svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"กรมศิลป์" เผย พบหลุมฝังศพ 24 หลุม สมัยสำริด อายุประมาณ 3,000-4,000 ปี

02 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมศิลปากรเผยผลศึกษาขุดค้นแหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะพบเป็นแหล่งฝังศพสมัยสำริด เตรียมขอใช้ที่ราชพัสดุพัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้โบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของกาญจนบุรี

2 สิงหาคม 2564 นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากรได้ทำการขุดค้นศึกษาแหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ช่วงหินใหม่จนถึงสมัยโลหะ ซึ่งการค้นพบสำคัญในครั้งนี้  คือ การขุดพบพื้นที่ผลิตโลหะสำริด กำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ได้ระหว่าง ๒,๔๙๑ - ๓,๐๘๓ ปีมาแล้ว กำหนดอายุทางวิทยาศาสตร์ได้ระหว่าง 2,491 - 3,083 ปีมาแล้ว รวมทั้งการขุดค้นพบหลุมฝังศพสมัยสำริด โดยปัจจุบันขุดพบหลุมฝังศพแล้วจำนวน 24 หลุม 

แหล่งเรียนรู้โบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ

เมื่อนำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า สามารถเชื่อมโยงการใช้พื้นที่ได้ว่า มีการตั้งถิ่นฐานมาตั้งแต่สมัยหินใหม่ ซึ่งปรากฏแหล่งฝังศพขนาดใหญ่อยู่บริเวณแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า (แหล่งนายบางและนายลือ) ริมห้วยแมงลักซึ่งเป็นสาขาของแม่น้ำแควน้อย ต่อมาในสมัยสำริดได้เปลี่ยนสถานที่ฝังศพมายังริมแม่น้ำแควน้อย คือบริเวณแหล่งโรงเรียนวัดท่าโป๊ะแห่งนี้ จนกระทั่งในสมัยเหล็กได้ขยายการใช้พื้นที่ลงใต้ไปตามแม่น้ำ 

แหล่งเรียนรู้โบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ

จึงกล่าวได้ว่าแหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ เป็นตัวแทนของสมัยสำริด ที่ทำให้นักโบราณคดีทราบถึงพัฒนาการทางสังคมของชุมชนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่ตำบลบ้านเก่า ไล่เรียงตั้งแต่สมัยหินใหม่ สมัยสำริด และสมัยเหล็กได้อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นการเติมเต็มช่องว่างของหลักฐานทางโบราณคดีในช่วงเวลาที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์

แหล่งเรียนรู้โบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า แหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ มีความสำคัญในทางวิชาการโบราณคดีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ของพื้นที่ โดยทางกรมศิลปากรพร้อมที่จะพัฒนาเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในลักษณะของหลุมขุดค้นเปิด (Site Museum) โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า 

ทั้งนี้ แหล่งโบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ ตั้งอยู่ในที่ราชพัสดุ ทางกรมศิลปากรจึงได้ดำเนินการขอใช้พื้นที่ดังกล่าวจากกรมธนารักษ์ตามระเบียบต่อไป

แหล่งเรียนรู้โบราณคดีโรงเรียนวัดท่าโป๊ะ
ข่าว : Nation Online

ภาพ : กรมศิลปากร

logoline