svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ห้ามพลาด ชวนคนไทยชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืน 13 ธ.ค. นี้

11 ธันวาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ห้ามพลาด สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ชวนคนไทยชมปรากฏการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืนวันที่ 13 ธ.ค. นี้ คาดจะตกถี่ 150 ดวงต่อชั่วโมง

     เป็นโอกาสดีของคนไทยและผู้ที่ชื่นชอบการชมปรากฎการณ์ฝนดาวตก โดยในคืนวันที่ 13 ธ.ค. นี้ จะมีปรากฏการณ์ฝนดาวตก เจมินิดส์ เกิดขึ้น โดยล่าสุดวันนี้ เฟชบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์เกี่ยวกับปรากฏการณ์ฝนดาวตก เจมินิดส์  ว่า หลังเที่ยงคืนของวันที่ 13 ธันวาคม ถึง รุ่งเช้าวันที่ 14 ธันวาคม 2564 จะเกิดปรากฏการณ์ ฝนดาวตกเจมินิดส์ หรือ  ฝนดาวตกกลุ่มดาวคนคู่ มีศูนย์กลางกระจายตัวอยู่บริเวณกลุ่มดาวคนคู่ อัตราการตกสูงสุดประมาณ 150 ดวงต่อชั่วโมง กลุ่มดาวคนคู่จะปรากฏขึ้นจากขอบฟ้า ตั้งแต่เวลาประมาณ 20:00 น. ของวันที่ 13 ธันวาคม 2564 ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
 

ห้ามพลาด ชวนคนไทยชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืน 13 ธ.ค. นี้

     อย่างไรก็ตาม ในคืนดังกล่าวจะมีแสงรบกวนจากดวงจันทร์ข้างขึ้น 10 ค่ำ ในช่วงแรกของปรากฏการณ์ แนะนำให้ชมหลังดวงจันทร์ลับขอบฟ้าแล้ว เวลาประมาณ 02:00 น. ของวันที่ 14 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไปจนถึงรุ่งเช้า สถานที่ชมฝนดาวตกควรเลือกสถานที่มืดสนิท ไม่มีแสงไฟรบกวน และสามารถมองเห็นได้รอบทิศ ควรนอนชมด้วยตาเปล่า เนื่องจากฝนดาวตกกระจายทั่วท้องฟ้า 

 

ห้ามพลาด ชวนคนไทยชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืน 13 ธ.ค. นี้
 

     ปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ เกิดขึ้นในช่วงวันที่ 4-17 ธันวาคมของทุกปี เกิดจากการที่โลกเคลื่อนที่เข้าตัดกับสายธารของเศษหิน และเศษฝุ่นขนาดน้อยใหญ่ที่ดาวเคราะห์น้อย 3200 เฟธอน (3200 Phaethon) ทิ้งไว้ในขณะเคลื่อนผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน เมื่อโลกโคจรผ่านเส้นทางดังกล่าว แรงดึงดูดของโลกจะดึงฝุ่นและหินเข้ามาเผาไหม้ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดเป็นลำแสงวาบ หรือในบางครั้งเกิดเป็นลูกไฟขนาดใหญ่เรียกว่า (Fireball) ฝนดาวตกแตกต่างจากดาวตกทั่วไป คือ เป็นดาวตกที่มีทิศทางเหมือนมาจากจุดๆ หนึ่งบนท้องฟ้า เรียกว่า จุดศูนย์กลางการกระจาย (Radiant) เมื่อจุดศูนย์กลางการกระจายตรงหรืออยู่ใกล้เคียงกับกลุ่มดาวใด ก็จะเรียกชื่อฝนดาวตกตามกลุ่มดาวนั้นๆ

 

ห้ามพลาด ชวนคนไทยชมปรากฏการณ์ฝนดาวตกเจมินิดส์ คืน 13 ธ.ค. นี้

 

ขอบคุณภาพและข้อมูลเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ 

logoline