svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ทำความเข้าใจ "ประกันสังคมมาตรา 40" จ่ายเงินสมทบ 3 ทางเลือก ต่างกันอย่างไร?

21 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สรุปให้เข้าใจง่าย ประกันสังคมมาตรา 40 มี 3 ทางเลือก รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ต่างกันอย่างไรบ้าง แต่ละทางเลือกมีรายละเอียดอย่างไร เรารวมไว้จบในที่เดียวที่นี่

21 สิงหาคม 2564 ประกันสังคมมาตรา 40 ถูกกล่าวถึงอย่างมาก จากมาตรการเยียวยานายจ้างและผู้ประกันตนในกิจการที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการของรัฐในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 29 จังหวัด 

 

การสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 นอกจากเพื่อรับสิทธิเงินเยียวยา 5,000 บาท ตามมาตรการเยียวยาโควิดล่าสุดแล้ว ผู้ประกันตน ประกันสังคมมาตรา 40 ยังได้รับความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ ซึ่งมี 3 ทางเลือก คือ

 

  • ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน 
  • ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน 
  • ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน

 

ก่อนที่จะกล่าวถึงการสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 40 ช่องทางการสมัคร ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ สิ่งหนึ่งที่ควรรู้ คือ คุณสมบัติผู้สมัคร

 

คุณสมบัติผู้สมัครประกันสังคมมาตรา40

  • มีสัญชาติไทย
  • อายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์
  • แรงงานอิสระหรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ
  • ไม่เป็นลูกจ้างในบริษัท ห้างร้าน โรงงาน (ม.33)
  • ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจ  (ม.39)
  • ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ
  • ผู้ถือบัตรประจำตัวคนซึ่งไม่มีสัญชาติไทยขึ้นต้นด้วยเลข 0,6,7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย000)
  • ผู้พิการที่รับรู้สิทธิก็สมัครได้

 

ทำความเข้าใจ "ประกันสังคมมาตรา 40" จ่ายเงินสมทบ 3 ทางเลือก ต่างกันอย่างไร?

ความคุ้มครองและสิทธิประโยชน์ประกันสังคม

ทางเลือกที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน  ผู้ประกันตนได้รับความคุ้มครอง ดังนี้..

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้

  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
  • ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป  วันละ 200 บาท
  • เงื่อนการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน(ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพล รับเงินทดแทนการขาดรายได้

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน(ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500-1,000 บาท
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา 15 ปี
  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต

  • ได้รับเงินค่าทำศพ ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล

  • สะสมบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ(ได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) ไม่คุ้มครอง
  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม ไม่คุ้มครอง
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ ไม่คุ้มครอง

5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับรายเดือน

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์(จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) ไม่คุ้มครอง

 

ทางเลือกที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน  ผู้ประกันตนได้รับความคุ้มครอง ดังนี้..

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้

  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก (ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป  วันละ 200 บาท
  • เงื่อนการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน(ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ครั้งละ 50 บาท

2.กรณีทุพพล รับเงินทดแทนการขาดรายได้

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน(ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500-1,000 บาท
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระยะเวลา 15 ปี
  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ

  • ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 25,000 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ได้รับเงินเพิ่ม 8,000 บาท

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล

  • สะสมบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ(ได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) 50 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม ไม่คุ้มครอง
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท

5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับรายเดือน

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์(จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) ไม่คุ้มครอง

 

ทางเลือกที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน  ผู้ประกันตนได้รับความคุ้มครอง ดังนี้

1.กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย รับค่าทดแทนขาดรายได้

  • ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป วันละ 300 บาท
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) ใบรับรองแพทย์ให้หยุด 3 วันขึ้นไป  วันละ 200 บาท
  • เงื่อนการรับสิทธิ ผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกหยุดรวมกัน ไม่เกิน 90 วัน/ปี
  • ผู้ป่วยนอก(ไม่นอนโรงพยาบาล) หยุดไม่เกิน 2 วัน(ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง) ไม่คุ้มครอง

2.กรณีทุพพล รับเงินทดแทนการขาดรายได้

  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้รายเดือน(ขึ้นกับระยะเวลาส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน) 500-1,000 บาท
  • ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นระนะเวลา ตลอดชีวิต
  • เสียชีวิตระหว่างทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท

3.กรณีเสียชีวิต ได้รับเงินค่าทำศพ

  • ผู้จัดการศพ ได้รับค่าทำศพ 50,000 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 60 เดือนก่อนเสียชีวิต ไม่คุ้มครอง

4.กรณีชราภาพ ได้รับเงินก้อนพร้อมดอกผล

  • สะสมบำเหน็จชราภาพ(เงินออม)จากเงินสมทบ เดือนละ(ได้รับเมื่ออายุครบ 60 ปี และสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน) 150 บาท
  • จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือน รับเงินเพิ่ม 10,000 บาท
  • ผู้ประกันตนจ่ายเงินออมเพิ่มได้ ไม่เกินเดือนละ ออมเพิ่มได้ 1,000 บาท

5.กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับรายเดือน

  • ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรแรกเกิด ถึง 6 ปีบริบูรณ์(จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 36 เดือน) คนละ 200 บาท(คราวละไม่เกิน 2 คน)

 

ทำความเข้าใจ "ประกันสังคมมาตรา 40" จ่ายเงินสมทบ 3 ทางเลือก ต่างกันอย่างไร?

ช่องทางสมัครเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา40 

  • เว็บไซต์ www.sso.go.th
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
  • Big C ซุปเปอร์เซ็นเตอร์
  • เซเว่น-อีเลฟเว่น

หลักฐานการสมัคร 

  • ใช้บัตรประชาชน เพียงใบเดียวเท่านั้น
  • ช่องทางจ่ายเงินสมทบ

สามารถชำระเงินผ่านช่องทางที่สะดวก ได้แก่

  • เคาน์เตอร์เซอร์วิส (7-11)
  • เคาน์เตอร์เทสโก้โลตัส
  • เคาน์เตอร์บิ๊กซี
  • เคาน์เตอร์เซ็นเพย์
  • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
  • Mobile Application ShoppyPay
  • ตู้บุญเติม

ทั้งนี้ ฟรีค่าธรรมเนียมทุกช่องทาง

 

สำหรับการจ่ายเงินสมทบผู้ประกันตนมาตรา 40  ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564 ราชกิจจานุเบกษา ได้ประกาศพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยกำหนดหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายเงินสมทบประเภทของประโยชน์ทดแทน ตลอดจนหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขแห่งสิทธิในการรับประโยชน์ทดแทนของบุคคลซึ่งสมัครเป็นผู้ประกันตน และมีผลบังคับใช้แล้ว

 

โดยมีใจความในการลดเงินสมทบเป็นระยะเวลา 6 เดือน ในงวดเดือนสิงหาคม 2564 – มกราคม 2565 ให้ผู้ประกันตนมาตรา 40 จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ในอัตราใหม่ 3 ทางเลือก ดังนี้..

 

ทางเลือกที่ 1 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน ในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย จากเดิมจ่ายในอัตรา 70 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่ เป็น 42 บาท/เดือน

 

ทางเลือกที่ 2 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และกรณีชราภาพ จากเดิมจ่ายในอัตรา 100 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 60 บาท/เดือน

 

ทางเลือกที่ 3 ให้ผู้ประกันตนซึ่งจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ชราภาพ และกรณีสงเคราะห์บุตร จากจากเดิมจ่าย ในอัตรา 300 บาท/เดือน จ่ายอัตราใหม่เป็น 180 บาท/เดือน

 

ทำความเข้าใจ "ประกันสังคมมาตรา 40" จ่ายเงินสมทบ 3 ทางเลือก ต่างกันอย่างไร?

ขอบคุณข้อมูล : ฐานเศรษฐกิจ

logoline