svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ไทเลยจัดประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวสืบทอดวัฒนธรรมไทยของชาวอีสาน

02 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อ.เมืองเลย จ.เลย จัดงานลงแขกเกี่ยวข้าว “เอามือ เอาแฮง ร่วมสวมแรงสามัคคีไทเลย” อนุรักษ์สืบทอดประเพณีพื้นบ้านชาวอีสาน

2 พฤศจิกายน 2564 นายโสภณ สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราการจังหวัดเลย เป็นประธานในการเปิดงานลงแขกเกี่ยวข้าว”เอามือ เอาแฮง ร่วมสวมแรงสามัคคีไทเลย” มีส่วนราชการจาก สนง.พัฒนาชุมชนจังหวัดเลย พัฒนาชุมชนอำเภอเมืองเลย ผู้บริหาร จนท. ธ.ก.ส.จังหวัดเลย  ฝ่ายปกครองอำเภอเมืองเลย เทศบาลตำบลนาโป่งโดยนายสำอาง จงมีเดช นายกฯ นางวาสนา ศรีเมืองแก้ว รองนายกฯ และชาวบ้าน ที่แปลงนาข้าวของนางนิรันดร์ ประทุม หมู่ 5 บ้านติ้วน้อย ต.นาโป่ง อ.เมืองเลย จ.เลย

 

นายสำอาง จงมีเดช นายกเทศมนตรีตำบลนาโป่ง รายงานข้อมูลกิจกรรมว่า การจัดงานลงแขกเกี่ยวข้าว”เอามือ เอาแฮง ร่วมสวมแรงสามัคคีไทเลย” เนื่องจากเป็นประเพณีไทยที่แสดงให้เห็นถึงความมีน้ำใจ ที่มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รวมทั้งส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำท้องถิ่นและประชาชนให้คุ้นเคย เพื่อสะดวกในการประสานงานต่าง ๆ ได้ด้วยดี อีกทั้งยังสามารถช่วยสร้างความสมัครสมานสามัคคีกันในหมู่บ้านได้อีกด้วย 

 

ไทเลยจัดประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวสืบทอดวัฒนธรรมไทยของชาวอีสาน


 

นอกจากนี้ทำให้เกิดวัฒนธรรมและการขับร้องเพลงอันเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่ง ของผู้ที่ประกอบอาชีพทำนา ประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว เป็นประเพณีที่เจ้าของนาจะบอกเพื่อนบ้านให้รู้ว่าจะเกี่ยวข้าวเมื่อใด และเมื่อถึงวันที่กำหนดเจ้าของนาก็จะต้องปักธงที่ที่นาของตน เพื่อให้เพื่อนบ้านหรือแขกที่รู้จะได้มาช่วยเกี่ยวได้ถูกต้องทั้งนี้เจ้าของนาจะต้องจัดเตรียมอาหารคาวหวาน สุรา บุหรี่ น้ำดื่ม ไว้รองรับด้วย และในการขณะเกี่ยวข้าวก็จะมีการละเล่นร้องเพลงเกี่ยวข้องระหว่างหนุ่มสาว เป็นที่สนุกสนานและเพลิดเพลินเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อย

ไทเลยจัดประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวสืบทอดวัฒนธรรมไทยของชาวอีสาน


 

นายโสภณ สุวรรณรัตน์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเลย กล่าวว่า  ที่นาแห่งนี้เป็นโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่แบบผสมผสานมีทั้งการทำนาข้าว พืชผักสวนครัว ไม้ยืนต้น บ่อเลี้ยงปลา สัตว์น้ำ และที่สร้างบ้านพักอาศัยในพื้นที่เดียวกันจัดสัดส่วนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างดี ประสพผลสำเร็จเป็นต้นแบบที่ดีแก่เกษตรกรและประชาชนทั่วไปมาเรียนรู้มาศึกษา โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่” โคก หนอง นา โมเดล” เพื่อให้เรียกง่ายจำกันง่าย ส่วนการลงแขกก็ตามแต่เจ้าของนา เจ้าของพื้นที่การเกษตร กิจกรรมนั้น ๆ และชุมชนตั้งชื่อกันขึ้นมาแต่มีความหมายเดียวกัน 

การลงแขกเกี่ยวข้าวมีความสำคัญมากทั้งในอดีตและปัจจุบัน  โดยเฉพาะยุคนี้ของคนรุ่นกลางมาถึงรุ่นใหม่ ๆ อาจจะจัดน้อยแห่งลง เนื่องด้วยสาเหตุทั้งทางเศรษฐกิจ ทางสังคม การขาดแคลนแรงงาน  ค่าแรงงานสูง ต้นทุนการผลิตที่สูงมากขึ้น จึงมีกิจกรรม”ลงแขก”  ขึ้นเพื่อลดต้นทุนการผลิต ลดระยะเวลาการทำนา  ให้งานเสร็จภายในวันเดียว เพื่อไปทำงานอื่น ๆ ได้อีก จึงอยากให้ชาวนา ประชาชนร่วมอนุรักษ์และสืบทอดประเพณี”ลงแขก” ไว้ ที่สำคัญคือสร้างความรักความสามัคคีภายในชุมชน เมื่อเกิดความสามัคคีที่ไหนความสำเร็จก็เกิดขึ้น นั่นเอง

ไทเลยจัดประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวสืบทอดวัฒนธรรมไทยของชาวอีสาน

ไทเลยจัดประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าวสืบทอดวัฒนธรรมไทยของชาวอีสาน

โดย - บุญชู ศรีไตรภพ

 

logoline