svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนา ไวรัสสายพันธุ์เดลต้าในญี่ปุ่นหายไปไหนหมด

22 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากที่เคยระบาดวันละกว่า 20,000 คน ผ่านไปไม่กี่เดือน ยอดการระบาดลดลงเหลือแค่หลัก 100 ทำให้หลายฝ่ายสงสัยว่าเกิดอะไรในญี่ปุ่น ทำไมไวรัสโคโรนาสายพันธุ์เดลต้าในญี่ปุ่นจึงพากันหายหน้าไปในเวลาอันรวดเร็ว

คลื่นระลอกที่ 5 ของโควิด-19 ในญี่ปุ่นได้หายหน้าไปอย่างน่าประหลาดใจเสียจนนักวิทยาศาสตร์บางคนถึงกับงงว่าทำไมมันถึงเกิดขึ้น ขณะที่นักวิทยาศาสตร์ทีมหนึ่งชี้ว่าไวรัสสายพันธุ์เดลต้าที่ทำให้ติดเชื้อได้สูงนั้น ได้กลายพันธุ์เสียจนสูญพันธุ์ไปบนประเทศที่เป็นเกาะแห่งนี้

 

เมื่อช่วงกลางเดือนสิงหาคม ญี่ปุ่นพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงสุด โดยมีผู้ป่วยรายใหม่มากกว่า 23,000 รายต่อวัน แต่ตอนนี้ตัวเลขอยู่ที่ประมาณ 170 คน ส่วนผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ส่วนใหญ่ ก็ลดลงเหลือเลขหลักเดียวในเดือนนี้

 

การลดลงนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากอัตราการฉีดวัคซีนที่สูง การยอมรับหน้ากากอนามัยของสาธารณชน และปัจจัยอื่น ๆ แต่นักวิจัยบางคนบอกว่าการลดลงนั้นมากแบบไม่เคยพบที่ไหน เมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ ที่มีสภาวะคล้ายคลึงกัน

 

อิตูโร อิโนอุเอะ นักพันธุศาสตร์จากสถาบันพันธุศาสตร์แห่งชาติ เชื่อว่าญี่ปุ่นโชคดีที่ได้เห็นสายพันธุ์เดลต้าซึ่งส่วนใหญ่กำจัดไวรัส SARS-CoV-2 สายพันธุ์อื่น ๆ ได้กำจัดตัวมันเอง เขาอธิบายทฤษฎีของทีมกับหนังสือ พิมพ์ Japan Times ในสัปดาห์นี้

นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนา ไวรัสสายพันธุ์เดลต้าในญี่ปุ่นหายไปไหนหมด

 

 

เป็นระยะเวลาช่วงหนึ่งแล้ว ที่เขาและเพื่อนนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นคว้าทดลองเรื่องการการกลายพันธุ์ของ SARS-CoV-2 และผลกระทบจากโปรตีน nsp14 ซึ่งมีความสำคัญต่อการแพร่พันธุ์ของไวรัส

 

ไวรัส RNA แบบเดียวกับที่ก่อให้เกิดโรคโควิด-19 มักจะมีอัตราการกลายพันธุ์ที่สูงมาก ซึ่งช่วยให้พวกมันปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมได้อย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นการเปิดประตูสำหรับสิ่งที่เรียกว่า "หายนะจากข้อผิดพลาด" เมื่อมีการกลายพันธุ์ที่ไม่ดี ในที่สุดก็ทำให้เกิดการสูญพันธุ์อย่างสมบูรณ์ โดยโปรตีน nsp14 เป็นตัวที่ทำให้เกิดความผิดพลาด 

 

ในกรณี คลื่นระลอกที่ 5 ของโควิด-19ของญี่ปุ่น nsp14 ของไวรัสสายพันธุ์เดลต้าล้มเหลวในการทำงานของมัน 

 

อิโนอุเอะบอกว่าการศึกษาทางพันธุกรรมของตัวอย่างที่รวบรวมมาตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงตุลาคม ออกมาตรงกันข้ามกับความคาดหวังของทีมของเขา คือมันขาดความหลากหลายทางพันธุกรรม ในขณะที่ตัวอย่างจำนวนมากมีการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมมากมายในจุดที่เรียกว่า A394V ซึ่งเชื่อมโยงมันกับโปรตีนที่แก้ไขข้อผิดพลาด

นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนา ไวรัสสายพันธุ์เดลต้าในญี่ปุ่นหายไปไหนหมด

 

 

" เราตกใจมากเมื่อเห็นการค้นพบนี้ สายพันธุ์เดลต้าในญี่ปุ่นสามารถแพร่เชื้อได้สูงและเคยกันไวรัสสายพันธุ์อื่น ๆ ให้ออกไป แต่เมื่อมีการกลายพันธุ์เพิ่มขึ้น เราเชื่อว่าในที่สุดมันก็กลายเป็นไวรัสที่ผิดพลาด และมันก็ไม่สามารถทำสำเนาตัวเองได้ "

 

ทฤษฎีนี้อาจคล้ายกันกับไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคซาร์ส ซึ่งในปี 2546 มีคำอธิบายว่าเหตุใดมันจึงไม่ทำให้เกิดการระบาดใหญ่ แต่นั่นก็ถือว่าใช้ยืนยันได้ยาก เนื่องจากการระบาดสิ้นสุดลงค่อนข้างเร็ว ทำให้ไม่มีการรวบรวมข้อมูลทางพันธุกรรมมที่จำเป็นกับการใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน

 

ไม่ชัดเจนว่าทำไมญี่ปุ่นถึงโชคดีเช่นนี้ แต่ไม่มีอะไรแบบนี้เกิดขึ้นกับประเทศอื่นๆ ในเอเชียตะวันออก อย่างเช่น เกาหลีใต้ ซึ่งประชากรมีพันธุกรรมใกล้เคียงกับญี่ปุ่น อิโนอุเอะบอกว่าการกลายพันธุ์ของไวรัสคล้ายกับที่นักวิทยาศาสตร์ระบุ ถูกค้นพบในอย่างน้อย 24 ประเทศ เขาและทีมวางแผนที่จะเผยแพร่บทความที่มีรายละเอียดการค้นพบภายในสิ้นเดือนพฤศจิกายน

 

แม้ว่าทฤษฎีการสูญพันธุ์ตามธรรมชาติจะได้รับการยืนยัน แต่มันก็เป็นการบรรเทาแค่ชั่วคราวสำหรับคนญี่ปุ่น เพราะเชื่อว่าสายพันธุ์ใหม่ที่ประสบความสำเร็จมากกว่า มีแนวโน้มที่จะหาทางเข้ามาในประเทศได้ในที่สุด แม้ว่ามาตรการกักกันและการควบคุมการย้ายถิ่นฐาน อาจทำให้การเกิดขึ้นของสายพันธุ์ใหม่ในญี่ปุ่นมีความล่าช้าลง

 

ในขณะเดียวกัน โตเกียวก็เตรียมพร้อมสำหรับคลื่นลูกใหม่ของโควิด-19 ในฤดูหนาวนี้และกำลังเตรียมที่จะอยู่ร่วมกับไวรัส มีรายงานว่ารัฐบาลมีแผนที่จะผ่อนคลายข้อจำ กัดการเดินทาง โดยเพิ่มจำนวนคนที่อนุญาตให้เข้าประเทศต่อวันจาก 3,500 เป็น 5,000 คน 

นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนา ไวรัสสายพันธุ์เดลต้าในญี่ปุ่นหายไปไหนหมด

 

 

logoline