svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดที่มา ทำไมต้องมี “พิธีอัญเชิญพระเกี้ยว” ในงานบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

24 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดที่มา “พิธีอัญเชิญพระเกี้ยว” ในงานบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ก่อนสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แถลงยกเลิกกิจกรรม อ้างเป็นทำเนียมปฏิบัติที่แสดงถึงความไม่เท่าเทียม

เป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากหลังจากสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงยกเลิกกิจกรรมขบวน “อัญเชิญพระเกี้ยว” ในงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ –  ธรรมศาสตร์  โดยให้เหตุผลว่าเป็นกิจกรรมที่สนับสนุนและสะท้อนถึงระบอบอำนาจนิยม รวมถึงค้ำยันความเชื่อว่าคนไม่เท่ากัน รูปแบบ “กิจกรรมขบวนอัญเชิญพระเกี้ยว” ยังเป็นภาพแทนของวัฒนธรรมแบบศักดินาที่ยกกลุ่มคนหนึ่งสูงกว่าอีกกลุ่มหนึ่งพร้อมสัญลักษณ์ของศักดินาคือ “พระเกี้ยว” บนเสลี่ยง

 

เปิดที่มา ทำไมต้องมี “พิธีอัญเชิญพระเกี้ยว” ในงานบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

สำหรับ “การอัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณี”

หอประวัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไดให้ข้อมูลไว้ว่า

 

เปิดที่มา ทำไมต้องมี “พิธีอัญเชิญพระเกี้ยว” ในงานบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

 

การอัญเชิญตราสัญลักษณ์เข้ามาในสนามแข่งขันนั้นเหมือนเป็นการเปิดงาน ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการอัญเชิญตราพระเกี้ยว ทางธรรมศาสตร์จะต้องมีตราธรรมจักร ตราสัญลักษณ์ดังกล่าวเปรียบดังทุกสิ่งที่เป็นสถานศึกษาแห่งนั้น

 

ในส่วนของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การอัญเชิญตราพระเกี้ยวเปรียบเสมือนการอัญเชิญพระพุทธเจ้าหลวงทั้ง 2 พระองค์ ซึ่งเป็นผู้พระราชทานกำเนิดมหาวิทยาลัย เข้ามาในงาน และอีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้แก่นักกีฬาและเหล่ากองเชียร์ ดังประโยคที่ดังก้องอยู่ในใจชาวจุฬาฯ ทุกคนว่า "สีชมพูจักอยู่ในกายเจ้า พระเกี้ยวเกล้าจักอยู่เป็นคู่ขวัญ"

 

เปิดที่มา ทำไมต้องมี “พิธีอัญเชิญพระเกี้ยว” ในงานบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

 

ในความจริงแล้ว นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทุกคน มีฐานะเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยว เนื่องจากเป็นผู้ใช้พระเกี้ยวเป็นตราสัญลักษณ์ประจำสถาบันการศึกษา แต่ในงานฟุตบอลประเพณีฯ ไม่สามารถให้นิสิตจุฬาฯ ทุกคนขึ้นอัญเชิญพระเกี้ยวได้ทั้งหมด ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องคัดเลือกนิสิตจุฬาฯ ที่มีความเหมาะสม

 

มีคุณสมบัติครบถ้วนทั้งรูปร่าง หน้าตา บุคลิกภาพ การวางตัว กิริยา มารยาท ผลการเรียน ตลอดจนมีความรู้เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมีความรู้รอบเหมาะสมกับการเป็นตัวแทนนิสิตจุฬาฯ ซึ่งนิสิตที่ทำหน้าที่อัญเชิญพระเกี้ยวนี้ ถือได้ว่าเป็นภาพลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยด้วย

อย่างไรก็ตามก่อนหน้านี้มีผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยว อาทิ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ทรงเป็นผู้อัญเชิญพระเกี้ยวงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 62

 

เปิดที่มา ทำไมต้องมี “พิธีอัญเชิญพระเกี้ยว” ในงานบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

 

นอกจากนี้ ยังมีหลายคนที่เป็นคนดังในแวดวงต่าง ๆ อาทิ จิระนันท์ พิตรปรีชา จากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 32, แอฟ-ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 55,

 

เปิดที่มา ทำไมต้องมี “พิธีอัญเชิญพระเกี้ยว” ในงานบอลจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์

แต้ว-ณฐพร เตมีรักษ์ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 66, ฟาง-ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ จากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาฯ ผู้อัญเชิญพระเกี้ยวในงานฟุตบอลประเพณีฯ ครั้งที่ 68

 

 

logoline