svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

เปิดข้อกฎหมายว่าด้วย "คาร์ม็อบ" ผิดกฏหมายหรือไม่

02 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เปิดข้อกฎหมายว่าด้วย "คาร์ม็อบ" การประท้วงรูปแบบใหม่ ลดความเสี่ยงแพร่ระบาดเชื้อโรค ผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และพ.ร.บ.ควบคุมโรค จริงหรือไม่

นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บก.ลายจุด ได้เชิญชวนคนมาทำกิจกรรม CAR-MOB หรือการจัดขบวนประท้วงรัฐบาลในลักษณะของการชุมนุมโดยใช้รถยนต์ส่วนตัวของใครของมัน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดโควิด พร้อมบีบแตรไล่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี 

 

โดยที่มาของการบีบแตรไล่นั้น นายสมบัติ ให้เหตุผลว่า "เวลาขับรถไปเจอทางโค้งที่มองไม่เห็นกันหรือมุมอับ คนทั่วไปมักจะบีบแตรเป็นสัญญาณอัตโนมัติ จึงนำมาประยุกต์เข้ากับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันที่มองไม่เห็นอนาคต" โดยได้ทำหนังสือถึงตำรวจเพื่อชี้แจงว่าการบีบแตรของเรา ไม่ได้มีเจตนาก่อกวนประชาชนทั่วไป เป็นการแสดงออกทางการเมือง

  เปิดข้อกฎหมายว่าด้วย "คาร์ม็อบ" ผิดกฏหมายหรือไม่ เปิดข้อกฎหมายว่าด้วย "คาร์ม็อบ" ผิดกฏหมายหรือไม่

พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล เตือนกลุ่มผู้ชุมนุมว่าในขณะนี้กรุงเทพฯ ถูกประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด การชุมนุม การรวมตัวหรือการจัดกิจกรรมต่างๆ ตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป หรือจัดกิจกรรมในลักษณะที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของเชื้อโรค เป็นความผิดตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และอาจเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมโรค นอกจากนี้การชุมนุมในลักษณะคาร์ม็อบ โดยมีการใช้รถจักรยานยนต์ รถยนต์ ขับไปในพื้นที่ต่างๆ โดยมีการบีบแตร ส่งเสียง อาจจะกีดขวางการจราจร หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น จะเป็นความผิดตามกฎหมายอีกส่วนหนึ่งด้วย

  เปิดข้อกฎหมายว่าด้วย "คาร์ม็อบ" ผิดกฏหมายหรือไม่

อย่างไรก็ตามหลังจากเปิดข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ พ.ร.บ.จราจรทางบกฯ หรือ พ.ร.บ.ส่งเสริมสิ่งแวดล้อมฯ พบว่า แค่การทำ CAR-MOB ไม่ได้เป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ต้องมีการกระทำความผิดเป็นพิเศษ เช่น รวมกลุ่มที่ก่อให้เกิดการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างบุคคล การใช้เสียงเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด หรือการขับรถโดยประมาทไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น

เปิดข้อกฎหมายว่าด้วย "คาร์ม็อบ" ผิดกฏหมายหรือไม่

ประกอบกับเมื่อเปรียบเทียบกับกรณี CAR-MOB จะพบว่า มีความพยายามในการลดการรวมกลุ่มที่ทำให้เกิดการสัมผัสใกล้ชิดระหว่างบุคคล เป็นการรวมกลุ่มที่มีระยะห่างเหมือนการขับรถบนท้องถนน ดังนั้น กรณี CAR-MOB จะเป็นความผิดฐานฝ่าฝืนข้อกำหนด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ หรือไม่ ต้องดูลักษณะการรวมกลุ่มของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเป็นสำคัญ

  เปิดข้อกฎหมายว่าด้วย "คาร์ม็อบ" ผิดกฏหมายหรือไม่

อีกทั้งจากผลวิจัยในห้องทดลองหลายประเทศ ยืนยันตรงกันว่าการรวมตัวในพื้นที่โล่งแต่อากาศถ่ายเท ไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเทียบเท่ากับอากาศไม่ถ่ายเทและห้องปิด ปัจจัยในการลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ส่วนหนึ่งมาจากการถ่ายเทของอากาศ เพราะฉะนั้นต่อให้มีการรวมตัวกันในรูปแบบของการชุมนุม ไม่ได้หมายความว่าจะมีการแพร่กระจายของเชื้อโรคในวงกว้างแต่อย่างใด

  เปิดข้อกฎหมายว่าด้วย "คาร์ม็อบ" ผิดกฏหมายหรือไม่

เมื่อเปิดดูข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้เสียง จะพบว่า "การบีบแตร" ในกิจกรรม CAR-MOB จะเป็นความผิดได้ก็ต่อเมื่อใช้เสียงเกินกว่าที่ พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมกำหนด โดยหลักเกณฑ์ของการใช้เสียงถูกกำหนดไว้ในประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) ว่า ระดับเสียงโดยทั่วไปคือ ต้องไม่มีค่าระดับเสียงสูงสุดเกิน 115 เดซิเบลเอ และค่าระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ไม่เกิน 70 เดซิเบลเอ

  เปิดข้อกฎหมายว่าด้วย "คาร์ม็อบ" ผิดกฏหมายหรือไม่

ทั้งนี้ พ.ร.บ.จราจรทางบก ได้กำหนดเสียงแตรสัญญาณไว้แล้วว่า ให้มีได้แค่เสียงเดียวและดังไม่น้อยกว่า 90 – 115 เดซิเบลเอ ดังนั้น การบีบแตรในกิจกรรม CAR-MOB จึงเป็นไปได้ยากที่จะมีความผิดฐานก่อความเดือดร้อนหรือมลพิษทางเสียง อีกทั้งยังเป็นการชุมนุมระยะสั้นจึงเป็นการใช้เสียงที่จำกัดวง ถึงแม้ว่าอาจก่อความรำคาญแก่ผู้ร่วมทางแต่ไม่ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบได้

 

เมื่อเปิดดูข้อกฎหมายเกี่ยวกับการใช้ยานพาหนะ อาทิ พ.ร.บ.จราจรทางบกจะพบว่า การทำ CAR-MOB จะเป็นความผิดได้ ต้องเป็นการกระทำความผิดตาม มาตรา 43 อย่างเช่น การขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร หรือ การขับรถโดยประมาทหรือน่าหวาดเสียว อันอาจเกิดอันตรายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน หรือ การขับรถโดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยหรือความเดือดร้อนของผู้อื่น ดังนั้น ถ้าการทำ CAR-MOB เป็นการขับขี่รถยนต์คล้ายปกติทั่วไป และจะมีการบีบแตรไล่รัฐบาล การขับรถดังกล่าวไม่ได้เป็นการขับรถที่อันตรายจนจะเกิดความเสียหายหรือสร้างความเดือดร้อนและไม่ปลอดภัยให้กับผู้ใช้รถผู้ใช้ถนนรายอื่นๆ  เปิดข้อกฎหมายว่าด้วย "คาร์ม็อบ" ผิดกฏหมายหรือไม่ ส่วนกรณีที่ตำรวจอ้างว่า ถ้ากระทำผิด พ.ร.บ.จราจรทางบก ให้ถือว่ารถเป็นรถที่ใช้ในการกระทำความผิด พนักงานสอบสวนอาจจะดำเนินการยึดรถไว้เป็นของกลางได้นั้น เป็นเรื่องจริงที่ตำรวจกระทำได้ แต่ต้องกระทำภายใต้การร้องต่อศาลให้ริบทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ไม่ใช่ตำรวจมีอำนาจในการยึดหรือริบทรัพย์ด้วยตัวเอง 

 

logoline