svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

ศรีสะเกษวาง3มาตรการป้องกันน้ำท่วมจากพายุญาโตะฮ์

25 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จังหวัดศรีสะเกษ เรียกประชุมด่วน จนท.ปภ.และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมวางมาตรการป้องกันอุทกภัย เตรียมแผนการอพยพ แผนการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่เสี่ยง 3 มาตรการหลัก มอบให้ 6 อำเภอเฝ้าระวัง พายุญาโตะฮ์ ปลายเดือนนี้

 วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เวลา 15.30 น. ที่ ห้องประชุมสระกำแพงใหญ่ ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดศรีสะเกษ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ, นางสำรวย เกษกุล รองผู้ว่าฯ, นาย นพ พงษ์ผลาดิสัย ปลัดจังหวัด และนายประสงค์ นวลสาย ปภ.จังหวัดศรีสะเกษ พร้อมด้วยนายอำเภอ จาก 6 อำเภอ เทศบาลเมืองศรีสะเกษ, ชลประทานจังหวัด, ทหารจากกองกำลังสุรนารี ประจำจังหวัดศรีสะเกษ และ ผอ.วิทยาลัยเกษตรศรีสะเกษ ได้ประชุมร่วมเป็นการเร่งด่วน ในการเตรียมการรับมือกับพายุลูกใหม่ พายุญาโตะฮ์ ที่กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์ว่าจะพัดผ่านภาคอีสานตอนล่าง โดยมีชื่อของจังหวัดศรีสะเกษ อยู่ด้วย และอาจจะส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัด รอบ 3 ในพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย 

ศรีสะเกษวาง3มาตรการป้องกันน้ำท่วมจากพายุญาโตะฮ์

ศรีสะเกษวาง3มาตรการป้องกันน้ำท่วมจากพายุญาโตะฮ์


 

ขณะเดียวกันก็ได้ประชุมหารือในวางแนวทางการ ให้ความช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร บ้านเรือนราษฎร คอกปศุสัตว์ ที่ถูกน้ำท่วมจากพายุ 2 ลูกที่พัดผ่านจังหวัดศรีสะเกษ และยังมีน้ำจากลำน้ำชี และลำน้ำมูล ที่หนุนเนื่องมาทำให้จังหวัดศรีสะเกษ มีพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม ใน 21 อำเภอ จาก 22 อำเภอ 1 เทศบาล 6 ชุมชน 122 ตำบล 683 หมู่บ้าน ราษฎรได้รับความเดือนร้อน 30,365 ครัวเรือน, ที่อยู่อาศัยได้รับผลกระทบน้ำท่วม 563 หลัง, พื้นที่การเกษตร นาข้าว เสียหาย 97,514 ไร่, พืชไร่ 7,873 ไร่, พืชสวน 344 ไร่, บ่อปลา 17 บ่อ, ถนนได้รับความเสียหาย 149 สาย, โรงเรียน 3 แห่ง และวัด 1 แห่ง

ศรีสะเกษวาง3มาตรการป้องกันน้ำท่วมจากพายุญาโตะฮ์

ศรีสะเกษวาง3มาตรการป้องกันน้ำท่วมจากพายุญาโตะฮ์


 

ภายหลังการประชุมหารือวางมาตรการเสร็จ นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการจังหวัดศรีสะเกษ ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ว่า ผลการประชุมเบื้องต้นได้วางมาตรการช่วยเหลืออุทกภัยไว้ 3 ประเด็นหลัก ก็คือ การติดตามการช่วยพี่น้องประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการเกิดอุทกภัย ในห้วงการเกิดพายุ 2 ลูกที่ผ่านมา การช่วยเหลือ เยียวยา โดยเฉพาะการช่วยเหลือพื้นที่ทางการเกษตร ที่ไร่ ที่นา การประมง เพื่อให้การช่วยเหลือได้เร็วมากที่สุด ในส่วนที่ 2 คือ การประเมินสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันนี้ โดยช่วงนี้จะมีปริมาณน้ำที่ไหลมาจากโคราช ตอนนี้มาอยู่ในพื้นที่ของจังหวัดศรีสะเกษ แล้ว ก็ได้มาประชุมหารือในกาการเพิ่มมาตรการ ช่องทางในการระบายน้ำไปจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด โดยจะสามารถผลักดันน้ำไปให้เร็วมากขนาดไหนที่จะไม่กระทบในพื้นที่ต่อเนื่องจากจังหวัดศรีสะเกษ และจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้ฝั่งแม่น้ำมูล ใน 6 อำเภอ จะไม่กระทบ 
และในประการที่ 3 ก็คือ ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยา ได้มีการพยากรณ์อากาศ คาดว่าจะมีพายุลูกใหม่ ที่กำลังก่อตัวขึ้น โดยคาดการณ์ว่า ในปลายเดือนนี้ ระหว่า งวันที่ 28 ตุลาคม เป็นต้นไป ในโอกาสหอบฝนมาตกในภาคอีสานตอนล่าง และมีชื่อของจังหวัดศรีสะเกษด้วย ซึ่งจะมาจริงหรือไม่ เราก็ไม่ประมาท เราก็จะต้องมาประเมินสถานการณ์ และเพิ่มเติมในเรื่องการทำแผนเผชิญเหตุ ในการปะเมินสถานการณ์น้ำ ทั้งน้ำเก่าที่อยู่ในพื้นที่ขณะนี้ และน้ำที่อาจจะมาใหม่ จากพายุญาโตะฮ์ ดังกล่าว ซึ่งได้ทำแผนเผชิญเหตุ ทั้งการอพยพผู้คนอย่างไร ไปพักที่ไหน รวมทั้งการแจ้งเตือนอุทกภัยต่าง ๆ ด้วย นี้ก็เป็น 3 เรื่องใหญ่ๆ ที่เรามาประชุมพูดคุยกันวันนี้

โดย - พงษ์พัฒน์ ไตรพิพัฒน์  

 

logoline