svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ขยะพลาสติกแลกข้าวสารช่วยบาหลีสู้พิษโควิด-19

31 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การระบาดของโควิด-19 ส่งผลกระทบที่รุนแรงต่อเกาะบาหลีของอินโดนีเซีย ที่พึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยวเป็นหลักมานาน 2 ปี จนเกิดโครงการพลาสติกแลกข้าวสารเพื่อให้หลายๆ ครอบครัวสามารถยังชีพต่อไปได้

การระบาดของโควิด-19 ทำให้เกาะบาหลีสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมติดอันดับโลกของอินโดนีเซีย ร้างลาจากนักท่องเที่ยวต่างชาติมานานถึง 2 ปี ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและปากท้องของประชาชนที่ต้องพึ่งพารายได้จากการท่องเที่ยว จนกระทั่งเกิดองค์กรการกุศลไม่แสวงกำไรชื่อ "รูพัท" (Rupat) ที่ก่อตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม ปี 2563 โดยชายชื่อ "ไอ เมเด จานูร์ ยาซา" ได้ตั้งโครงการ "Bali Plastic Exchange" ที่นอกจากจะช่วยเหลือในเรื่องปากท้องยังช่วยทำความสะอาดสิ่งแวดล้อม ซึ่งโครงการนี้ไม่มีการโฆษณาแต่อาศัยชาวบ้านบอกต่อกันปากต่อปาก

 

ขยะพลาสติกแลกข้าวสารช่วยบาหลีสู้พิษโควิด-19

โครงการนี้ส่งเสริมให้ประชาชนเก็บขยะพลาสติกไปแลกข้าวสาร และขยะเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นขวด ถุง หรืออื่น ๆ จะถูกส่งไปขายให้บริษัทบนเกาะชวาเพื่อรีไซเคิล รูพัทบอกว่าการขาดรายได้ในขณะที่ราคาอาหารพุ่งขึ้น ทำให้เขากับคนอื่น ๆ มานั่งคิดว่าจะต้องทนกับสภาพแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน แต่ตอนนี้ขยะพลาสติกทุกชิ้นเป็นของมีค่าอย่างยิ่งสำหรับชาวบ้านและเศรษฐกิจบนเกาะ พลาสติก 4 กิโลกรัม แลกข้าวได้ 1 กิโลกรัม

 

ขยะพลาสติกแลกข้าวสารช่วยบาหลีสู้พิษโควิด-19

ข้าวเป็นอาหารหลักของชาวอินโดนีเซีย ราคาข้าวสารตามท้องตลาดราคากิโลกรัมละ 15,000-20,000 รูเปียะห์ (35-46 บาท) ส่วนการบริโภคในครัวเรือนที่มีสมาชิก 4 คน เฉลี่ยวันละ 2 กิโลกรัม ขณะที่ผลการศึกษาในวารสาร Science เมื่อปี 2562 ระบุว่า อินโดนีเซียก่อมลพิษจากพลาสติกในมหาสมุทรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก โครงการพลาสติกแลกข้าวสารได้ช่วยประชาชน 200 หมู่บ้าน หรือราว 40,000 ครอบครัว และรวบขยะได้เกือบ 600 ตัน ภายในเวลา 1 ปี

 

ขยะพลาสติกแลกข้าวสารช่วยบาหลีสู้พิษโควิด-19

logoline