svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ถอดบทเรียนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในต่างประเทศ

31 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หลายพื้นที่ของไทยกำลังเกิดน้ำท่วมหนัก ทำให้เกิดคำถามขึ้นมาอีกครั้งว่าแนวทางในการแก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างถาวรนั้นควรทำอย่างไร เรื่องนี้มีบทเรียนจากสหรัฐและเนเธอร์แลนด์ ติดตามได้จากรายงานของคุณชิบ จิตนิยม

16 ปีแห่งความหลัง กลับมาอีกครั้งเมื่อเฮอริเคนไอด้าถล่มภาคใต้ของรัฐหลุยเซียน่าในวันเดียวกับที่เฮอร์ริเคนแคทรี่น่าถล่มหลุยเซียนาและมิซซิสซิปปี้เมื่อ 29 สิงหาคม 2548 หรือเมื่อ 16 ปีที่แล้ว ต่างกันแค่ไอด้ายังไม่ร้ายแรงเท่ากับแคทรีน่าแต่ก็ถือว่าเป็นพายุที่รุนแรงที่สุดเป็นอันดับ 5 ในประวัติศาสตร์ของสหรัฐวัดความรุนแรงถึงระดับ 4 ด้วยความเร็วลมกว่า 230 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างความเสียหายใหญ่หลวงและทำให้หลุยเซียน่าจมอยู่ใต้น้ำอีกครั้ง เจ้าหน้าที่ท้องถิ่นยอมรับว่าคาดการณ์พลาดไปเพราะไอด้าที่ดูเหมือนว่าจะเป็นแค่พายุฝนฟ้าคะนองได้แปรสภาพอย่างรวดเร็วกลายเป็นเฮอริเคนภายใน 3 วัน จึงไม่ได้เตรียมการอพยพแต่เนิ่นๆ ประชาชนกว่าครึ่งล้านไม่มีไฟฟ้าใช้ แต่โชคดีที่พบการสูญเสียชีวิตที่น้อยมากเมื่อเทียบกับเฮอริเคนแคทรีน่าที่คร่าชีวิตประชาชนไปประมาณ 1800 คนแถมยังทำให้เขื่อนกั้นนำแตกหลายจุดสร้างหายนะให้กับเมืองนิวออลีนส์และบ้านเรือนชายทะเลในมิสซิสซิปปี้

35 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ในเมืองนิวออลีนส์อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลแต่มีการสร้างเขื่อนกันน้ำท่วมความวยาวหลายร้อยกิโลเมตรพร้อมประตูระบายน้ำ แต่พบว่าระบบไร้ประสิทธิภาพเพราะมีรอยรั่วของเขื่อนจำนวนมากเมื่อครั้งถูกเฮอริเคนแคทรีน่าถล่ม 50 เปอร์เซ็นต์ของเขตเมืองจีงจมอยู่ใต้น้ำไล่ตั้งแต่ไม่กี่นิ้วไปจนถึง 20 ฟุต

 

แนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาโดยเฉพาะจากรัฐบาลกลางของสหรัฐก็คือการเสนอซื้อพื้นที่ที่สุ่มเสี่ยงจะโดนน้ำท่วมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดหายนะซ้ำซากหลังจากเคยเกิดน้ำท่วมใหญ่ทั่วเขตมิดเวสต์ในปี 2536 ปรากฏว่าหลายเมืองเห็นด้วยกับแนวทางนี้ ทำให้รัฐบาลกลางสามารถซื้อพื้นที่ได้ถึง 25,000 แห่งเพื่อแปลงสภาพให้เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำหรือเว็ทแลนด์ทำหน้าที่เป็นจุดรับน้ำ เมื่อเกิดน้ำท่วมอีกครั้งจึงช่วยลดภาระได้มาก

แต่ที่ได้รับการยกย่องว่ามีระบบจัดการน้ำท่วมที่ใหญ่ที่สุดและมีประสิทธิภาพมากที่สุดจนกลายเป็นต้นแบบของการบริหารจัดการน้ำท่วมก็คือเนเธอร์แลนด์ซึ่งเคยเผชิญน้ำท่วมครั้งใหญ่เมื่อเกือบ 70 ปีที่แล้วจนมีผู้เสียชีวิตเกือบ 2 พันคน

 

จากชาติแรกที่ประดิษฐ์กังหันลมนับพันตัวเพื่อสูบน้ำออกจากทะเลสาบและทางน้ำต่างๆเพื่อป้องกันน้ำท่วม พัฒนาไปสู่การสร้างเขื่อนความยาวกว่า 32 กิโลเมตร กั้นทะเลสาบออกจากทะเลเหนือ มีพื้นที่ถึง 1,650 ตารางกิโลเมตรเป็นพื้นที่ระบายน้ำ ประกอบด้วยสถานีสูบน้ำจำนวนมาก ภายใต้โครงการเดลต้าเวิร์กส์ซึ่งทุกวันนี้ก็ยังคงพัฒนาวิธีการป้องกันน้ำท่วมอยู่เสมอ รวมถึงแนวคิดในการเก็บน้ำไว้ใต้ดิน หริอเก็บน้ำไว้ในลานจอดรถขนาดใหญ่ แม้แต่การเปลี่ยนสนามเด็กเล่นในภาวะปกติให้กลายเป็นทะเลสาบขนาดเล็กระหว่างฝนตกหนัก ชี้ให้เห็นว่าเนเธอร์แลนด์ใส่ใจในทุกรายละเอียดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วม

 

เนเธอร์แลนด์และไทยมีลักษณะใกล้เคียงกันเพราะมีพื้นที่ตั้งอยู่บนที่ราบปากแม่น้ำและมีบางพื้นที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลทำให้เสี่ยงน้ำท่วมโดยเฉพาะเมื่อน้ำทะเลหนุนซื่งทำให้ยากต่อการระบายน้ำลงสู่ทะเล ความสำเร็จของเนเธอร์แลนด์เป็นสิ่งที่หลายประเทศทั่วโลกพยายามถอดบทเรียนในทุกครั้งที่ธรรมชาติให้บทเรียนด้วยน้ำท่วมใหญ่

logoline