svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

สวรส.ชี้ "สายพันธุ์ใหม่" เร่งพัฒนาองค์ความรู้สู่การรักษา - วัคซีน

30 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากข้อมูลการติดเชื้อโควิด-19 ล่าสุด พบทั่วโลกกว่า 212 ล้านราย เสียชีวิตกว่า 4 ล้านราย แม้ประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือในยุโรป ที่การสาธารณสุขมีประสิทธิภาพ ก็ยังไม่สามารถควบคุมการระบาดได้ดี กระทบเศรษฐกิจ ขาดแคลนอุปกรณ์แพทย์ และระบบสุขภาพในภาพรวม

ดร.จุไรรัตน์ พรหมใจ ผจก.งานวิจัยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)กล่าวว่า ปัญหาการระบาดของโรคโควิด-19 จากเชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ จำเป็นต้องศึกษาค้นคว้าวิจัยอีกมากและอย่างเร่งด่วนสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) จึงได้สนับสนุนทุนโครงการ “การศึกษาโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โควิด-19) : งานวิจัยไวรัสวิทยา การศึกษาข้อมูลการตรวจวินิจฉัย การรักษา และการพัฒนาวัคซีน” 

 

เมื่อสรุป องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 จากงานวิชาการหลากหลายแหล่งในระดับชาติและนานาชาติ ตลอดจนความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนางานวิจัยสร้างองค์ความรู้เชิงโนบายสาธารณและนวัตกรรม เพื่อการแก้ปัญหาโรคโควิด-19 ในประเทศไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคตต่อไป

สวรส.ชี้ "สายพันธุ์ใหม่" เร่งพัฒนาองค์ความรู้สู่การรักษา - วัคซีน

ผศ.ดร.ไตรวิทย์ รัตนโรจนพงศ์ นักวิจัยเครือข่ายสวรส. สังกัดภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวถึงงานวิจัยเรื่องนี้ว่า  มีประเด็นสำคัญต่างๆ เช่น วิวัฒนาการระดับโมเลกุลและจีโนไทป์ของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ซึ่งมีผลการศึกษาระบุว่า การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าในอดีต  เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือซาร์ส (SARS-CoV)และโรคทางเดินหายใจตะวันออกกลาง (MERS-CoV) ล้วนชี้ให้เห็นว่า ไวรัสเหล่านี้มีศักยภาพสูงในการติดและแพร่กระจายเชื้อไปได้ในวงกว้าง ซึ่งพบว่าการกลายพันธุ์ในจีโนมหรือพันธุกรรมของเชื้อที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงลำดับกรดอะมิโน หรือที่เรียกว่า nonsynonymous substitution มีความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งต่อความสามารถในการติดและแพร่กระจายตัวของเชื้อ

 

ในกรณีของการกลายพันธุ์ในส่วนของโปรตีน Spike ของเชื้อไวรัสโคโรน่านั้น จะมีส่วนสำคัญต่อการเพิ่มศักยภาพให้เชื้อไวรัสสามารถเปลี่ยนไปติดเชื้อในสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ ได้ และยังพบด้วยว่าการกลายพันธุ์เพียงกรดอะมิโนเดียว ก็ส่งผลกระทบรุนแรงต่อการทำลายเซลล์ของผู้รับเชื้ออีกด้วย

สวรส.ชี้ "สายพันธุ์ใหม่" เร่งพัฒนาองค์ความรู้สู่การรักษา - วัคซีน

แต่เนื่องจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 เป็นเชื้อไวรัสอุบัติใหม่ ที่รู้จักเมื่อปลายปี 2562 ดังนั้นจึงมีการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงวิวัฒนาการระดับโมเลกุล เพื่อค้นหาแหล่งที่มาของเชื้อชนิดนี้ มีการศึกษาจำนวนมากที่พยายามพิสูจน์ว่า เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มีสารรหัสพันธุกรรม รวมถึงจีโนมคล้ายกับเชื้อไวรัสโคโรน่าของค้างคาว ผลการวิเคราะห์จากนักวิจัยหลายแหล่งข้อมูล ชี้ตรงกันว่าลำดับนิวคลีโอไทด์จากชิ้นส่วนของยีนสำคัญๆ ของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มีวิวัฒนาการใกล้ชิดกับเชื้อไวรัสโคโรน่าที่แยกจากค้างคาว เนื่องจากเชื้อทั้ง 2 ชนิดนี้ มีบรรพบุรุษร่วมกัน(common ancestor)ทำให้อนุมานได้ว่าเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 น่าจะวิวัฒนาการมาจากการกลายพันธุ์ ซึ่งทำให้เชื้อมีความสามารถที่จะจับกับโมเลกุลตัวรับบนเซลล์มนุษย์ จนทำให้เกิดการติดเชื้อไปสู่คนในที่สุด

 

ทีมวิจัยยังพบว่า การศึกษาเกี่ยวกับจีโนไทป์(genotyping)หรือข้อมูลทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัส เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้เข้าใจการระบาดของเชื้อและสามารถช่วยวางนโยบายในการป้องกันการระบาดของโรคได้ด้วย ในทางทฤษฎีการศึกษาจีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตชนิดใดๆ ควรเริ่มต้นจากการเข้าใจวิวัฒนาการเชิงโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นก่อน ในกรณีของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ก็เช่นเดียวกัน 

 

อย่างไรก็ตามการสร้างแผนภูมิที่แสดงถึงสายวิวัฒนาการphylogenetic tree เพื่อศึกษาระบาดวิทยาโมเลกุล และความหลากหลายทางชีวภาพของไวรัส ยังเป็นความต้องการของประเทศอย่างมาก เนื่องจากจะช่วยให้เห็นรูปแบบการระบาดของเชื้อแล้วยังมีบทบาทต่อการวางนโยบายทางสาธารณสุขเพื่อป้องกันต่อไป”

สวรส.ชี้ "สายพันธุ์ใหม่" เร่งพัฒนาองค์ความรู้สู่การรักษา - วัคซีน

logoline