svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

โทนี่ หลุด ถ่มน้ำลายใส่เท้าตัวเอง แก้สินค้าเกษตรสมัยเป็นนายกฯ ด้วย "ฮั้ว"

23 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ทักษิณ" ถ่มน้ำลายใส่เท้าตัวเอง แก้ปัญหาสินค้าเกษตรตกต่ำตอนเป็นนายกฯ ด้วยวิธี "ฮั้ว" แถมแนะ ต้องวางยุทธศาสตร์ร่วมกันไม่ใช่ทำไปวันต่อวัน มีปัญหาก็แจกแต่เงิน

โทนี่ หลุด ถ่มน้ำลายใส่เท้าตัวเอง แก้สินค้าเกษตรสมัยเป็นนายกฯ ด้วย "ฮั้ว"

23 ตุลาคม 2564 นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี หรือ โทนี วู้ดซัม ร่วมพูดคุย ผ่าน CARE talk "ปั้นข้าวเหนียวเคี่ยวความคิด:พรุ่งนี้เพื่อชีวิตคนอีสาน"  เมื่อช่วงค่ำวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา โดยช่วงหนึ่งได้ตอบข้อซักถาม ของนายอดิศร เพียงเกษ ถึงปัญหาราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำว่า ในสมัยที่ตนเป็นรัฐบาลจะใช้ยุทธศาสตร์ที่ว่า เราใช้ที่บ้านเราเท่าไหร่ เราจะต้องส่งออกเท่าไหร่ ตลาดโลกมีความต้องการเท่าไหร่ แล้วตลาดโลกมีใครบ้าง

 

เริ่มแรกเราก็ใช้วิธีขึ้นราคาในประเทศ ซึ่งเป็นการตลาดเหมือนการค้าขายทั่วไป โดยเฉพาะในส่วนของราคาข้าวที่ต้องคำนึงถึงราคาต้นทุนและกำไรเป็นราคาพื้นฐาน ก่อนไปดันราคาตลาดในต่างประเทศ ซึ่งสมัยที่ตนเป็นรัฐบาลได้มีการพูดคุยกับประเทศเวียดนาม ปากีสถาน อินเดีย เพื่อให้ได้ราคาที่ไม่ต่ำกว่าต้นทุนเช่นเดียวกับราคายางพารา

“ผมเรียกว่าเป็นการฮั้วกันของประเทศที่ยากจน ต่างจากน้ำมันซึ่งเป็นการฮั้วกันของประเทศที่ร่ำรวย”

 

ส่วนในเรื่องการส่งออกข้าววันนี้ เราต้องยอมรับว่าเราสู้เวียดนามไม่ได้ และดูเหมือนว่าวันนี้ยังมีปัญหาเรื่องพันธุ์ข้าว ฉะนั้นการแก้ปัญหาปัจจุบันทันด่วนของรัฐบาล เวลานี้จึงไม่ใช่แต่แจกเงินแล้วพอ แต่เงินที่กู้มาเป็นจำนวนมากในระยะยาว จะต้องใช้ไปในส่วนของการฟื้นฟูประเทศด้วย วันนี้เราต้องแก้ปัญหาให้เขาพอกินให้ได้ก่อนที่จะพอเพียง  การแจกเงินเพื่อซื้อเสียงเวลานี้จึงคิดว่าไม่พอ ดังนั้น จึงต้องมีการใช้ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การตลาดและความเข้าใจความต้องการขั้นพื้นฐานของประชาชน

 

สำหรับมันสำปะหลังในสมัยที่ตนเป็นรัฐบาล มีการพูดคุยกับจีนที่เป็นผู้ค้ารายใหญ่ก่อนขยายไปที่ยุโรป ส่วนราคาอ้อยและน้ำตาลสมัยนั้นมีการส่งเสริม แก๊สโซฮอล์จึงทำให้ราคาอ้อยมีราคาสูงขึ้น

โทนี่ หลุด ถ่มน้ำลายใส่เท้าตัวเอง แก้สินค้าเกษตรสมัยเป็นนายกฯ ด้วย "ฮั้ว"

ขณะที่นางสาวชญาภา สินธุไพร ถามว่า การที่รัฐบาลใช้นโยบายประกันราคาข้าว เหตุใดกลับยิ่งทำให้ราคาข้าวโดยเฉพาะข้าวเปลือกมีราคาถูก โทนี่ ตอบว่า เขาไปคิดอย่างเดียวว่าให้ชาวนามีรายได้พอ แต่ไม่ได้คำนึงถึงเรื่องต้นทุนในการปลูก การทำให้ราคาข้าวสูงขึ้นต้องคำนึงถึงระบบดีมานซัพพลาย  หรืออุปสงค์อุปทาน ซึ่งวันนี้ระบบดังกล่าวมีปัญหา

 

แม้จะลดการผลิตแต่ปริมาณความต้องการในการส่งออกก็ลดน้อยลง ยิ่งไปกว่านั้นในอนาคตหลายประเทศจะมีการนำเทคโนโลยีในการปลูกข้าวมาใช้

 

“ฉะนั้นสิ่งที่เราจะต้องทำควบคู่กันไปคือการแปรรูป แทนที่จะส่งวัตถุดิบออกไปแต่เพียงอย่างเดียว ต้องวางยุทธศาสตร์ร่วมกันไม่ใช้ทำไปวันต่อวัน มีปัญหาก็แจกแต่เงิน” โทนี่ ระบุ

logoline