svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ชาวนาสุดทน! โพสต์ต้นทุนทำนา สวนทางกับราคาข้าว

07 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปัญหาราคาข้าวที่ตกต่ำ ทำให้ชาวนาเดือดร้อนทุกร้อนหนัก ล่าสุด หนุ่มสุพรรณ โพสต์ต้นทุนทำนา-ผลผลิต ถามกลับ ราคาข้าวแบบนี้ ชาวนาไม่เป็นหนี้ได้ไง

7 พฤศจิกายน 2564 จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ทำให้การเกษตรในหลายพื้นที่ต้องเผชิญวิกฤตน้ำท่วมไร่นา ไม่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เท่าที่ควร ส่งผลต่อเนื่องไปยังราคาข้าวที่ลดลงอีกด้วย น่ากังวลกับราคาข้าวที่ตกต่ำในเวลานี้ เพราะเมื่อนำไปเทียบกับราคาบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 1 ซอง ยังมีราคาสูงกว่าข้าว 1 กิโลกรัม จนทำให้อดห่วงชาวนาในประเทศไม่ได้ว่าจะฟันฝ่าอุปสรรคไปได้อย่างไร

ชาวนาสุดทน! โพสต์ต้นทุนทำนา สวนทางกับราคาข้าว

ล่าสุด ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ซึ่งเป็นชาวนาจังหวัดสุพรรณบุรี ได้ออกมาโพสต์ภาพพร้อมทั้งเล่ารายละเอียด แจกแจงการลงทุนในการทำนาของตนเอง อีกทั้งยังคำนวณให้แล้วเสร็จทั้งต้นทุน ผลผลิตที่ได้ และกำไรที่ไม่เห็น เนื่องจากในพื้นที่ที่เขาอาศัยนั้น ได้ราคาข้าวตันละ 6,000 บาท พร้อมกันนี้ผลผลิตที่ได้บางครั้งก็ไม่ถึง 1 ตันด้วยซ้ำ ทำให้รู้สึกว่าที่ลงทุนไป หากไม่มีกำลังสนับสนุน ก็คงไม่ยากที่ชาวนาจะกลายเป็นหนี้ 

โดยเขาระบุข้อความว่า "ลงทุนทำนาต่อ 1 ไร่ ราคากลาง

  1. ค่าเมล็ดพันธุ์ 600 บาท 
  2. ค่ารถปั่น 200 บาท 
  3. ค่าทำเทือก 250 บาท 
  4. ค่าปุ๋ย 1,200 บาท 
  5. ค่ายา 1,000 บาท
  6. ค่ารถเกี่ยว 500 บาท 
  7. ค่าเช่า 1,000 บาท 
  8. ค่าจ้างคนงาน 500 บาท 
  9. ค่าสูบน้ำ 1,000 บาท

รวม 6250 บาท

ชาวนาสุดทน! โพสต์ต้นทุนทำนา สวนทางกับราคาข้าว

ณ วันนี้ข้าวราคาตันละ + - 6,000 บาทต่อ 1 ตัน ผลผลิตที่ได้โดยเฉลี่ย 900 กิโลกรัมต่อไร่ เฉลี่ยรายรับจากการขายข้าว 5, 400 บาทต่อ 1 ไร่ฉะนั้นต้นทุน - ผลผลิตเท่ากับกำไรอยู่ไหน" แน่นอนว่าหลังจากที่เขาได้โพสต์ลงไปในเฟซบุ๊กส่วนตัวแล้ว ทำให้มีชาวบ้านต่างเข้ามาแสดงความคิดเห็นไม่น้อย 

ชาวนาสุดทน! โพสต์ต้นทุนทำนา สวนทางกับราคาข้าว

อย่างไรก็ตาม สำหรับราคาข้าวตกต่ำครั้งนี้ ยังไม่มีเจ้าหน้าที่หรือรัฐบาลออกมาเร่งมาตรการแก้ไขปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งชาวเกษตรกรก็ได้แต่หวังว่า ปัฝยหาข้าวราคาตก จะถูกแก้ไขได้ในเร็ววัน เพราะตอนนี้ชาวนา ชาวบ้าน ผู้หาเช้ากินค่ำ เดือดร้อนอย่างมาก แทบจะลืมตาอ้าปากกินไม่ขึ้นอยู่แล้ว

 

ที่มา : tnews

logoline