svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

จนท.เฝ้า 24 ชม.ไล่ "ช้างป่ากุยบุรี" ไม่ให้เข้าใกล้ชุมชน

30 กรกฎาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชุดลาดตระเวนผลักดันช้างป่าที่1(เขาหุบเต่า) ร่วมกับทหารชุดเฉพาะกิจจงอางศึก ร่วมกันผลักดันช้างป่าในอช.กุยบุรี ไม่ให้เข้าใกล้ชุมชน และป้องกันอันตรายให้กับผู้ใช้รถใช้ถนน

30 กรกฎาคม 2564 นายสงัด แจ่มแจ้ง หัวหน้าชุดลาดตระเวนผลักดันช้างป่าที่1 ได้รับรายงานจากชุดลาดตระเวนผลักดันช้างป่าที่1 (เขาหุบเต่า) ร่วมกับทหารชุดเฉพาะกิจจงอางศึก ว่า เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2564 ที่ผ่านมา  ชุดเจ้าหน้าที่ปฎิบัติการดูแลควบคุมปัญหาช้างป่า-และเฝ้าระวังช้างป่า ไม่ให้เข้าไปหากินในพื้นที่ชุมชน และดูแลความปลอดภัยประชาชนตามเส้นทางสายเขาหุบเต่า-พุไทร-ไทรเอน ตำบลห้วยสัตว์ใหญ่ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

จนท.เฝ้า 24 ชม.ไล่ "ช้างป่ากุยบุรี" ไม่ให้เข้าใกล้ชุมชน

นายสงัด บอกว่า การผลักดันช้างป่า ถือเป็นการดูแลความปลอดภัยช้าง กับคน ในบริเวณพื้นที่ล่อแหลมเสียงต่อการเกิดปัญหาช้างป่าเดินข้ามถนนเวลาที่นักท่องเที่ยวและชุมชนในพื้นที่สัญจรไปมาตามเส้นทางสายหลัก

สำหรับผลการดำเนินงานเป็นดังนี้
1.เวลา17.10น.พบเห็นช้างใหญ่มีงาคู่สมบูรณ์1ตัว (บุญช่วย) ยืนอยู่บนถนนบริเวณกม.20พิกัดUTM(WGS84)47P
0562408  E1388128 N จึงทำการผลักดันช้างให้กลับเข้าป่าและเฝ้าระวัง ไม่ให้ออกมานอกพื้นที่

2.)เวลา19.19น. พบเห็นช้างรุ่น1ตัวหากินอยู่ขอบถนนที่กม.16พิกัดUTM
(WGS84)47P 0566171 E1389348 N จึงผลักด้นช้างให้กลับเข้าป่าและเฝ้าระวังช้างตลอด 24 ชั่วโมง

สำหรับชุมชนรอบพื้นที่แนวเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรีด้านทิศตะวันออก ได้รับผลกระทบจากการที่ช้างป่าออกมาทำลายพืชผลเกษตรของชาวบ้าน โครงการอนุรักษ์สัตว์ป่ากุยบุรี WWF ประเทศไทย ร่วมกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรี หน่วยงานภาครัฐ เอกชน และชุมชน ได้ร่วมมือกันเพื่อหาทางออกให้คน และช้างป่าสามารถอยู่ร่วมกัน ได้ ซึ่งจากข้อมูลสถิติในปี 2560 พบว่า มีการพบช้างป่าออกมาในพื้นที่การเกษตรที่อยู่ตามแนวเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรีด้านทิศตะวันออก เป็นจำนวนครั้งที่บ่อยขึ้น ทั้งตอนบน ตอนกลาง และตอนล่างของอุทยานแห่งชาติกุยบุรี 

จนท.เฝ้า 24 ชม.ไล่ "ช้างป่ากุยบุรี" ไม่ให้เข้าใกล้ชุมชน

ในปี พ.ศ. 2561 โครงการเฝ้าระวังช้างป่า ด้วยระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Kuiburi SMART early warning system) โดยความร่วมมือระหว่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กับ บมจ. ทรู คอร์เปอเรชั่น มี WWF ประเทศไทย เป็นฝ่ายประสานงาน และดำเนินงานติดตามระบบ และดูแล Command Center ในการบริหารจัดการระบบร่วมกับอุทยานแห่งชาติกุยบุรี โดยได้เริ่มนำระบบมาทดลองใช้และนำข้อมูลมาใช้ในการปรับปรุงระบบการเฝ้าระวัง และผลักดันช้างป่าในพื้นที่ แม้ว่าจะยังมีช้างป่าออกมาในพื้นที่การเกษตรของชาวบ้านอยู่บ้าง แต่การมีระบบเตือนภัยล่วงหน้านี้ทำให้เจ้าหน้าที่ สามารถเข้ามาผลักดันช้างป่าให้กลับเข้าสู่ป่าได้รวดเร็ว และทันเวลาก่อนเกิดความเสียหายได้มากขึ้น

จนท.เฝ้า 24 ชม.ไล่ "ช้างป่ากุยบุรี" ไม่ให้เข้าใกล้ชุมชน

logoline