svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ทางหลวงเร่งฟื้นฟูพื้นที่น้ำลด-เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง

09 ตุลาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมทางหลวง เร่งฟื้นฟูพื้นที่น้ำลด-เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงเร่งช่วยเหลือประชาชนต่อเนื่อง ล่าสุดพบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ 11 จังหวัด 26 สายทาง การจราจรผ่านไม่ได้ 22 แห่ง โดยทางหลวงบางพื้นที่ยังมีปริมาณน้ำท่วมสูง

9 ตุลาคม 2564 นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยว่า ตามที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดลงพื้นที่ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัยตามแผนการดำเนินการป้องกัน การฟื้นฟู และการเยียวยาหลังสถานการณ์คลี่คลายในทุกมิติ เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบอย่างทันท่วงที โดยในหลายพื้นที่ระดับน้ำลดลงหน่วยงานจึงเร่งสำรวจและประเมินความเสียหายเพื่อฟื้นฟูซ่อมแซมบำรุงรักษาเส้นทางเพื่อประชาชนสัญจรได้อย่างสะดวกปลอดภัยโดยเร็ว สำหรับพื้นที่ที่ยังมีน้ำท่วมขังให้เร่งระบายน้ำโดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงช่วยขนย้ายประชาชนและสิ่งของไปยังพื้นที่ปลอดภัยเพื่อลดการสูญเสียและช่วยล้างทำความสะอาดเก็บกวาดบ้านเรือน วัด และโรงเรียน เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

ทางหลวงเร่งฟื้นฟูพื้นที่น้ำลด-เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง

นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยังได้กำชับให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์และผลกระทบจากพายุ "ไลออนร๊อก" ในพื้นที่เสี่ยงภัยที่คาดกว่าจะเกิดท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก พร้อมติดตามข้อมูลปริมาณและทิศทางน้ำอย่างใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งวางแผนการดำเนินงานและการบริหารจัดการเส้นทางเลี่ยง จัดเตรียมเครื่องจักรอุปกรณ์พร้อมใช้งานทันที และรายงานผลการดำเนินงานมายังกระทรวงฯ รับทราบทุกวัน และให้ประชาสัมพันธ์การดำเนินการไปยังสื่อมวลชนและประชาชนให้รับทราบด้วย 

ทางหลวงเร่งฟื้นฟูพื้นที่น้ำลด-เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง

สำหรับสถานการณ์ประจำวันที่ 9 ตุลาคม 2564  เวลา 13.30 น. พบทางหลวงถูกน้ำท่วม/ดินสไลด์ และสะพานชำรุด จำนวน  11 จังหวัด  ( 26 สายทาง 50 แห่ง)  โดยทางหลวงในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ได้แก่ 1) จ.ขอนแก่น   2) จ.นนทบุรี   3) จ.สระบุรี    4)  จ.อ่างทอง  5) จ.ลพบุรี  6) จ.พระนครศรีอยุธยา  7) จ.สุพรรณบุรี  8)  จ.นครสวรรค์ 

ทางหลวงเร่งฟื้นฟูพื้นที่น้ำลด-เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง

โดยทางหลวงที่มีระดับน้ำสูงได้แก่  ทล. 2  ท่าพระ – ขอนแก่น ระดับน้ำสูง 260 ซม.   - ทล.32  นครหลวง-อ่างทอง ระดับน้ำสูง 155 ซม.   ทล.309  บางเสด็จ-แยกที่ดิน ระดับน้ำสูง 230 ซม.    ทล 3263 อยุธยา–ไผ่กองดิน  ระดับน้ำสูง 180 ซม.  และ ทล.340 สาลี-สุพรรณ ระดับน้ำสูง 125 ซม.  ซึ่งมีการจราจรผ่านไม่ได้  22 แห่ง  ดังนี้
  
1. จ.ขอนแก่น (การจราจรผ่านไม่ได้ 5 แห่ง)  
- ทล. 2 ท่าพระ – ขอนแก่น ช่วง กม.ที่ 329+913 (จุดกลับรถใต้สะพานกุดกว้าง) ระดับน้ำสูง 260 ซม. 


- ทล. 12 ขอนแก่น – พรหมนิมิตร ช่วง กม.ที่ 565+600 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามลำน้ำพอง) ระดับน้ำสูง 40 ซม. 


- ทล. 2065 พล – ลำชี ช่วง กม.ที่ 33+625 น้ำกัดเซาะคันทางสไลด์  


- ทล. 2065 พล – ลำชี ช่วง กม.ที่ 33+785 น้ำกัดเซาะคันทางสไลด์ 


- ทล. 2131 บ้านสะอาด – เหล่านางงาม ช่วง กม.ที่ 6+800 – 8+500 ระดับน้ำสูง 80 -90 ซม. ใช้ทางเลี่ยงทางหลวงหมายเลข 2062 บ้านทุ่ม-มัญจาคีรี กม.0 ไปออกทางหลวงหมายเลข 12 บ้านฝาง-ขอนแก่น กม.540 เข้าเมืองขอนแก่น 

2. จ.นนทบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)  


- ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 16+950 ระดับน้ำสูง 20-25 ซม. ใช้จุดกลับรถต่างระดับ  บางใหญ่ที่ กม.18+500 แทน  


- ทล. 302 สะพานพระนั่งเกล้า-ต่างระดับบางใหญ่ ช่วง กม.ที่ 17+000 ระดับน้ำสูง 20-25 ซม. ใช้จุดกลับรถใต้สะพานคลองบางไผ่ที่ กม.16+600 แทน  

- ทล. 307 แยกสวนสมเด็จ-สะพานนนทบุรี ช่วง กม.ที่ 0+942 (จุดกลับรถใต้สะพานนนทบุรี) ระดับน้ำสูง 70 ซม.ใช้จุดกลับรถด้านหน้าแทน

 

3. จ.สระบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)   
 

- ทล.3034  หน้าพระลาน-บ้านครัว ช่วง กม.ที่ 13+500-15+800 เป็นช่วงๆ ระดับน้ำสูง 20 ซม.

 

4. จ.อ่างทอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 5 แห่ง)  
 

- ทล.32  นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 32+607 (จุดกลับรถคลองกะท่อ) ระดับน้ำสูง 155 ซม.  
 

- ทล.32  นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 33+200  (จุดกลับรถใต้ท่อ Box Cul.) ระดับน้ำสูง 85 ซม.  
 

- ทล.32 นครหลวง-อ่างทอง ช่วง กม.ที่ 39+843 (จุดกลับรถวัดดอกไม้) ระดับน้ำสูง 50 ซม. 
 

- ทล.33 นาคู-ป่าโมก ช่วง กม.ที่ 36+200-36+400 (สี่แยกไฟแดงป่าโมก) ระดับน้ำสูง 10 ซม.  
 

- ทล.309 บางเสด็จ-แยกที่ดิน ช่วง กม.ที่ 52+200-53+000 (จุดกลับรถบางศาลา) ระดับน้ำสูง 230 ซม.  
 
5. จ.ลพบุรี  (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)   
   

- ทล.3024 บ้านหมี่ – เขาช่องลม ช่วง กม.ที่ 5+600 -7+300 ระดับน้ำสูง 40 ซม.  ใช้ทางเลี่ยงท้องถิ่นแทน

6. จ.พระนครศรีอยุธยา (การจราจรผ่านไม่ได้ 3 แห่ง)  

 

- ทล. 347 บางกระสั้น – บางปะหัน ช่วง กม.ที่ 40+860 (จุดกลับรถใต้สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา) ระดับน้ำสูง 50 ซม. ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน  

- ทล. 3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 10+940 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 180 ซม.  ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน  

 

- ทล. 3263 อยุธยา – ไผ่กองดิน ช่วง กม.ที่ 11+100 (จุดกลับรถใต้สะพานสีกุก) ระดับน้ำสูง 180 ซม.  ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน  

 

7 จ.สุพรรณบุรี (การจราจรผ่านไม่ได้ 2 แห่ง)  

- ทล. 33 สุพรรณบุรี - นาคู ช่วง กม.ที่ 9+886 (สะพานคลองทับน้ำ) ระดับน้ำสูง 80 ซม.  ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน  

- ทล. 340 สาลี - สุพรรณบุรี กม.ที่ 59+674 (สะพานศาลเจ้าแม่ทับทิม) ระดับน้ำสูง 125 ซม.  ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน  

 

8. จ.นครสวรรค์  (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)   


- ทล. 1 บ้านหว้า – วังไผ่  ช่วง กม.ที่ 339+600 (จุดกลับรถใต้สะพานเดชาติวงศ์) ระดับน้ำสูง 65 ซม.  ใช้ทางกลับรถข้างหน้าแทน   

 

9. จ.ระนอง (การจราจรผ่านไม่ได้ 1 แห่ง)   
 

- ทล.4 เลียบญวณ-กระบุรี ช่วง กม.ที่ 588-100 มีดินสไลด์ การจราจรผ่านไม่ได้ใช้ทางเลี่ยงบ้านหินช้าง-เขานางหงส์แทน

ทางหลวงเร่งฟื้นฟูพื้นที่น้ำลด-เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง

ทั้งนี้ ขอให้ประชาชนผู้ใช้เส้นทางหลวงเดินทางด้วยความระมัดระวังเพื่อความปลอดภัย พร้อมปฏิบัติตามป้ายเตือน ป้ายแนะนำและคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อย่างเคร่งครัด และหากประชาชนต้องการสอบถามสภาพเส้นทาง สภาพการจราจร หรือต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อได้ที่สำนักงานทางหลวง แขวงทางหลวง หมวดทางหลวงในพื้นที่ และสายด่วนกรมทางหลวง 1586  (โทรฟรีทุกเครือข่ายตลอด 24 ชั่วโมง) และสามารถติดตามการรายงานสถานการณ์สภาพเส้นทางได้ที่ทวิตเตอร์กรมทางหลวง @prdoh1


 

logoline