svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ถอดบทเรียน “น้ำท่วมปี54” สร้างความเสียหาย 1.4 ล้านล้านบาท

28 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

น้ำท่วมใหญ่ปี 2545 ครอบคลุมพื้นที่ 64 จังหวัด นับเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ รอบ 100 ปี ตัวเลขความเสียหาย ถึง 1.4 ล้านล้านบาท ผ่านมา 10 ปี ไทยกำลังเผชิญสถานการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลพายุ “เตี้ยนหมู่” ไปแล้ว 27 จังหวัด

28 กันยายน 2564 จากสถานการณ์น้ำท่วมจากอิทธิพลของพายุ "เตี้ยนหมู่" ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากในบางพื้นที่ของภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์น้ำท่วม มี 27 จังหวัด  รวม 120 อำเภอ 417 ตำบล 1,933 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 58,977 ครัวเรือน สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด อีก 23 จังหวัด อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ

 

มหาอุทกภัย ปี 2554

ย้อนไปปี 2545 นับจากวันที่ 25 ก.ค.น้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ และแผ่ขยายวงกว้างครอบคลุมพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งสิ้น 64 จังหวัด ซึ่งเป็นอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์เท่าที่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยในรอบ 100 ปี

 

ส่งผลให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชนเป็นจำนวนมหาศาล ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และบ้านเรือนของประชาชน รวมถึงหน่วยงานและธุรกิจการค้าต่างๆ ได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยมีประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 13 ล้านคน รวมกว่า 4 ล้านครัวเรือน

 

เสียหาย 1.4 ล้านล้านบาท

สถานการณ์รุนแรงขึ้นตามลำดับ จนเข้าสู่ช่วงวิกฤติสูงสุด ในเดือน ต.ค. โดย “น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรม” เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ จำนวน 7 แห่ง ในจังหวัดอยุธยา และปทุมธานีประเมินค่าความเสียหายของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมอยู่ที่ 2.4 แสนล้านบาท และโรงงานนอกนิคมอุตสาหกรรมอยู่ที่ 2.4 แสนล้านบาท ไม่เพียงภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร ทีพื้นที่ได้รับความเสียหาย 11.4 ล้านไร่

 

สมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้จัดการ “ค่าสินไหมทดแทน” กรณีมหาอุทกภัย ปี 2554 กว่า 4 แสนล้านบาท โดยความเสียหายจากน้ำท่วมในครั้งนี้สูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้ความเสียหายที่ผู้เอาประกันภัยเรียกร้องจำนวน 91,099 ราย มีจำนวนเงินเอาประกันภัยรวม 410,421,799,544.46 บาท

 

ถอดบทเรียน “น้ำท่วมปี54”  สร้างความเสียหาย 1.4 ล้านล้านบาท

 

บทเรียน “น้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรม”

 

“นายอานนท์ วังวสุ” นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย ได้ติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิด และแจ้งเตือนผู้เอาประกันภัย รวมถึงผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป ให้เตรียมการรับมือกับภัยน้ำท่วม เป็นห่วง “นิคมอุตสาหกรรม” ให้ป้องกันดูแลพื้นที่ตัวเองให้ดี อย่าซ้ำรอยปี 2554

 

“ความคุ้มครองในกรมธรรม์ประกันภัยภายหลังน้ำท่วม 2554 ได้มีการปรับเปลี่ยนไปจากเดิม ความคุ้มครองภัยธรรมชาติจากน้ำท่วม ลมพายุ และแผ่นดินไหวที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจไม่เพียงพอ เนื่องจากผู้เอาประกันภัยอาจไม่ได้ทำประกันภัยเพื่อคุ้มครองภัยธรรมชาติไว้เต็มมูลค่าของทรัพย์สิน ส่งผลทำให้ผู้เอาประกันภัยต้องรับความเสี่ยงไว้เองสูงขึ้นกว่าเดิม ดังนั้นการดำเนินการเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากภัยน้ำท่วมจึงเป็นสิ่งที่ผู้เอาประกันภัยรวมถึงผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปควรต้องมีการเตรียมพร้อมตั้งแต่ตอนนี้”

 

ถอดบทเรียน “น้ำท่วมปี54”  สร้างความเสียหาย 1.4 ล้านล้านบาท

 

นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เป็นกังวล คือ “นิคมอุตสาหรกรรม” จากกรณีน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางปู จ.สมุทรปราการ ฝนตกหนักจนระบายน้ำไม่ทัน

 

“อยากฝากเตือนกรมอุตสหากรรม ที่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชิณวัตร ให้เงินช่วยเหลือสร้างแนวป้องกันน้ำท่วม อยากให้มาสำรวจว่ายังแข็งแรงดีไหม กับปัญหาน้ำท่วมที่เกิด เรามัวแต่ป้องกันน้ำจากข้างนอกเข้ามา ปัญหาฝนตกเราห้ามไม่ได้ แล้วฝนตกลงข้างในเอาออกทันไหม อยากให้ดูเรื่องการระบายน้ำภายในด้วย เหมือนตอนน้ำท่วมนิคมอุตสาหกรรมบางปู ประตูระบายนำตรงสุวรรณภูมิไม่ได้เปิดให้ออก

 

การเตรียมการ ควรพยากรณ์ล่วงหน้าได้แล้ว ระบายน้ำสู่คลองใหญ่ ต้องเริ่มจากนิคมออกไปทางไหนที่ลงทะเลให้ไวที่สุด อย่ามั่วกลัวน้ำข้างนอกจะเข้า ตอนนี้ทุกฝ่ายต้องตื่นตัวแล้ว ประเทศไทยโดนอะไรอีกไม่ไหวแล้ว  ปัญหาเราไม่ได้มีด้านเดียว ” 

 

ถอดบทเรียน “น้ำท่วมปี54”  สร้างความเสียหาย 1.4 ล้านล้านบาท

 

นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย หยิบยกสถานการณ์จากต่างประเทศ อาทิ น้ำท่วมสูงทั่วพื้นที่ "นครนิวยอร์ก" ต้องประกาศภาวะฉุกเฉิน ระบบขนส่งสาธารณะหยุดให้บริการชั่วคราว ทั้งสนามบิน รถไฟฟ้าใต้ดิน และถนนเสียหาย เมื่อต้นเดือน ก.ย.  หรือ ฝนตกหนักทำให้น้ำท่วมฉับพลันในพื้นที่หลายส่วนของกรุงลอนดอน เมืองหลวงอังกฤษ สถานีรถไฟใต้ดินมีน้ำท่วมขัง

 

เป็นผลของปรากฏการณ์ “เอลนีโญ และลานีญา” การเปลี่ยนแปลงของสภาวะภูมิอากาศที่เกิดขึ้น ส่งผลทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลากหลายประเทศ และก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าที่สูงมากในปีนี้

 

โดยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นที่เยอรมัน ในเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา คาดว่าจะก่อให้เกิดความเสียหายมูลค่ากว่า 30,600 ล้านเหรียญสหรัฐ และมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนกว่า 8,300 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่น้ำท่วมที่มณฑลเหอหนานในประเทศจีนเนื่องมาจากฝน 1,000 ปี ก่อให้เกิดความเสียหายกว่า 20,630 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าจะมีการจ่ายค่าสินไหมทดแทนกว่า 1,700 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

จะเห็นได้ว่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากภัยน้ำท่วมในแต่ละเหตุการณ์นั้น มีทรัพย์สินเพียงส่วนน้อยที่ได้มีการทำประกันภัยรองรับเอาไว้ โดยผลการศึกษาในเรื่องดังกล่าวของ Fitch Ratings แสดงให้เห็นว่า ความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากภัยธรรมชาติในทวีปเอเชียที่ไม่ได้มีการทำประกันภัยไว้ อาจมีมูลค่าสูงถึง 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

“ที่ผ่านมาเรากังวลกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งน้ำท่วมทำให้เราอยู่ยากลำบากขึ้นแน่นอน การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจเป็นไปด้วยความยากลำบากยิ่งขึ้น สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นในพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซากอยู่เป็นประจำ ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ผมกังวลใจตั้งแต่เห็นน้ำท่วมรถไฟใต้ดินที่ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ไม่ได้อยากประชาชนตื่นตกใจ เรากำลังทุกข์กับโควิด แต่ก็พยายามออกมาเตือนเป็นระยะ ว่าจะเกิดมีโอกาสเกิดน้ำท่วม

 

ถอดบทเรียน “น้ำท่วมปี54”  สร้างความเสียหาย 1.4 ล้านล้านบาท

 

แต่ในกรุงเทพฯ ยังไม่น่าเป็นห่วง น้ำในเขื่อนใหญ่ยังไม่มีปริมาณสูงมาก แสดงว่าตอนบนฝนยังไม่เต็มที่ ไม่เหมือนน้ำท่วมปี54 แต่ลักษณะฝนมาจากฝนตกหนักบางพื้นที่ อย่างพื้นที่ท่วม เพชรบูรณ์ หล่มสัก สุโขทัย พิจิตร พิษณุโลก เป็นพื้นที่ลุ่มต่ำท่วมประจำ เขาใหญ่ปากช่องมาแป๊บเดียวอยู่ที่สูง มี จ.ชัยภูมิ ที่แปลกมาหน่อย ที่อื่นไม่มีอะไรเกิดความคาดหมาย เหมือนพัทยาใต้  2 วันน้ำก็หมด ”

 

ท้ายสุด เนื่องจากธุรกิจประกันวินาศภัยถือเป็นธุรกิจที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารความเสี่ยงให้กับระบบเศรษฐกิจและสังคมไทย สมาคมประกันวินาศภัยไทยจึงขอแจ้งเตือนผู้เอาประกันภัย ซึ่งเป็นลูกค้า รวมถึงประชาชนโดยทั่วไป และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ในการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกัน และรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อลดความสูญเสียที่จะเกิดต่อระบบเศรษฐกิจและประชาชนโดยรวม

 

ถอดบทเรียน “น้ำท่วมปี54”  สร้างความเสียหาย 1.4 ล้านล้านบาท

 

logoline