svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย

05 มกราคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไม่ตามต่อไม่ได้ เปิดเบื้องลึก! "ดราม่ารถไฟญี่ปุ่น" จอดทิ้ง 6 ปี ไร้การซ่อมแซม ล่าสุดหลังถูกโซเชียลวิจารณ์หนักเตรียมเริ่มตรวจสภาพรีโนเวทในปีนี้ เพื่อให้ใช้บริการนั่งท่องเที่ยวได้ปี 66

     ยังคงต้องติดตามอย่างต่อ สำหรับดราม่ากรณีที่ รฟท. มีการรับบริจาครถไฟเก่าปลดระวงจากประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 59 และมีการพบรถไฟที่ได้รับมอบมาเหล่านี้ถูกจอดทิ้งไว้จนผุพัง ไม่ได้นำไปปรับปรุงเพื่อใช้งานตามวัตถุประสงค์ที่ได้รับมอบ (อ่านรายละเอียด) จนผู้คนในโซเชียลต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้าง บางส่วนระบุ เป็นเรื่องของปัญหาการจัดสรรงบประมาณในการซ่อมบำรุงและนำปรับปรุงมาใช้ที่อาจไม่คุ้มค่า บ้างก็ตำหนิว่า รฟท. และรัฐบาลทำตัวเป็นขอทาน และบางส่วนมองเป็นเพียงขยะจากต่างประเทศที่นำมาทิ้ง 

 

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย


     ล่าสุดวันนี้ (5 ธ.ค.) เพจเฟซบุ๊ก Logistics & Development Thailand Forum ข่าวสารการขนส่งและการพัฒนา ได้มีการแชร์ข้อมูลจากเพจเฟซบุ๊ก Dailynews - ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์ โดยอ้างถึงเบื้องลึกกรณีดังกล่าว ที่ระบุว่า

 

เปิดเบื้องลึก!"ดราม่ารถไฟญี่ปุ่น"รับบริจาค 6 ปีซ่อมช้า
*ติดขั้นตอนประมูล 104 ล้านจ้างปรับปรุงกว่า 3ปี
*ก.พ.นี้ประกาศร่างได้ใช้บริการนั่งท่องเที่ยวปี66 
*”KIHA183”เริ่มตรวจสภาพรีโนเวทแล้วได้ใช้ปีนี้ 

 

     รายงานข่าวจาก รฟท. แจ้งว่า อยู่ระหว่างเตรียมประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) จ้างดัดแปลงปรับปรุงรถโดยสารปรับอากาศ JR HOKKAIDO (ฮามานะสึ: Hamanasu)  เป็นรถท่องเที่ยว 10 คัน  วงเงิน 104 ล้านบาท ซึ่งได้รับมอบจากบริษัท JR Hokkaido ประเทศญี่ปุ่น ช่วงปลายปี 59 ประกอบด้วย รถ OHA ชนิด 48 ที่นั่ง และ 72 ที่นั่ง รวม 5 คัน และรถ SUHAFU ชนิด 64 ที่นั่ง 5 คัน  โดยจะนำมาพัฒนาเป็นรถไฟเพื่อการท่องเที่ยว สำหรับให้บริการประชาชน และนักท่องเที่ยวต่างชาติ 
 

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย

     คาดว่าจะประกาศเงื่อนไข (ทีโออาร์) จัดซื้อจัดจ้างฯ ได้ประมาณเดือน ก.พ. 65 เปิดประมูลในเดือน มี.ค. 65 และลงนามสัญญากับผู้ชนะประมูลประมาณเดือน พ.ค.65 จากนั้นในเดือน มิ.ย. ผู้รับจ้างจะเริ่มดัดแปลง ปรับปรุงรถให้แล้วเสร็จ และส่งมอบชุดแรก 5 คันให้ รฟท. ประมาณเดือน ม.ค. 66 

 

     ทั้งนี้ในการดัดแปลงนั้น ผู้รับจ้างต้องดำเนินงานใน 7 ส่วนคือ 1.งานโครงสร้างตัวรถ 2.งานทำสีภายใน ภายนอก(ทั้งคัน) 3.งานตกแต่งภายใน งานติดตั้งอุปกรณ์อำนวยความสะดวก 4.งานระบบไฟฟ้าต้นกำลัง และไฟฟ้าแสงสว่าง 5.งานดัดแปลงห้องน้ำ (ระบบปิด) 6.งานปรับปรุงด้านวิศวกรรม และ 7.งานปรับปรุงระบบเครื่องปรับอากาศ

 

     รายงานข่าวแจ้งอีกว่า การปรับปรุงรถโดยสารปรับอากาศ JR HOKKAIDO แต่ละขบวน จะสีสัน เอกลักษณ์ และลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามเส้นทางที่ให้บริการ โดยขณะนี้ รฟท. ร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้ว จะช่วยสร้างความประทับใจ และสร้างบรรยากาศที่ไม่จำเจให้ผู้โดยสารได้ 

 

     เบื้องต้น รฟท. มีแผนนำรถ JR HOKKAIDO 5 คันแรกที่ดัดแปลง และปรับปรุงสภาพแล้วเสร็จ ไปใช้ให้บริการสำหรับการท่องเที่ยวใน 2 เส้นทาง ได้แก่ เส้นทางเชียงใหม่-ลำปาง และเส้นทาง กรุงเทพฯ-น้ำตก

 

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย

 

     รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ส่วนรถไฟดีเซลราง KIHA 183 จำนวน 17 คัน ที่ได้รับมอบจากบริษัท JR Hokkaido ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 60 และได้ขนย้ายมาถึงประเทศไทยเมื่อเดือน ธ.ค.ที่ผ่านมานั้น ขณะนี้ได้เริ่มดำเนินการตรวจสภาพ และปรับปรุงรถแล้ว 

 

     โดยปรับปรุงเครื่องยนต์ ลดขนาดความกว้างของล้อรถ เนื่องจากที่ประเทศญี่ปุ่นใช้รางรถไฟขนาด 1.067 เมตร ขณะที่ประเทศไทยใช้รางรถไฟ ขนาด 1 เมตร ส่วนการทำสีภายนอกของตัวรถนั้น จะใช้สี และลายเดิม เพื่อให้ผู้โดยสารได้ความรู้สึกเหมือนนั่งรถไฟบรรยากาศญี่ปุ่น

 

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย
 

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย

 

     รายงานข่าวแจ้งอีกว่า คาดว่าภายในกลางปี 65 จะนำรถไฟดีเซลราง KIHA 183 จำนวน 4 คัน มาทดลองเดินรถให้บริการในการขนส่งผู้โดยสาร โดยเฉพาะการส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งในระยะแรกจะเป็นการทดสอบเชิงวิศวกรรม 

 

     โดยจะวิ่งให้บริการในเส้นทางระยะสั้น ประมาณ 50-60 กิโลเมตร(กม.) ก่อน อาทิ อยุธยา และฉะเชิงเทรา เป็นต้น อย่างไรก็ตามสำหรับรถไฟดีเซลราง KIHA 183 เป็นขบวนรถที่ไม่ต้องใช้หัวรถจักร มีเครื่องยนต์ในตัวแบ่งเป็น 4 ขบวนๆ ละ 4 ตู้ อีก 1 ตู้เป็นรถสำรอง ใน 1 ขบวนมี 216 ที่นั่ง เป็นรถปรับอากาศ เบาะที่นั่งปรับเอนได้ มีห้องน้ำระบบปิด ทำความเร็วได้สูงสุด 100 กม./ชม.

 

     และเมื่อสอบถามแหล่งข่าวถึงปัญหาความล่าช้าในการปรับปรุงรถโดยสารปรับอากาศ JR HOKKAIDO 10 คัน ซึ่งก่อนหน้านี้ รฟท. มีแผนจะประมูลเมื่อเดือน ธ.ค.64 เนื่องจากได้รับมอบรถมาตั้งแต่ปี 59 อีกทั้งเป็นกระแสดราม่าในโซเชียลอยู่ขณะนี้ 

 

     โดยได้รับคำชี้แจงว่า ตั้งแต่รับมอบรถมาปลายปี 59 ได้ตรวจสอบสภาพรถ จากนั้นได้ร่วมกับ TCDC ออกแบบ ใช้เวลาประมาณ 1 ปี เมื่อแล้วเสร็จได้เริ่มเข้าสู่กระบวนการจัดทำร่างเอกสารประกวดราคา(TOR) ใช้เวลาอีกประมาณ 3-4 เดือน ก่อนเข้าสู่ขั้นตอนเผยแพร่ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง 

 

     ซึ่งในขั้นตอนนี้มีการวิจารณ์ถึง 5 รอบใหญ่ในช่วงระยะเวลาเกือบ 3 ปี เมื่อวิจารณ์ก็ต้องปรับปรุงแก้ไข TOR และขึ้นวิจารณ์ใหม่ทุกครั้ง ตามระเบียบจะใช้เวลาประมาณ 4-5 เดือนในการแก้ไขและขออนุมัติขึ้นประกาศเผยแพร่ ทำให้การปรับปรุงรถเกิดความล่าช้า

 

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย

แฉเบื้องลึกดราม่ารถไฟเก่าญี่ปุ่น จอดทิ้ง 6 ปี ถูกจี้ใช้ได้ในปีหน้าเฉย

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลเพจเฟซบุ๊ก Logistics & Development Thailand Forum ข่าวสารการขนส่งและการพัฒนา / Dailynews - ข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์

logoline