกันอย่างมากในขณะนี้

 

เรื่องดังกล่าว สำนักข่าวรอยเตอร์ ได้รวบรวมสาระสำคัญของแผน  Saudi Vision 2030 ไว้ว่า

 

ปรับพีไอเอฟ เป็นมหาอำนาจการลงทุนโลก

การปรับโครงสร้างกองทุนการลงทุนสาธารณะ (พีไอเอฟ) ที่รัฐเป็นเจ้าของ เพื่อเปลี่ยนซาอุดีอาระเบีย จากผู้ส่งออกน้ำมันอันดับหนึ่งของโลก ไปเป็นมหาอำนาจด้านการลงทุนโลก รัฐวิสาหกิจน้ำมัน “ซาอุดีอารามโค” จะเป็นหนึ่งในสินทรัพย์ใหม่ ของพีไอเอฟ

 

ปี 2558  พีไอเอฟสร้างผลตอบแทนราว 3 หมื่นล้านริยัล (8 หมื่นล้านดอลลาร์) และตั้งเป้าเพิ่มสินทรัพย์จาก 6 แสนล้านริยัลเป็นกว่า 7 ล้านล้านริยัล

ปรับโครงสร้างโครงสร้างหน่วยงานและสินทรัพย์ของรัฐ

เพื่อให้สถานะการเงินหน่วยงานรัฐอยู่รอดได้ในระยะยาว Saudi Vision 2030 เลือกใช้การปรับโครงสร้างหน่วยงานและสินทรัพย์ของรัฐแทนการลดค่าใช้จ่ายเป็นปัจจัยสำคัญ

การปฏิรูปไม่จำเป็นว่า รัฐบาลต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมหาศาล แต่เป็นการทำโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้วต่อไป 

 

เปลี่ยน ซาอุดีอารามโค รัฐวิสาหกิจของรัฐ เป็นโฮลดิง

ซาอุดีอารามโค จะถูกเปลี่ยนเป็น บริษัทโฮลดิงด้านพลังงาน คณะกรรมการบริหารมาจากการเลือกตั้ง นำบริษัทลูกบางแห่งเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยบริษัทแม่มีมูลค่ากว่า 2 ล้านล้านดอลลาร์ ซึ่งการนำหุ้นไม่เกิน 5% เปิดขายต่อสาธารณะครั้งแรก (ไอพีโอ) เช่น ขายหุ้นเพียง 1% ก็จะกลายเป็นการทำไอพีโอครั้งใหญ่สุดของโลกได้แล้ว

กระตุ้นให้สถาบันการเงินจัดสรรเงินทุน 20% ของทั้งหมดให้วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็กภายในปี 2573 การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเพิ่มเป็น 5.7% ของจีดีพีจาก 3.8%

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนใน Saudi Vision 2030 แผนปฏิรูปเศรษฐกิจซาอุฯ

การทำเหมืองและพลังงานหมุนเวียน

ซาอุดีอาระเบีย ตั้งเป้าผลิตพลังงานหมุนเวียน 9.5 กิกะวัตต์ และต้องมีอุตสาหกรรมผลิตพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น อุตสาหกรรมทำเหมือง ต้องสร้างผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) สู่ระดับ 9.7 หมื่นล้านริยัล (2.59 หมื่นล้านดอลลาร์) เพิ่มการจ้างงานในอุตสาหกรรมนี้อีก 90,000 คน ภายในปี 2563

 

ด้านทหาร ตั้งอุตสาหกรรมกลาโหม

รัฐบาลมีแผนตั้งบริษัทโฮลดิงหนึ่งแห่งทำอุตสาหกรรมกลาโหม เริ่มต้นให้เป็นกิจการของรัฐเต็มรูปแบบต่อมาค่อยจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซาอุดีอาระเบีย

 

ระบบกรีนการ์ด

ซาอุดีอาระเบียจะนำระบบ “กรีนการ์ด” มาใช้ภายในห้าปี เพื่อให้ชาวต่างชาติมีสิทธิ์ใช้ชีวิตและทำงานในราชอาณาจักระยะยาว

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนใน Saudi Vision 2030 แผนปฏิรูปเศรษฐกิจซาอุฯ

เพิ่มจำนวนผู้แสวงบุญ

ซาอุดีอาระเบีย เล็งรับผู้แสวงบุญเพิ่มจากปีละ 8 ล้านคนเป็น 30 ล้านคน

 

เป้าหมาย

Vision 2030 ประกอบด้วยเป้าหมายอื่นๆ มากกว่า 12 ข้อ ซึ่งในขณะประกาศแผนยังไม่มีรายละเอียดว่าจะบรรลุเป้าหมายได้อย่างไร แต่ปลายทางคือภายใน พ.ศ.2573 เช่น รายได้ของรัฐบาลที่ไม่ได้มาจากน้ำมันจะทะลุ 6 แสนล้านริยัล ภายในปี 2563 และ 1 ล้านล้านริยัลภายในปี 2573 จาก 1.63 แสนล้านริยัลในปี 2558

 

  • สัดส่วนการส่งออกที่ไม่ใช่น้ำมันเพิ่มจาก 16% ของจีดีพีเป็น 50% ของจีดีพี
  • เงินออมภาคครัวเรือนเพิ่มจาก 6% ของรายได้ครัวเรือนโดยรวมเป็น 10%
  • การว่างงานของพลเมืองซาอุดีอาระเบียลดลงเหลือ 7% จาก 11.6%
  • เพิ่มจำนวนนักกีฬาชาวซาอุฯ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง เป็น 40% จาก 13%
  • เพิ่มแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการรับรองจากองค์การยูเนสโกเป็นสองเท่า สุดยอด 100 เมืองโลก ต้องอยู่ในซาอุดีอาระเบีย 3 เมือง

 

Saudi Vision 2030 สำเร็จ

ภายหลังผ่านไป 5 ปี สภากิจการเศรษฐกิจและการพัฒนาซาอุดีอาระเบีย ได้ทบทวน Saudi Vision 2030 เมื่อเดือน เม.ย.2564 พบว่า ประสบความสำเร็จใน 3 เรื่องหลัก ประกอบด้วย “สังคมรุ่งเรือง เศรษฐกิจมั่งคั่ง ประเทศชาติก้าวไกล”

 

เว็บไซต์อาหรับนิวส์ รายงานถ้อยแถลง สภากิจการเศรษฐกิจและการพัฒนาซาอุดีอาระเบีย ระบุว่า การเข้าถึงบริการสาธารณสุขฉุกเฉินภายใน 4 ชั่วโมงตอนเปิดตัวแผนการอยู่ที่ 36% เพิ่มขึ้นเป็น 87% การจัดการถนนดีขึ้น การเสียชีวิตจากอุบัตเหตุบนท้องถนนรายปีลดลงจาก 28.8 ต่อ 100,000 คนเหลือ 13.5 คน

 

จำนวนประชาชนเล่นกีฬาสัปดาห์ละอย่างน้อยหนึ่งครั้งเพิ่มจาก 13% ก่อนปฏิรูปเป็น 19%ในปี 2563

 

แหล่งโบราณคดีที่ท่องเที่ยวได้เพิ่มจาก 241 แห่งในปี 2560 เป็น 354 แห่งในปี 2563 ช่วยสร้างงานในภาคการท่องเที่ยวและสร้างจีดีพีอย่างมีนัยสำคัญ

 

อีกโครงการหนึ่งของ Saudi Vision 2030 คือ NEOM เมืองไฮเทคแห่งอนาคต มูลค่า 5 แสนล้านดอลลาร์ศูนย์กลางกำลังก่อสร้างอยู่บนทะเลแดง

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนใน Saudi Vision 2030 แผนปฏิรูปเศรษฐกิจซาอุฯ

เมืองหุ่นยนต์และเทคโนโลยี

โจเซฟ แบรดลีย์ ซีอีโอบริษัทเทคแอนด์ดิจิทัลโฮลดิงของ NEOM กล่าวกับสำนักข่าวเอเอฟพี เมื่อเดือน ต.ค.ที่ผ่านมาว่า NEOM ที่จะมีหุ่นยนต์และกำลังทดลองแท็กซี่ลอยฟ้า เดินหน้าเปิดรับผู้อาศัยและธุรกิจได้ตามแผนภายในปี 2568

คณะกรรมการบริหาร NEOM ที่มี เจ้าชายมุฮัมมัด บิน ซัลมาน บิน อับดุลอะซีซ อัลซะอูด  เป็นองค์ประธานจะอนุมัติกฎหมายก่อตั้ง NEOM ได้ภายในหนึ่งหรือสองปีนี้

 

การท่องเที่ยวเสาหลัก

การพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเสาหลักหนึ่งในโครงการ “Saudi Vision 2030” เพื่อเตรียมพร้อมเศรษฐกิจซาอุดีอาระเบีย ที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลกอาหรับ ให้หลากหลายมากขึ้น ไม่ต้องพึ่งพาน้ำมันแต่เพียงอย่างเดียว

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนใน Saudi Vision 2030 แผนปฏิรูปเศรษฐกิจซาอุฯ

ทางการซาอุดีอาระเบียโหมโฆษณาแหล่งโบราณสถาน ทะเลทรายทิวทัศน์งดงาม และชายหาด แต่ยังเน้นแหล่งท่องเที่ยวในเมืองใหญ่อย่างกรุงริยาด และเจดดาห์ เมืองท่าริมฝั่งทะเลแดงทางภาคตะวันตก ที่ทางการทุ่มทุนก้อนโตสร้างแหล่งบันเทิง

 

นอกจากนี้ เอเอฟพี รายงานด้วยว่า ที่ผ่านมา มกุฎราชกุมารมุฮัมมัด ทรงพยายามปรับภาพลักษณ์อนุรักษนิยมสุดขั้วของประเทศ โดยอนุญาตให้เปิดโรงภาพยนตร์ ผู้หญิงขับรถได้ หญิงชายดูคอนเสิร์ตและการแข่งขันกีฬาด้วยกันได้ แต่อับดุลลาห์ อัล ฟาเอซ ที่ปรึกษาด้านการวางแผนเศรษฐกิจมองว่า การปฏิรูปการท่องเที่ยวจำเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานมารองรับด้วย ไม่ว่าจะเป็นถนนหรือโรงแรม และท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รัฐบาลจะต้องสร้างจิตสำนึกประชาชนให้เห็นความสำคัญของการท่องเที่ยวด้วย ว่าช่วยเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจและการจ้างงานได้

ประเทศไทยอยู่ตรงไหนใน Saudi Vision 2030 แผนปฏิรูปเศรษฐกิจซาอุฯ

ทั้งนี้หลังจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม ได้เดินทางกลับจากซาอุดีอาระเบีย เพียงไม่กี่ชั่วโมง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ประยุทธ์ จันทร์โอชา Prayut Chan-o-cha ซึ่งได้มีการกล่าวถึง Saudi Vision 2030 หรือแผนปฏิรูปเศรษฐกิจสังคมซาอุฯและโครงการที่ไทยจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนนี้ อาทิ

 

ด้านการท่องเที่ยว การเยือนในระดับประชาชนที่จะมีพลวัตรมากขึ้นอย่างยิ่ง มีการคาดการณ์ว่า การเดินทางไปมาหาสู่ที่สะดวกยิ่งขึ้นระหว่างประเทศไทยกับซาอุดีอาระเบีย จะสามารถสร้างรายได้ให้ประเทศไทยไม่ต่ำกว่าประมาณ 5,000 ล้านบาทต่อปี

 

ด้านพลังงาน เกิดการร่วมวิจัยและลงทุน ทั้งในรูปแบบพลังงานดั้งเดิม พลังงานสะอาด และพลังงานหมุนเวียน ซึ่งเป็นเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ชาติของทั้งสองประเทศ โดยซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศผู้ค้าและมีแหล่งสำรองน้ำมันอันดับต้นๆ ของโลก ตลอดจนมีวิทยาการด้านพลังงานที่ทันสมัย ส่วนไทยก็มีเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่พร้อมรองรับการวิจัย พัฒนา และการลงทุนแห่งอนาคต ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามนโยบาย BCG Economy ซึ่งสอดรับกับข้อริเริ่ม Saudi Green Initiative และ Middle East Green Initative ของซาอุดีอาระเบีย

 

ด้านแรงงาน ไทยมีแรงงานฝีมือและกึ่งฝีมือที่มีศักยภาพจำนวนมาก ในขณะที่ซาอุดีอาระเบียก็มีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบต่าง ๆ จำนวนมากเช่นกัน โดยแรงงานจากประเทศไทย จะมีส่วนช่วยเติมเต็ม “วิสัยทัศน์ซาอุดีอาระเบีย ค.ศ. 2030” (Saudi Vision 2030) ผ่านโครงการก่อสร้างที่คาดว่าจะมีขึ้นเป็นจำนวนมาก

ขอบคุณภาพจาก NEOM on Twitter

logoline