svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“น้องไฟฉายรุ่น 3” นวัตกรรมโคม UV-C ฆ่าเชื้อ COVID-19

02 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คณะแพทยศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ Smile Robotics และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมพัฒนานวัตกรรมโคม UV-C “น้องไฟฉาย รุ่นที่ 3” ฆ่าและทำลายเชื้อไวรัส COVID-19 เพื่อความปลอดภัยของบุคลากรด่านหน้า

2 กันยายน 2564  คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ Smile Robotics พัฒนา Robocovid UV-C หรือ “น้องไฟฉาย” ฆ่าเชื้อโรคและสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้บุคลากรทางการแพทย์

 

ซึ่งตั้งแต่มีการระบาดของเชื้อโควิด-19  คณะนวัตกรรมได้พัฒนาหุ่นยนต์มาแล้ว 2 รุ่น และล่าสุด คือ “น้องไฟฉายรุ่น 3” ที่มีประสิทธิภาพฆ่าเชื้อโรคได้เร็วและเข้มข้นกว่าเดิม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ใช้ฆ่าเชื้อช่วงที่ไม่มีคนอยู่ปฏิบัติการณ์ในห้อง เป็นการฆ่าเชื้อเบื้องต้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน ก่อนที่โรงพยาบาลจะทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออีกครั้งด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อต่าง ๆ

“น้องไฟฉายรุ่น 3” นวัตกรรมโคม UV-C ฆ่าเชื้อ COVID-19

 

น้องไฟฉาย ตั้งแต่รุ่นแรกจนรุ่นปัจจุบัน เป็นฝีมือการออกแบบของ คุณอดิศักดิ์ ดวงแก้ว วิศวกรหุ่นยนต์ แชมป์หุ่นยนต์กู้ภัยโลก 2 สมัย จาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และ Smile Robotics โดยออกแบบให้หลอด UV-C เป็นหลอดขนาดยาวแนวตั้ง มีความสูงเท่ากับมนุษย์ที่ปฏิบัติงานจริงๆ ติดล้อเพื่อให้สามารถเคลื่อนที่ได้และควบคุมได้จากระยะไกล

 

“น้องไฟฉายรุ่น 3” นวัตกรรมโคม UV-C ฆ่าเชื้อ COVID-19

 

 

“น้องไฟฉายรุ่น 3” นวัตกรรมโคม UV-C ฆ่าเชื้อ COVID-19

ดร.เจนยุกต์ โล่วัชรินทร์ ภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ อธิบายว่าในทางวิศวกรรม รังสี UV-C อยู่ในช่วงความยาวคลื่น 200 – 280 นาโนเมตร หรือเรียกว่าเป็นช่วง germicidal range ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงมากในการฆ่าเชื้อ ทั้งเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเชื้อรา "ความเข้มข้นของรังสี UV-C ที่ตกกระทบบนพื้นผิวมีความสำคัญกับการฆ่าเชื้อโรค เปรียบได้กับความเข้มข้นของสารเคมี ที่ใช้ฆ่าทำความสะอาดเชื้อโรค ถ้ารังสีเข้มข้นมากก็ใช้เวลาน้อย ถ้าเข้มข้นน้อยก็ต้องใช้เวลามากขึ้น"

 

 

 

ไวรัสโควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสที่ถูกฆ่าทำลายได้ง่ายอยู่แล้ว การทดสอบของทางคณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ผลสอดคล้องกับการทดสอบของทางคณะแพทย์และงานวิจัยในต่างประเทศ ที่พบว่าโดสความเข้มข้นของรังสีที่ใช้กับน้องไฟฉายสองรุ่นแรกสามารถฆ่าเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ 99.99 – 99.999 % ขึ้นไป แต่น้องไฟฉาย รุ่นที่ 3 ทำได้ดีกว่านั้น คณะผู้พัฒนาได้ปรับปรุงและพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการกระจายรังสี UV-C ได้เข้มข้นขึ้นในทุกทิศทุกทาง ช่วยร่นระยะเวลาในการฆ่าเชื้อลงเหลือเพียงจุดละ 3 นาที

logoline