svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

84นักวิชาการแถลงการณ์-ศาลรธน.ตัดสินบน"ความรู้ไม่ถูกต้อง"

17 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เชียงใหม่​ - 84 นักวิชาการ ร่วมกันลงชื่อออกแถลงการณ์ ร่ายยาวกรณีศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดีล้มล้างการปกครอง ในข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ของม็อบ 3 นิ้ว ชี้คำตัดสินในครั้งนี้ตั้งอยู่บนความรู้ที่ไม่ถูกต้อง

วันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจเฟซบุ๊ก “ศูนย์วิจัยฯ มหาวิทยาลัยหน้าบางแห่งหนึ่ง” ได้มีการโพสต์แถลงการณ์ “กรณีศาลรัฐธรรมนูญตัดสินคดีล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” โดยมีนักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ จำนวน 84 คน ลงชื่อรับรองแถลงการณ์นี้

 

84นักวิชาการแถลงการณ์-ศาลรธน.ตัดสินบน"ความรู้ไม่ถูกต้อง"

โดยแถลงการณ์ดังกล่าว ระบุว่า คำวินิจฉัยฉบับเต็มที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านในห้องพิจารณาคดี เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 ระบุว่า "โดยบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญปี 2475 เห็นได้ชัดว่าประวัติศาสตร์การปกครองของไทย อำนาจการปกครองเป็นของพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด นับตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา ตลอดจนกรุงรัตนโกสินทร์”

 

84นักวิชาการแถลงการณ์-ศาลรธน.ตัดสินบน"ความรู้ไม่ถูกต้อง"

ถึงแม้จะมีข้อความต่อมาว่า “พระมหากษัตริย์จึงเป็นที่เคารพศรัทธา ศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยมาโดยตลอดหลายร้อยปี แม้เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475 คณะราษฎรผู้ก่อการ และประชาชนชาวไทย เห็นพ้องต้องกันอันเชิญพระมหากษัตริย์เป็นสถาบันหลักคงอยู่กับระบอบประชาธิปไตย โดยเรียกว่าระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และราชอาณาจักรคงไว้ซึ่งระบอบนี้ต่อเนื่อง” แต่ก็เห็นได้ชัดถึงความพยายามที่จะเน้นแต่ความสำคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ที่มีความสืบเนื่องจากอดีต “โดยตลอดหลายร้อยปี...ต่อเนื่อง” โดยละเลยส่วนที่เป็น “ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย” อันเป็นสาระสำคัญของการ “เปลี่ยนแปลงการปกครองในปี 2475” จึงถือได้ว่าเป็นการตีความและให้ความหมายที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงในประวัติศาสตร์

 

ถ้าหากสังคมไทยไม่ตระหนักร่วมกันว่าคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้วางอยู่บนความรู้ทางประวัติศาสตร์ที่ไม่ซื่อตรงต่อประวัติศาสตร์ คำตัดสินที่เกิดขึ้นก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานของการให้ความหมายแก่ “ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” และจะมีผลโดยตรงต่อการพิจารณาพิพากษาคดีของศาลอื่นๆ ในภายหน้า 

 

     การตัดสินคดีที่มีความสำคัญอย่างยิ่งโดยอ้างอิงความรู้ทางประวัติศาสตร์เช่นนี้ จึงไม่เพียงแต่จะทำลายหลักการของระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนเท่านั้น หากแต่ยังทำลายอนาคตของสังคมไทยลงไปด้วยเพราะจะนำไปสู่วิกฤตทางการเมืองสืบต่อไปอีกนาน และลดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมของไทย จนสูญเสียความมั่นใจในความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินทั้งในหมู่คนไทยเองและในสายตาชาวโลก อันจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เป็นผลประโยชน์ของประเทศ 

 

     ในอดีตที่ผ่านมา แม้แต่ปัญญาชนที่ถูกจัดให้เป็น “ฝ่ายอนุรักษ์นิยม” ก็ยังยอมรับว่าประเพณีการปกครองของไทยมิได้หยุดนิ่ง หากแต่มีความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมมาโดยตลอด ดังตัวอย่างต่อไปนี้ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงพระนิพนธ์ว่าตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึง พ.ศ.2475 “ลักษณะแห่งพระมหากษัตริย์เปลี่ยนแปลงในทางจะให้เหมาะสมกับสมัยปัจจุบัน อันโลกย่อมอนุโลมเข้าหาแบบแผนทางยุโรปมากขึ้นทุกที” (กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร, 2507. น. 271) หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์ เขียนว่า “การปกครองประเทศสยามขณะนี้ แท้จริงมีลักษณะประชาธิปตัย (Democracy) คือการปกครองโดยราษฎรมากกว่าอย่างอื่น หากแต่เรายังคงมีกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศเท่านั้น” (หลวงจักรปาณีศรีศีลวิสุทธิ์, 2475. น. 17) 

 

     กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงแสดงสุนทรพจน์ว่า “ลัทธิที่นิยมกำลังน้ำใจของประชาชนทั้งชาตินี้แหละ คือลัทธิประชาธิปตัย ซึ่งนิยมว่าประชาชนเป็นใหญ่ ระบอบประชาธิปตัยนี้มีรูปแบบต่าง ๆ กัน แต่รูปแบบที่ได้ตั้งขึ้นในประเทศสยามนี้เป็นรูปสายกลาง” (หม่อมเจ้าวรรณไวทยากร, “สุนทรพจน์ท่านวรรณ” หนังสือพิมพ์ประชาชาติ 27 มิถุนายน 2477. อ้างใน นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. “พลังของแนวคิดชาติ-ชาตินิยมกับการเมืองไทยในสมัยแรกเริ่มของรัฐประชาชาติ” รัฐศาสตร์สาร 21, 3 (2542): 88) 

 

     อนึ่ง หน้าที่ประการหนึ่งของศาลรัฐธรรมนูญที่ได้รับการบัญญัติไว้คือ การกำหนดจริยธรรมให้องค์กรอื่นๆ ต้องปฏิบัติตาม ศาลรัฐธรรมนูญเองจึงควรจะยึดถือจริยธรรมอันเป็น “ประเพณีนิยมหรือจรรยามารยาทในระบอบประชาธิปไตย” อย่างมั่นคง กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ได้ทรงอธิบายเรื่องนี้ไว้ว่า “ประเพณีนิยมแห่งชาตินี้...แปรรูปมาจากพระราชนิยม...ดัดแปลงให้เหมาะสมแก่กาลสมัยประชาธิปไตย คืออาศัยอำนาจมติมหาชน แทนที่จะอาศัยอำนาจมติพระมหากษัตริย์...รัฐบาลก็ย่อมสอดส่องสังเกตทางโน้มน้าวแห่งมติมหาชนเป็นที่ตั้ง และให้มติมหาชนแสดงความประสงค์จะให้มีประเพณีนิยมที่ดีที่ชอบ เพื่อความวัฒนาของชาติ” (พลตรี กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์, “รัฐนิยม” ใน ชุมนุมพระนิพนธ์ของท่านวรรณฯ หน้า 4-5) 

 

     ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา ความหมายของ “ประชาธิปไตย” ที่ฝ่ายต่างๆ ในสังคมไทยไม่อาจปฏิเสธได้ ก็คือ การปกครองที่ยึดหลักการอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน รวมทั้งหลักการสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย โดยที่ทุกคนในรัฐย่อมได้รับความคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ รัฐสภา และศาล หากศาลใดๆ ละเมิดหลักการดังกล่าวนี้ ก็ย่อมหมดสิ้นความชอบธรรมที่จะใช้อำนาจและย่อมจะกลายเป็นผู้ล้มล้าง “ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข” เสียเอง เพราะละเลยส่วนที่เป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย เชิดชูแต่หลักการของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ 

 

     การตัดสินคดีที่ใช้ “ประวัติศาสตร์” อย่างไม่เคารพความเป็นจริงทางประวัติศาสตร์ ดังที่เกิดขึ้นนี้ จึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นสถาบันในระบอบประชาธิปไตยควรจะมี “ความรับผิด” (accountability) ตามหลักธรรมาภิบาล ศาลอื่นๆ ไม่ควรตัดสินคดีโดยอ้างอิงคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ และควรมีการแก้ไขบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญยึดโยงกับหลักการอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย มิใช่มาจากการรับรองของวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน 

 

      คณะนักวิชาการที่มีรายชื่อข้างท้ายนี้ จึงใคร่ขอเรียกร้องให้สังคมไทยร่วมกันปฏิเสธคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ.2564 เพราะเมื่อมีรากฐานอยู่บน “ความรู้ที่ไม่ถูกต้อง” ก็ย่อมทำให้มีสถานะเป็น “คำตัดสินที่ไม่ถูกต้อง” ตามไปด้วย

 

    สำหรับรายชื่อนักวิชาการที่ร่วมลงชื่อในแถลงการณ์นี้ทั้ง 84 คน ประกอบด้วย 1.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ (เกษียณ) 2. ไชยันต์ รัชชกูล 3. ชาตรี ประกิตนนทการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปากร 4. ฉลอง สุนทราวาณิชย์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ (เกษียณ)5. ธงชัย วินิจจะกูล 6. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 7. นิติ ภวัครพันธุ์ ภาควิชามานุษยวิทยา จุฬาลงกรณ์ฯ (เกษียณ) 8. ประภาส ปิ่นตบแต่ง รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ 9. ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี คณะสังคมศาสตร์ เชียงใหม่ 10. พวงทอง ภวัครพันธ์ ภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จุฬาลงกรณ์ฯ 

 

11. สายชล สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ เชียงใหม่ 12. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ เชียงใหม่ 13. กนกรัตน์ สถิตนิรามัย รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ 14. กฤษณพชร โสมณวัตร คณะนิติศาสตร์ เชียงใหม่ 15. กำพล จำปาพันธุ์ นักวิชาการอิสระประวัตศาสตร์ 16. กิตติศักดิ์ สุจิตตารมย์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ เชียงใหม่ 17. เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ เชียงใหม่ 18. เกษม เพ็ญภินันท์ ภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์ฯ 19. ขวัญชนก กิตติวาณิชย์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ เชียงใหม่ 20. เคท ครั้งพิบูลย์ คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 

 

21. จตุรงค์ บุณยรัตนสุนทร 22. จักรพันธ์ แสงทอง คณะศิลปศาสตร์ อุบลราชธานี 23. จักเรศ อิฐรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ อุบลราชธานี 24. จิตติมา สกุลเจียมใจ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ 25. จิราพร เหล่าเจริญวงศ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ 26. จีรพล เกตุจุมพล ภาควิชาประวัติศาสตร์ รามคำแหง 27. ชัยพงษ์ สำเนียง คณะสังคมศาสตร์ นเรศวร 28. ชาวี บุษยรัตน์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ธรรมศาสตร์ 29. ดวงยิหวา อุตรสินธุ์ Arts and Humanities, NYU Abu Dhabi 30. โดม ไกรปกรณ์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ ศรีนครินทรวิโรฒ 

 

31. ตะวัน วรรณรัตน์ คณะอักษรศาสตร์ ศิลปากร 32. ทวีศักดิ์ เผือกสม ภาควิชาประวัติศาสตร์ นเรศวร 33. ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ธรรมศาสตร์ 34. ธัชพงศ์ ศรีสุวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ธรรมศาสตร์ 35. ธิกานต์ ศรีนารา ภาควิชาประวัติศาสตร์ เชียงใหม่ 36. ธิปดี บัวคำศรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ 37. นงเยาว์ นวรัตน์ คณะศึกษาศาสตร์ เชียงใหม่ 38. นพพล แก่งจำปา ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาสารคาม 39. นภาพร อติวานิชยพงศ์วิทยาลัยพัฒนศาสตร์ ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ธรรมศาสตร์ 40. นฤมล ทับจุมพล จุฬาลงกรณ์ฯ 

 

41. นาตยา อยู่คง ภาควิชสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ศิลปากร 42. นิธิศ วนิชบูรณ์ สาขาศิลปะและการออกแบบ พะเยา 43. เนาวรัตน์ ปฏิพัทธ์ภักดี คณะอักษรศาสตร์ ศิลปากร 44. บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 45. บุญเลิศ วิเศษปรีชา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ 46. บุศรินทร์ เลิศชวลิตสกุล คณะสังคมศาสตร์ นเรศวร 47. เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหิดล 48. ประจักษ์ ก้องกีรติ, รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 49. อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 50. ปราการ กลิ่นฟุ้ง ภาควิชาประวัติศาสตร์ รามคำแหง 

 

51. ปวินท์ ระมิงค์วงศ์ สาขาศิลปะและการออกแบบ พะเยา 52. พรชัย นาคสีทอง ภาควิชาประวัติศาสตร์ ทักษิณ 53. พฤกษ์ เถาถวิล คณะศิลปศาสตร์ อุบลราชธานี 54. พัทธ์ธีรา นาคอุไรรัตน์ สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหิดล 55. พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ ภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ 56. พินัย สิริเกียรติกุล คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปากร 57. พิพัฒน์ สุยะ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ศิลปากร 58. ไพรินทร์ กะทิพรมราช คณะมนุษยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ 59. ไพลิน ปิ่นสำอางค์ คณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 60. ภาสกร อินทุมาร คณะศิลปกรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ 

 

61. มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ พะเยา 62. ยุกติ มุกดาวิจิตร สังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ 63. วราภรณ์ เรืองศรี ภาควิชาประวัติศาสตร์ เชียงใหม่ 64. วิญญู อาจรักษา คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ธรรมศาสตร์ 65. วิรุฬห์ วุฒิฤทธากุล วิทยาลัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ศรีนครินทรวิโรฒ 66. ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ เชียงใหม่ 67. ศราวุฒิ วิเศษพรหม มหาสารคาม 68. สงกรานต์ ป้องบุญจันทร์ คณะนิติศาสตร์ เชียงใหม่ 69. สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ เชียงใหม่ 70. สันติรักษ์ ประเสริฐสุข คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการผังเมือง ธรรมศาสตร์ 

 

71. สิงห์ สุวรรณกิจ ภาควิชาประวัติศาสตร์ เชียงใหม่ 72. สิริเดช วังกรานต์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปากร 73. สุวิทย์ ปัญญาวงศ์ คณะนิติศาสตร์ พะเยา 74. สุวิมล รุ่งเจริญ ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ฯ (เกษียณ) 75. เสาวนีย์ ตรีรัตน์ อเลกซานเดอร์ คณะศิลปศาสตร์ อุบลราชธานี 76. อสมา มังกรชัย คณะรัฐศาสตร์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 77. อันธิฌา แสงชัย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 78. อาสา คำภา ธรรมศาสตร์ 79. อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชารัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ วลัยลักษณ์ 80. เอกรินทร์ ต่วนศิริ สงขลานครินทร์ 

 

81. เอกสิทธิ์ หนุนภักดี คณะสังคมวิทยามานุษยวิทยา ธรรมศาสตร์ 82. กฤษณะพล วัฒนวันยู คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี 83. นัทมน คงเจริญ คณะนิติศาสตร์ เชียงใหม่ 84. เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์ ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

logoline