svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ฉีดวัคซีนเกิน 50 % ของประชากรแล้ว หยุด 4 วันขอปชช.เข้มมาตรการป้องกันตัวเอง

20 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศบค.เผย ฉีดวัคซีนเกิน 50 % ของประชากรแล้ว พบ 11 จว.นำร่องท่องเที่ยว ฉีดเข็ม 1 ครอบคลุม 70 % ย้ำ เปิดประเทศ ยึดปชช.มีความปลอดภัยเป็นหลัก ย้ำ วันหยุดยาว 4 วัน เข้มมาตรการส่วนบุคคลในการใช้บริการกิจการ/กิจกรรม เพื่อลดการติดและแพร่เชื้อ

20 ตุลาคม 2564 ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 หรือศบค. แพทย์หญิง สุมณี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 20 ตุลาคม 2564 ว่า ผู้ป่วยรายใหม่วันนี้ 8,918 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อในประเทศ 8,859 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 18 ราย จากเรือนจำที่ต้องขัง 41 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสม 1,782,989 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 1,811,852 ราย หายป่วย 10,878 ราย หายป่วยสะสม 1,662,433 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 79 ราย เสียชีวิตสะสม 18,392 ราย คิดเป็น 1.03% ผู้ป่วยรักษาอยู่ 103,507 ราย ในโรงพยาบาล 41,138 ราย โรงพยาบาลสนามและอื่นๆ 62,369 ราย อาการหนัก 2,728 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 619 ราย

ฉีดวัคซีนเกิน 50 % ของประชากรแล้ว หยุด 4 วันขอปชช.เข้มมาตรการป้องกันตัวเอง

ผู้รับวัคซีนแล้ว 67,587,102 โดส เข็มที่หนึ่งเพิ่มขึ้น 474,097 ราย สะสม 38,611,193 ราย คิดเป็น 53.6 % ของประชากร เข็มที่สองเพิ่มขึ้น 485,263 ราย สะสม 26,959,785 ราย คิดเป็น 37.4 % ของประชากรเข็มที่สามเพิ่มขึ้น 35,421 ราย สะสม 2,016,124 ราย คิดเป็น 2.8 % ของประชากร

 

ฉีดวัคซีนเกิน 50 % ของประชากรแล้ว หยุด 4 วันขอปชช.เข้มมาตรการป้องกันตัวเอง

ทั้งนี้การฉีดวัคซีนในเดือนตุลาคม ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ต้องครอบคลุมประชากรทั้งหมด (ชาวไทยและต่างชาติ) อย่างน้อยร้อยละ 50 ในระดับจังหวัด และอย่างน้อยร้อยละ 70 ในพื้นที่ (COVID Free Area) เพิ่มความครอบคลุมอย่างน้อยร้อยละ 80 ในกลุ่มผู้สูงอายุ 7 กลุ่มโรคเสี่ยง และหญิงตั้งครรภ์

 

ฉีดวัคซีนเกิน 50 % ของประชากรแล้ว หยุด 4 วันขอปชช.เข้มมาตรการป้องกันตัวเอง

ฉีดวัคซีนเกิน 50 % ของประชากรแล้ว หยุด 4 วันขอปชช.เข้มมาตรการป้องกันตัวเอง

ทั้งนี้หากแยกเป้าหมายตามกลุ่มที่ต้องได้รับวัคซีน เช่น กลุ่มนักเรียน/นักศึกษาอายุ 12- 17 ปี ผลการฉีดวัคซีนที่รายงานเข้ามาในระบบอยู่ที่ 1.3 ล้านโดส คิดเป็น 1 ใน 4 ของการสำรวจความต้องการฉีดวัคซีน ซึ่งมีประมาณ 4.5 ล้านโดส ขณะที่การกระจายวัคซีนไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั้งหมดกว่า 4.5 ล้านโดส สำหรับเข็มแรก และได้ลงไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศแล้ว ขอให้ผู้ปกครองติดตามข่าวสาร และประกาศจากหน่วยบริการ สถานบริการที่ได้ขึ้นทะเบียนฉีดวัคซีนให้บุตรหลานของท่านไปตามนัด เนื่องจากการให้วัคซีนลงไปในพื้นที่เป็นการค่อยๆ ทยอยส่ง วันหรือเวลาในการรับวัคซีน อาจจะไม่ใช่วันเดียวกัน

ฉีดวัคซีนเกิน 50 % ของประชากรแล้ว หยุด 4 วันขอปชช.เข้มมาตรการป้องกันตัวเอง

นอกจากนี้ ความครอบคลุมในการได้รับวัคซีนของ 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งมีแนวโน้มผู้ป่วยมากขึ้นและพบผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่องสูง พบว่าความครอบคลุมเข็มหนึ่งของประชากรใน 4 จังหวัดภาคใต้ที่เกิน 50 % ได้แก่ จังหวัดยะลา และที่ฉีดครอบคลุม 40-49 %  จะเป็นจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี สงขลา ขณะที่กลุ่ม 608(ผู้สูงอายุ,กลุ่ม 7โรคเสี่ยง,ตั้งครรภ์)ในพื้นที่จังหวัดภาคใต้  มีการเร่งระดมฉีด โดยมีจังหวัดที่ได้ฉีดครอบคลุม 70 % ได้แก่ยะลา สงขลา นราธิวาส ส่วน จังหวัดปัตตานี ความครอบคลุมเกือบ 50 %

 

ทั้งนี้ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีการส่งสรรพกำลังเข้าไปช่วยเหลือ นอกจากนี้ขอชื่นชมเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ส่วนต่างๆ รวมถึงประชาชนในพื้นที่ ที่ได้ร่วมด้วยช่วยกันเร่งรัด ระดมกันมาฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ทั้งนี้หากที่บ้านมีผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยโรคเรื้อรังนอนติดเตียงไม่สามารถออกมารับบริการได้ ขอแจ้งให้ไปยังหน่วยงานสาธารณสุขใกล้บ้านหรือผู้นำชุมชน เพื่อจะได้จัดตั้งหน่วยงานลงพื้นที่ฉีดวัคซีนให้

นอกจากนี้ที่ประชุม EOC กระทรวงสาธารณสุข และศบค.ชุดเล็ก ได้มีการเพิ่มจำนวนวัคซีนลงไปยังภาคใต้ โดยขณะนี้ส่งลงไปแล้ว 5.8 แสนโดส และจะทยอยส่งลงไปยังพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้เรื่อยๆ จนถึง 1 ล้านโดส เพื่อให้ได้ครอบคลุมประชากรตามเป้าหมาย

 

ในส่วนของพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวจังหวัดที่มีความครอบคลุมในการฉีดวัคซีนเข็มที่หนึ่งมากกว่า 50 % มี 11 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ กระบี่ พังงา ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ชลบุรี ระนอง ระยอง เชียงใหม่ ตราด และ อีก 3 จังหวัดที่เข้าใกล้ 50 % คือ เลย หนองคาย และอุดรธานี 

ฉีดวัคซีนเกิน 50 % ของประชากรแล้ว หยุด 4 วันขอปชช.เข้มมาตรการป้องกันตัวเอง

สำหรับผู้ป่วยเสียชีวิต จำนวน 79 ราย จำแนกเป็น กรุงเทพมหานคร รวม 18 ราย สมุทรปราการ ปทุมธานี นครปฐม สมุทรสาคร รวม  15 ราย นครราชสีมา อุดรราชธานี รวม 3 ราย นครสวรรค์ ตาก รวม 4 ราย ปัตตานี ยะลา นราธิวาสพัทลุง สงขลา ชุมพร สุราษฎร์ธานี รวม 20 ราย ชลบุรี ระยอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี สระบุรี จันทบุรี ปราจีนบุรีและกาญจนบุรี รวม 19 ราย เป็นชาย 40 ราย หญิง 39ราย ชาวไทย 77 ราย เมียนมา 2 ราย ค่ากลางของอายุ 68 ปี (1 เดือน- 89 ปี) ค่ากลางทราบติดเชื้อถึงเสียชีวิต 15 วัน นานสุด 48 วัน อายุ 60 ปีขึ้นไป 49 ราย คิดเป็น 62 % อายุน้อยกว่า 60 ปี มีโรคเรื้อรัง 23 ราย คิดเป็น 29 % ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 6 ราย คิดเป็น 8 % เด็ก 1 เดือน 1 ราย คิดเป็น 1 % จังหวัด ตาก ไม่มีโรคประจำตัว อย่างไรก็ตามจำนวนผู้เสียชีวิตลดลงมาเรื่อยๆ วันที่มีการเสียชีวิตมากที่สุดคือ อยู่ที่ 312 คนในวันที่ 18 สิงหาคม ดังนั้นทิศทางของผู้ป่วยที่ยังอยู่ในระบบบริการและมีอาการป่วยหนักใส่ท่อช่วยหายใจรวมถึงผู้เสียชีวิตมีจำนวนลดลงเรื่อยๆ

 

ภาพรวมทั่วประเทศแนวโน้มผู้ติดเชื้อรายใหม่ จากการตรวจ PCR ต่างจังหวัด 67 จังหวัด คิดเป็น 59 % จังหวัดชายแดนใต้คิดเป็น 23 % ขณะที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลคิดเป็น 18% ผลรวมการตรวจ โควิด-19 ด้วย ATK จากทั่วประเทศ 5.4 % ทั้งนี้พบว่า การตรวจพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากอยู่ในเขตสุขภาพที่ 12 ย้อนหลังไปประมาณ 7 วันค่าเฉลี่ยที่เยอะที่สุดอยู่ที่ จังหวัดนราธิวาส ผลการตรวจ ATK เป็นบวกอยู่ที่ 28.3 % ปัตตานี 22 % จังหวัดยะลา 19.5 % ปัตตานี 20.2 % ยะลา 19.5 % และสงขลา 10 %

 

ทั้งนี้เรามีการเฝ้าระวังในจังหวัดชายแดนใต้ซึ่งมีจังหวัดที่ต้องจับตามองเนื่องจากผลการตรวจ ATK เป็นบวกเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ คือ นครศรีธรรมราชผลการตรวจ ATK 7 วันย้อนหลัง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 25.1 % ขณะที่ในเขตสุขภาพที่ 11 ซึ่งเป็นเขตเดียวกันกับจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดกระบี่อยู่ที่ 10.3 % นอกจากนี้จังหวัดที่ต้องเฝ้าระวังเพิ่มมีจังหวัดเชียงใหม่ ผลการตรวจ ATK 7 วันย้อนหลัง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 11.4 % และจังหวัดเชียงราย ผลการตรวจ ATK 7 วันย้อนหลัง ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 20.8 % อยู่ในเขตสุขภาพที่ 1 นอกจากนี้ยังมีจังหวัดตาก ที่ค่าเฉลี่ยการตรวจ ATK 7 วันย้อนหลังอยู่ที่ 7.1 %

 

ฉีดวัคซีนเกิน 50 % ของประชากรแล้ว หยุด 4 วันขอปชช.เข้มมาตรการป้องกันตัวเอง

ผู้ติดเชื้อสูงสุด 10 อันดับแรก คือ กรุงเทพมหานคร 1,020 ราย รวมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายนถึง 20 ตุลาคม 389,932 รายยะลา 704 ราย รวม 36,127 ราย ปัตตานี 520 ราย รวม 31,002 ราย สงขลา 448 ราย รวม 40,344 ราย สมุทรปราการ 359 ราย รวม 119,340 ราย ชลบุรี 328 ราย รวม 97,624 ราย เชียงใหม่ 294 ราย รวม 12,224 ราย นราธิวาส 284 ราย รวม 32,916 ราย นครศรีธรรมราช 266 ราย รวม 23,509 ราย และจันทบุรี 265 ราย รวม 16,316 ราย

 

กลุ่มคลัสเตอร์ที่พบใน 10 จังหวัดข้างต้น และกลุ่มจังหวัดที่ ต้องเฝ้าระวัง เช่น จังหวัดเชียงใหม่ ก่อนหน้ามีการติดเชื้อที่ตลาดเมืองใหม่ ซึ่งยังมีการแพร่ระบาดผู้ที่ติดเชื้อมีการเชื่อมโยงไปถึงจังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มร้านอาหาร บ้านพักนักเรียนประจำ ร้านค้า ทั้งนี้ขอให้ทางจังหวัดเชียงใหม่เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการเข้มงวดมาตรการส่วนบุคคลเพิ่มเติม นอกจากนี้ยังมีคลัสเตอร์งานศพพบกระจายได้ทั่วประเทศ วันนี้ที่มีรายงานเข้ามาคือ จังหวัดเลย อุดรธานี นครศรีธรรมราช ขอนแก่น สิ่งสำคัญในการจัดงานศพแต่ละที่ ขอให้เจ้าหน้าที่ย้ำถึงการดูแลโดยเฉพาะการแยกชุดอาหาร หากเป็นไปได้ให้รับอาหารที่บ้านเพื่อความปลอดภัย ทั้งนี้หากจะมีการติดเชื้อ คือ การที่เราไม่ได้สวมใส่หน้ากาก เมื่อมีการทานอาหารร่วมกันจะทำให้มีการแพร่ระบาดของโรคได้ง่ายขึ้น

 

แพทย์หญิงสุมณี กล่าวว่า ข้อพิจารณาหลักในการเปิดประเทศประกอบด้วย 3 ปัจจัยที่สำคัญ คือ มาตรการทางสาธารณสุข ภาคการท่องเที่ยว ภาคธุรกิจที่เกี่ยวข้อง และความสอดคล้องกับมาตรการเข้า-ออกประเทศอื่นๆ ทั้งนี้สำหรับการรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักรไทย 1. การเข้าสถานที่กักกันตามที่ราชการกำหนด (วัคซีนไม่ครบ ไม่จำกัดประเทศ) 2.การเข้าพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวตามเงื่อนไขที่กำหนด (วัคซีนครบ ไม่จำกัดประเทศ) โดยพื้นที่ต้องมีความพร้อม เช่น ความครอบคลุมการได้รับวัคซีน สถานการณ์การระบาดที่ควบคุมได้และระบบสาธารณสุขในพื้นที่รองรับ และ 3. การเข้าราชอาณาจักรโดยไม่กักตัว(วัคซีนครบ ไม่จำกัดประเทศ) ในเงื่อนไขที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ฉีดวัคซีนเกิน 50 % ของประชากรแล้ว หยุด 4 วันขอปชช.เข้มมาตรการป้องกันตัวเอง

แนวทางการรับผู้เดินทางเข้าราชอาณาจักร ที่เป็นผู้เดินทางมาจากประเทศ ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดและให้เข้ามาทางอากาศเท่านั้น มีเอกสารหรือหลักฐานรับรองการได้รับวัคซีนครบสองเข็ม มีผลตรวจยืนยันไม่พบเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR ไม่เกิน 72 ชั่วโมง ก่อนเดินทาง ทำประกันสุขภาพอย่างน้อย 50,000 USD มีใบจองที่พัก เมื่อเดินทางมาถึงท่าอากาศยาน ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันที่กำหนดและตรวจหาเชื้อโดยวิธี RT-PCR ในวันที่ 0-1 เมื่อผลตรวจหาเชื้อไม่พบสามารถเดินทางไปต่อได้โดยไม่ต้องกักตัว

ฉีดวัคซีนเกิน 50 % ของประชากรแล้ว หยุด 4 วันขอปชช.เข้มมาตรการป้องกันตัวเอง

นอกจากนี้จะมีการประชุมในเรื่องการเปิดประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อที่จะวางแผนให้มีความรอบคอบ โดยเป้าหมายหลักแม้จะมีการเปิดประเทศแต่ประชาชนในประเทศจะต้องมีความปลอดภัย และระบบสาธารณสุขสามารถรองรับ เมื่อเกิดการใช้แผนเผชิญเหตุหรือมีสถานการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้น

 

“ทั้งนี้ในวันหยุดยาว 4 วันที่จะถึงนี้ จะมีคนจากกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เดินทางไปต่างจังหวัด หรือคนที่อยู่ในต่างจังหวัดเดินทางข้ามจังหวัดกันเอง การใช้บริการจากกิจกรรมกิจการใด ขอให้เข้มในเรื่องมาตรการส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็นการสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา การใช้แอลกอฮอล์เจลในการล้างมือ มาตรการสูงสุดแบบครอบจักรวาลเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพราะนอกเหนือจากการได้รับวัคซีนครบแล้วมาตรการส่วนบุคคลจะทำให้เราลดการติดเชื้อและการแพร่โรคไปยังบุคคลอื่นได้ด้วย”แพทย์หญิงสุมณี  กล่าว

logoline