svasdssvasds
เนชั่นทีวี

พระราชสำนัก

ในหลวง ร.๙ ในความทรงจำ : อย่าน้ำตาแห้งแล้วลืมพ่อ

12 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ผู้น้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การลงมือปฏิบัติจริง พลิกดินดานภาคตะวันออก ถึงดอยสูงภาคเหนือ ด้วยหลักง่ายๆ คำสอนของพ่อต้องไม่เก็บไว้บนหิ้งแต่ควรลงมือปฏิบัติจริง

ความพอเพียงเราไม่ได้เริ่มจากจะปลูกอะไร แล้วจะขายเอาเงิน เราเริ่มจากทำยังไงจะฟื้นฟูดินให้ได้ ทำยังไงจะมีข้าวกิน ทำยังไงจะมีผักกิน ทำยังไงจะมีสมุนไพร ทำยังไงจะมียา ทำยังไงถึงอากาศจะเย็น เราจะแก้ปัญหาวิกฤติของโลกทุกเรื่อง เอามาทดลอง โดยไม่สนใจว่ามันจะสามารถทำรายได้หรือเปล่า

 

ถามว่าเราจะอยู่ได้ยังไง ? มันก็สามารถอยู่ได้ ด้วยการให้ เราทำเพื่อให้ เพื่อพิสูจน์ คนมาเห็นเค้าก็มาช่วยกันคนละไม้คนละมือ

ในหลวง ร.๙ ในความทรงจำ : อย่าน้ำตาแห้งแล้วลืมพ่อ

คำสอนที่ทรงคุณค่านั้น มันไม่ควรจะเอามาเขียนไว้ในกระดาษ แล้วไปขึ้นหิ้งไว้ที่เดิม มันควรจะได้มาปฏิบัติในชีวิตจริง ผมเห็นว่าสิ่งที่กำลังเกิดอยู่กับโลกใบนี้ ทั่วไปทั้งในและต่างประเทศที่เคยเห็น วิธีการที่เค้าทำกันอยู่แบบคนรวย ใช้เทคโนโลยีสูงใช้เครื่องจักรใช้พลังงานมากๆ ยิ่งก่อปัญหาใหม่ แก้ปัญหาเก่าหนึ่งไปก่อปัญหาใหม่

 

วิธีการที่เค้าทำกันอยู่ทั่วโลกผมไม่เชื่อ พระองค์ทรงพระราชทานวิธีแก้ปัญหาแบบคนจน ด้วยเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหมาะกับบ้านเรา ประหยัดมาก ที่สำคัญคือไม่ต้องเอาพลังงานอื่นมาทำลาย วิธีการนี้มันไม่ก่อปัญหาใหม่ มันควรที่จะให้ประชาชนได้พบเห็นและเอาไปทำตามทั่วโลก

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี ด่านทดสอบแรกที่อาจารย์ยักษ์ หันหลังให้กับงานราชการ มุ่งขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติ

 

ที่เลือกที่นี่เพราะเหตุมันยากสามอย่าง เป็นดินดาน มีผู้เชี่ยวชาญดินมาดูแล้วบอกอย่าทำ มันจะไม่สำเร็จ เราจึงเลือกพิสูจน์ว่า เรื่องทฤษฎีพระเจ้าอยู่หัว สามารถทำได้จริงหรือไม่ ต่อมาคือมันเป็นเขตเงาฝน ปกติฝนส่วนใหญ่จะพัดมาแล้วเลยไปเป็นเงา ฝนตกน้อยกว่าอีสานปริมาณเท่าตัว เป็นที่แห้งแล้ง สุดท้ายคือเป็นเขตอุตสาหกรรม กับเขตท่องเที่ยว แรงงานจะเข้าไปอยู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งหมด

 

เราจึงอยากพิสูจน์ ว่า วิถีเช่นนี้จะอยู่ได้หรือไม่ ถ้าปรัชญานี้เป็นจริงก็ต้องอยู่ได้ จึงเลือกที่นี่ ที่นี่มีต้นไม้เกิดขึ้น มีเมล็ดเอามาเพาะแจก หรือจะทำอะไรขึ้นมาเราก็วางแผน ทุกวันอาทิตย์เราจะให้ความรู้ฟรี ให้อาหารฟรี เพราะพอเราเปิดอบรมให้ฟรี พอเค้าเห็นเราทำเค้าก็มาช่วยเรา ถ้าเก็บตังค์ก็คงหัวละไม่กี่ร้อยบาท แต่สิ่งที่เค้าหยิบยื่นมาช่วยเรา มีมูลค่ามากกว่า ตัวเงินที่เราจะไปเก็บจากเขา คือให้ยังไงก็ดีกว่าขาย ศูนย์นี้ถ้านับจริงๆ อยู่มา 26-27 ปี อยู่มาได้ด้วยการให้

ตอนมาอยู่ครั้งแรกผมเหมือนพระธุดงค์มาปักกรด มาตัดเหล็กนอนที่เล้าหมู คนก็มาช่วยกันมากขึ้น จนมามีทุกอย่างเหมือนทุกวันนี้ ก็เกิดจากการให้

 

และที่นี่พอเราทำต้นแบบความสำเร็จ ผู้คนก็จะมาเรียนรู้จากทั่วโลก มาครบทุกจังหวัด มาเรียนรู้ที่นี่ กระทรวงมหาดไทยไปคัดเอากำนัน ผู้ใหญ่บ้านมาทุกจังหวัด เอามาเรียนรู้ที่นี่ ก็หวังว่าจะเป็นที่ที่คนมาเรียนรู้เข้าถึงได้ง่าย

ในหลวง ร.๙ ในความทรงจำ : อย่าน้ำตาแห้งแล้วลืมพ่อ

ศาสตร์พระราชา เป้าหมายคือการพัฒนาคนตลอดทุกช่วงชีวิต เวลาที่เราทำสำเร็จก็จะมีคนทุกกลุ่ม ทุกอาชีพทยอยดู และเมื่อเริ่มสนใจก็จะไปเอาคนในองค์กร ตั้งเป็นโครงการ และเอาคนในองค์กรมาอบรม ทั้งเอกชนทั้งรัฐ ก็มาทำหลักสูตรร่วมกัน ทำหลักสูตรให้บริการทุกกลุ่ม

 

ดังนั้น คนที่มาเรียนที่นี่จริงมีตั้งแต่เด็กอนุบาล เด็กอยากจะรู้ขั้นตอนวิธีการปลูกข้าว 4 เดือนทยอยมาที่นี่ไปจนถึงนักศึกษาปริญญาเอก เค้ารู้สึกว่าที่นี่ เรียนมา 3 ปีมันมาอยู่ที่นี่เพียงอาทิตย์เดียว ให้ความรู้มากกว่าที่มหาวิทยาลัย จึงเรียกว่ามหาวิทยาลัยเล้าหมู เพราะที่นี่เป็นเล้าหมูเก่า

ในหลวง ร.๙ ในความทรงจำ : อย่าน้ำตาแห้งแล้วลืมพ่อ

ตอนนี้บนดอยโล้นกำลังรุนแรงมาก เราก็ไปจับมือกับชาวบ้าน ไปศึกษาเรียนรู้เอาปรัชญาของพระองค์ท่านไป บางทีก็เอาทฤษฎีไป บางทีก็เอาไปเฉพาะเทคนิค 5 เรื่อง และไปจับมือกับภูมิปัญหาท้องถิ่นนั้น ๆ แก้ปัญหาให้ได

 

เวลานี้เป็นเวลาดีที่สุด ช่วงที่ฝนหยุดแล้วเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้ว ที่ดินยังร้างอยู่ ยังว่าง เค้ากำลังจะปลูกซ้ำใหม่ ก่อนปลูกต้องไปคุยก่อน ให้เค้าเห็น ต้องมีคนกล้าหาญลุกขึ้นทำตัวอย่างให้ได้หนึ่งราย พอเค้าพบว่าตัวอย่างหนึ่งรายนี้ เค้าปลูกข้าวโพดก็งามกว่าเดิม แบ่งส่วนไปปลูกข้าว ข้าวก็เหลือกิน ไปปลูกผัก ผักก็เหลือขาย ไปปลูกป่า ป่าก็ได้ประโยชน์ ไม่ใช่ป่าแบบที่กรมป่าไม้ปลูก เค้าได้ประโยชน์ 4 อย่างแบบที่ตรัสไว้ การสร้างป่าแบบนี้พอทำพื้นที่เล็ก ๆ หมดแล้วที่ที่ไม่ได้ทำที่เหลือป่ามันฟื้น การปลูกป่าโดยไม่ต้องปลูกเป็นตามพระราชดำริทั้งหมด ก็ได้ป่าคืนมาใช้เวลาเพียงปีเศษ ได้ป่าคืนมาเกือบ 500 ไร่ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้ปลูก แต่พื้นที่ที่ถูกกันออกมาปลูกผัก ปลูกป่า 3 อย่างได้ประโยชน์ 4 อย่าง ใช้พื้นที่เพียง 10% ของพื้นที่ 80-90% ก็ฟื้นคืนเป็นป่า เพราะนี่คือวิธีแบบพระเจ้าอยู่หัวตรัส เป็นวิธีบริหารแบบคนจน

ในหลวง ร.๙ ในความทรงจำ : อย่าน้ำตาแห้งแล้วลืมพ่อ

logoline