svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ดีลประวัติศาสตร์ "ทรู - ดีแทค" เซ็น MOU ร่วมทุนตั้งบริษัท

22 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

DTAC - TRUE เซ็น MOU แผนต่อไปควบรวม หาข้อสรุปความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน พร้อมเสริมธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ การสร้างดิจิทัลอีโคซิสเต็ม กองทุนสตาร์ทอัพ สอดรับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0

22 พฤศจิกายน 2564 เครือเจริญโภคภัณฑ์ (เครือซีพี) และ กลุ่มเทเลนอร์ ได้เซ็น MOU พร้อมประกาศการพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) ผ่านการสนับสนุนให้บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (TRUE) และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) (DTAC) ตั้งเป้าปรับโครงสร้างธุรกิจสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี (Technology Company)

 

ในระหว่างการศึกษาและพิจารณาการปรับโครงสร้างครั้งนี้ ธุรกิจของทรู และดีแทค จะยังคงดำเนินไปตามปกติของแต่ละบริษัท ในขณะที่เครือซีพี ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของทรู และกลุ่มเทเลนอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของดีแทค ตั้งเป้าที่จะหาข้อสรุปในรายละเอียดของความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน (Equal Partnership) ซึ่งจะส่งผลให้ เครือซีพีและกลุ่มเทเลนอร์ ถือหุ้นเท่าเทียมกันในบริษัทใหม่ ที่จะร่วมกันสร้างขึ้น

 

 นอกจากนี้ ทรูและดีแทคจะดำเนินการตามเงื่อนไขต่าง ๆ ทั้งการตรวจสอบกิจการของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วเสร็จเป็นที่พอใจ (Due Diligence) การขออนุมัติที่เกี่ยวข้องจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทและผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัท ตลอดจนการดำเนินขั้นตอนตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ให้แล้วเสร็จ

 

นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ และประธานกรรมการ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ภาพรวมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (Telecom Landscape) ได้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จากเทคโนโลยีใหม่ และตลาดที่เปิดกว้างต่อการแข่งขัน โดยผู้ประกอบการจากอุตสาหกรรมดิจิทัลขนาดใหญ่ในระดับภูมิภาคเข้ามาเสนอรูปแบบบริการดิจิทัลมากขึ้น

 

จากปัจจัยเหล่านี้ทำให้ผู้ประกอบการโทรคมนาคม ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว นอกเหนือจาก การพัฒนาการให้บริการเครือข่าย (Connectivity) แล้ว ยังต้องเสริมศักยภาพและความรวดเร็ว ในการสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) จากโครงข่ายการสื่อสารและส่งมอบเทคโนโลยี นวัตกรรมใหม่ให้กับลูกค้า ซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ทำให้การปรับโครงสร้าง (Transformation) ของบริษัทไทยสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี ให้สามารถแข่งขันกับผู้เล่นชั้นนำระดับโลกได้นั้น ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

 

ดีลประวัติศาสตร์ "ทรู - ดีแทค" เซ็น MOU  ร่วมทุนตั้งบริษัท

“การปรับโครงสร้างสู่การเป็นบริษัทเทคโนโลยี สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 ที่จะก้าวเป็นฮับของเทคโนโลยีในระดับภูมิภาค โดยโทรคมนาคม (Telecom) จะยังคงเป็นธุรกิจหนึ่งของโครงสร้าง และจะต้องพัฒนาธุรกิจเพิ่มเติมในส่วนที่มุ่งเน้นด้านเทคโนโลยี รวมไปถึงปัญญาประดิษฐ์ ระบบคลาวด์เทคโนโลยี ไอโอที อุปกรณ์อัจฉริยะ เมืองอัจฉริยะ ดิจิทัลมีเดียโซลูชั่น

 

และปรับโครงสร้างเพื่อให้สนับสนุนการลงทุนในบริษัทเทคโนโลยี (Tech Startup) โดยการจัดตั้ง Venture Capital ที่มุ่งเน้นลงทุนในสตาร์ทอัพไทย และสตาร์ทอัพต่างประเทศ ที่ตั้งในประเทศไทย นอกจากนี้ เรายังมีแผนที่จะศึกษาด้านเทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) เพื่อนำมาปรับใช้กับธุรกิจ ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดกว้างกรอบความคิดในการทำนวัตกรรมใหม่เพิ่มเติมด้วยเช่นกัน”

 

นายศุภชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า การก้าวสู่บริษัทเทคโนโลยี คือกุญแจสำคัญที่จะทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาแบบก้าวกระโดด และสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กระจายไปทั่วประเทศได้ ซึ่งในฐานะบริษัทไทย บริษัทฯมุ่งมั่นที่จะเป็น ส่วนหนึ่งในการช่วยปลดล็อกศักยภาพที่มีอยู่อย่างมหาศาลของธุรกิจไทยและผู้ประกอบการดิจิทัลไทย รวมทั้งยังจะสามารถดึงดูดคนที่เก่งที่สุดและธุรกิจล้ำสมัยจากทั่วโลกให้มาทำธุรกิจ ในประเทศไทยได้อีกด้วย

 

“วันนี้ เป็นการก้าวไปข้างหน้าอีกหนึ่งก้าวตามแนวทางดังกล่าว โดยเราหวังว่า จะเป็นส่วนเสริมพลังให้กับคนรุ่นใหม่ทั้งหมด และสร้างงานด้านเทคโนโลยี ในการเติมเต็มและดึงเอาศักยภาพ ให้เป็นผู้ประกอบการที่ส่งมอบมูลค่าเพิ่มผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้วยการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานทางด้านโทรคมนาคมดิจิทัลที่ล้ำสมัยนี้”

 

ด้านนายซิคเว่ เบรกเก้ ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทเลนอร์ เปิดเผยเกี่ยวกับดีลครั้งนี้ว่า บริษัทใหม่นี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการต่อยอด ยกระดับประเทศไทย ไปสู่การเป็นผู้นำในโลกดิจิทัลได้ ด้วยการผนวกความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้ากับการบริการที่ดึงดูดลูกค้า พร้อมนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ

 

 ขณะที่นายเยอเก้น โรสทริป รองประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหารภูมิภาคเอเซีย กลุ่มเทเลนอร์ กล่าวว่า ข้อตกลงในครั้งนี้จะช่วยขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ในการเสริมสร้างฐานบริษัทฯในเอเชียให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างคุณค่า และพัฒนาตลาดในภูมิภาคนี้ต่อไปในระยะยาว

 

ดีลประวัติศาสตร์ "ทรู - ดีแทค" เซ็น MOU  ร่วมทุนตั้งบริษัท

 

 "เรามีความมุ่งมั่นและพันธกิจต่อทั้งประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียมาอย่างยาวนาน และความร่วมมือครั้งนี้ก็จะเสริมความมุ่งมั่นและพันธกิจนี้ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น การที่เราสามารถเข้าถึงทั้งเทคโนโลยีใหม่ ๆ และทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพดีที่สุด จะเป็นปัจจัยเสริมที่สำคัญสำหรับบริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้นในครั้งนี้”

 

นายเยอเก้นกล่าวเพิ่มเติมว่า บริษัทใหม่ที่จะจัดตั้งขึ้น จะตั้งกองทุนมูลค่าประมาณ 100 – 200 ล้านเหรียญสหรัฐ ขึ้นมาเพื่อสนับสนุนส่งเสริมผู้ประกอบการและสตาร์ทอัพบนแพลตฟอร์มดิจิทัล เน้นการสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เพื่อประโยชน์แก่ผู้บริโภคในประเทศไทย

 

การร่วมมือกันในครั้งนี้ เครือซีพีและ กลุ่มเทเลนอร์ มั่นใจว่า การพิจารณาสร้างความร่วมมืออย่างเท่าเทียมกัน ในครั้งนี้จะสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคและประชาชนไทย ซึ่งจะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีของภูมิภาค ตามยุทธศาสตร์ของประเทศไทยได้สำเร็จตามเป้าหมาย

 

 

ดีลประวัติศาสตร์ "ทรู - ดีแทค" เซ็น MOU  ร่วมทุนตั้งบริษัท

 

 

แจ้งรายละเอียด ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)  ได้แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ว่าบริษัทขอแจ้งให้ทราบว่าที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 8/2564 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 ได้มีมติที่สำคัญ ดังต่อไปนี้

 

1. อนุมัติให้บริษัทฯ ทำการศึกษาความเป็นไปได้ และ ดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการควบบริษัทระหว่างบริษัทฯ และ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ dtac ภายใตับทบัญญัติของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม) ("พ.ร.บ. บริษัทมหาชน")("การควบบริษัท") และ อนุมัติให้บริษัทฯ เข้าทำบันทึกความตกลงเบื้องตันแบบไม่มีผลผูกพัน

(Non-Binding Memorandum of Understanding) (MOU) กับ dtac เพื่อบันทึกความประสงค์ของ

คู่สัญญาในการพิจารณาและศึกษาการรวมธุรกิจระหว่างบริษัทฯ และ dtac เข้าด้วยกันด้วยวิธีการควบบริษัท

(Amalgamation) รวมถึงกำหนดเงื่อนไขบังคับก่อนของการควบบริษัทชั่งรวมถึง (แต่ไม่จำกัดเพียง)

(1)บริษัทฯ และ dtac ทำการตรวจสอบกิจการ (Due Diligence) ของอีกฝ่ายหนึ่งแล้วเสร็จเป็นที่พอใจ

(2) ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และ dtac ได้พิจารณาและมีมติอนุมัติการควบบริษัท และ

(3) บริษัทฯ และ dtac สามารถดำเนินการให้เงื่อนไขอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องสำเร็จครบถ้วนตามที่ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และ dtac จะได้พิจารณากำหนดต่อไปในการพิจารณาอนุมัติการควบบริษัทและในการเข้าทำสัญญาควบรวมกิจการสำหรับการควบบริษัทระหว่างบริษัทฯ และ dtac

 

ดีลประวัติศาสตร์ "ทรู - ดีแทค" เซ็น MOU  ร่วมทุนตั้งบริษัท

 

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้พิจารณากำหนดอัตราการจัดสรรหุ้น (Swap Ratio) สำหรับการจัดสรรหุ้นใน

บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบบริษัท ("บริษัทใหม่") ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของ dtac

ในอัตราส่วนดังนี้

1 หุ้นเดิมในบริษัทฯ ต่อ 2.40072 หุ้นในบริษัทใหม่ และ

1 หุ้นเดิมใน dtac ต่อ 24.53775 หุ้นในบริษัทใหม่

 

อัตราการจัดสรรหุ้นข้างตันกำหนดขึ้นจากสมมุติฐานว่า ภายหลังการควบบริษัท บริษัทใหม่จะมีหุ้น

ที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมด จำนวน 138,208, 403,204 หุ้น โดยมีมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท

 

อย่างไรก็ตาม จำนวนหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดและมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของบริษัทใหม่

ภายหลังการควบบริษัทจะมีการเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นร่วมของบริษัทฯ และ dtac พิจารณาอนุมัติ

ตามขั้นตอนของการควบบริษัทต่อไป

 

ทั้งนี้ การควบบริษัทและการจัดสรรหุ้นในบริษัทใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และ ผู้ถือหุ้นของ dtac

ตามอัตราการจัดสรรหุ้นดังกล่าวข้างตัน จะเกิดขึ้นต่อเมื่อบริษัทฯ และ dtac พิจารณาที่จะดำเนินการ

ควบบริษัทต่อไปโดยได้รับการอนุมัติที่เกี่ยวข้องจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น

ของบริษัทฯ และ dtac ตลอดจนสามารถดำเนินการให้เงื่อนไขและขั้นตอนตามกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการควบบริษัทตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.บริษัทมหาชน กฎหมาย และ กฎเกณฑ์อื่นๆ สำเร็จลงอย่างครบถ้วน ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงการได้รับอนุมัติและผ่อนผันจากหน่วยงานราชการ และหน่วยงานกำกับดูแลตามที่กฎหมายกำหนด หรือเพื่อวัตถุประสงค์ในการรักษาไว้ชื่งสิทธิและผลประโยชน์ของบริษัทฯ และ การดำเนินการขออนุญาตในการนำหุ้นของบริษัทใหม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้สำเร็จ

 

 

2. รับทราบจากบริษัท ชิทริน โกลบอล จำกัด ("Citrine Global"หรือ "ผู้ทำคำเสนอซื้อ" ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน (Joint Venture Company) ระหว่าง บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลตั้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ และ Telenor Asia ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ dtac ว่า Citrine Global มีความประสงค์ที่จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทฯ

 

โดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไขก่อนการทำคำเสนอซื้อในราคาเสนอซื้อหุ้นละ 5.09 บาท ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (รวมทั้งที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม) ("การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจ" ในการนี้ ผู้ทำคำเสนอซื้ออาจดำเนินการจัดตั้งบริษัทย่อยที่ผู้ทำคำเสนอซื้อเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมดเพื่อให้บริษัทดังกล่าวเข้าทำคำเสนอซื้อร่วมกันในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจด้วย

 

ดีลประวัติศาสตร์ "ทรู - ดีแทค" เซ็น MOU  ร่วมทุนตั้งบริษัท

 

อย่างไรก็ดี ผู้ทำคำเสนอซื้อสงวนสิทธิในการปรับลดราคาเสนอซื้อในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจดังกล่าวในกรณีที่มีเหตุการณ์หรืการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้เกิดขึ้น

( 1 ) กรณีที่มีเหตุการณ์หรือการกระทำใด ๆ อันเป็นเหตุหรืออาจเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อฐานะหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ

(2) กรณีที่บริษัทฯ มีการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น

(3) กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ของบริษัทฯ อันเป็นผลให้จำนวนหุ้นของบริษัทฯเพิ่มขึ้นหรือลดลง

(4) กรณีที่มีการให้สิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนหรือใบแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นเพิ่มทุนที่โอนสิทธิได้แก่ผู้ถือหุ้นตามสัดส่วนจำนวนหุ้นที่ถืออยู่เดิม หรือ

(5) กรณีอื่นใดภายใต้หลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ซึ่งอนุญาตให้ปรับลดราคาเสนอซื้อได้การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหุ้นเติมของบริษัทฯ ที่ไม่ประสงค์จะถือหุ้นในบริษัทใหม่สามารถขายหุ้นของตนในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจได้การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจดังกล่าว จะเกิดขึ้นต่อเมื่อเงื่อนไขก่อนการทำคำเสนอซื้อตังต่อไปนี้สำเร็จครบถ้วน (หรือได้รับการผ่อนผันโดยผู้ทำคำเสนอซื้อ) ("เงื่อนไขก่อนการทำคำเสนอซื้อ")

(1 ) ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของ dtac มีมติอนุมัติการควบบริษัท

(2) ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท และ ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ มีมติอนุมัติการควบบริษัท

(3)  dtac และ บริษัทฯ ได้เข้าทำสัญญาควบรวมกิจการสำหรับการควบบริษัท

(4)  บริษัทฯ และ dtac ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับเอกสาร แผน นโยบาย และการแต่งตั้งบุคลากรต่าง ๆ ของบริษัทใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการควบบริษัท

(5) การได้รับอนุมัติ ความยินยอม การผ่อนผัน การยื่นเอกสาร และ การอนุญาตที่จำเป็นสำหรับการควบบริษัทจากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้องสำเร็จครบถ้วน และ มีซ้อกำหนดและเงื่อนไขที่บริษัทฯ และ dtac ยอมรับได้ และ ไม่ได้มีการเพิกถอนการยื่นเอกสาร การอนุมัติความยิมยอม การผ่อนผัน และ การอนุญาตดังกล่าว

(6 ) การได้รับความยินยอมและการผ่อนผันที่จำเป็นสำหรับการควบบริษัทจากบุคคลภายนอกสำเร็จครบถ้วน และ ไม่ได้มีการเพิกถอนความยินยอมและการผ่อนผันดังกล่าว และ/หรือได้มีการปฏิบัติตามภาระหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจนเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งส่งผลให้ไม่มีความจำเป็นต้องได้รับความยินยอมหรือการผ่อนผันดังกล่าวอีก

(7) การไม่มีเจ้าหนี้คัดค้านการควบบริษัทตามมาตรา 147 แห่ง พ.ร.บ.บริษัทมหาชน หรือในกรณีที่มีการคัดค้าน ได้มีการดำเนินการชำระหนี้หรือให้ประกันเพื่อหนี้ดังกล่าวนั้นแล้ว และ

(8) นับแต่วันที่ประกาศเจตนาในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจ จนถึงวันที่เงื่อนไขก่อนการทำคำเสนอซื้ออื่น ๆ ข้างตันทั้งหมดได้สำเร็จลง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือเหตุการณ์ใดๆ อันเป็นเหตุหรืออาจคาดหมายได้อย่างสมเหตุสมผลว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อฐานะหรือทรัพย์สินของบริษัทฯ หรือ dtac โดยการเปลี่ยนแปลงหรือเหตุการณ์ดังกล่าวมิได้เกิดจากการกระทำของผู้ทำคำเสนอซื้อ หรือการกระทำที่ผู้ทำคำเสนอซื้อต้องรับผิดชอบ

 

 

ดีลประวัติศาสตร์ "ทรู - ดีแทค" เซ็น MOU  ร่วมทุนตั้งบริษัท

 

 ทางด้าน บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ dtac  แจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่า บริษัทรับทราบจาก Telenor Asia Pte Ltd ("Telenor Asia") ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ ถึงความประสงค์ของTelenor Asia ในการสนับสนุนการที่บริษัทฯ พิจารณาดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้และดำเนินการตามขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการควบบริษัท

 

นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทรับทราบจาก บริษัท ชิทริน โกลบอล จำกัด ("Citine Global" หรือ "ผู้ทำคำเสนอซื้อ") ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุน (Joint Venture Company) ระหว่าง Telenor Asia และ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ True ว่า

 

Citrine Global มีความประสงค์ที่จะทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทฯ โดยสมัครใจแบบมีเงื่อนไขก่อนการทำคำเสนอซื้อ ในราคาเสนอซื้อหุ้นละ 47.76 บาท ตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน ที่ ทจ. 12/2554 เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการในการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ (รวมทั้งที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติม) ("การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจ")

 

ในการนี้ ผู้ทำคำเสนอซื้ออาจดำเนินการจัดตั้งบริษัทย่อยที่ผู้ทำคำเสนอซื้อเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด เพื่อให้บริษัทดังกล่าวเข้าทำคำเสนอซื้อร่วมกันในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์โดยสมัครใจด้วย

 

อ้างอิง :

truecorp

กรุงเทพธุรกิจ

logoline