svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เริ่มแล้ว!! กองทัพบก เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา

29 กรกฎาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กองทัพบก เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา 2 เที่ยวบินแรก จากกรุงเทพฯ ไปนครพนม เน้นมาตรการปลอดภัยทางการบินสูงสุด ทั้งผู้ป่วย-ทีมแพทย์-ทีมนักบิน รองรับนโยบายของรัฐบาล ที่กระจายการรักษา

29 กรกฎาคม 2564 เมื่อเวลา 10.00 น. กองทัพบก โดยกรมการขนส่งทหารบก ทำการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 จากกรุงเทพมหานคร กลับ จ.นครพนม ด้วยเครื่องบินลำเลียง C295 หรือ คาซ่า

 

กองทัพบก เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา


พันเอก อิทธินันท์ โชติช่วง รองผู้อำนวยการกองวิทยาการ (แพทย์เวชศาสตร์การบิน) กรมแพทย์ทหารบก บอกว่า การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยกลับภูมิลำเนาต้องอยู่ภายใต้มาตรการปลอดภัยสูงสุด ไม่ว่าจะเป็นระบบป้องกันตัว รวมทั้งระบบภายในอากาศยาน

 

กองทัพบก เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา

 

โดยวันนี้จะทำการบิน 2 เที่ยวบิน เที่ยวบินแรกมีผู้ป่วย 20 ราย และเที่ยวบินที่ 2 อีก 20 ราย ซึ่งเจ้าหน้าที่จะดูแลภาพรวมการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยด้วยอากาศยานทั้งหมด ตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึง คัดกรอง จนถึงลำเลียงขึ้นอากาศยาน โดยจะมีแพทย์และพยาบาลด้านเวชศาสตร์การบิน ร่วมปฏิบัติหน้าที่บนเครื่องด้วย

 

ทั้งนี้ นโยบายของ พลเอก ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก คือต้องการให้ผู้ป่วยโควิดกลับภูมิลำเนาเพื่อทำการรักษา เพราะปัจจุบันเตียงผู้ป่วยโควิดในกรุงเทพฯ มีจำกัด ซึ่งการลำเลียงผู้ป่วยกลับภูมิลำเนา ไม่ใช่มีแค่อากาศยานของกองทัพบก แต่ยังมีการเคลื่อนย้ายทางรถยนต์

 

กองทัพบก เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา

 

สำหรับการดูแลผู้ป่วยก่อนลำเลียงขึ้นอากาศยาน จะต้องมีการคัดกรอง และเลือกผู้ป่วยที่มีความพร้อมก่อน โดยเป็นการทำงานร่วมกันหลายส่วน ทั้งสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) และสถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน เพื่อคัดกรองผู้ป่วยทั้งหมด ประสานงานตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางในการรวบรวมจำนวนผู้ป่วยที่จะส่งต่อกลับภูมิลำเนา และจะต้องขึ้นอยู่กับความพร้อม ซึ่งจะเน้นผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก มีความแข็งแรงในระดับหนึ่งที่จะสามารถเคลื่อนย้ายได้ด้วยอากาศยาน เพราะในระหว่างการบินบนอากาศ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายมนุษย์จะเกิดขึ้น จากพื้นที่ด้านล่างไปสู่พื้นที่สูง

ทั้งนี้ ไม่มีการเลือกว่าจะส่งต่อผู้ป่วยด้วยเครื่องบินหรือว่ารถยนต์ แต่จะพิจารณาความเหมาะสมของผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งการเดินทางด้วยอากาศยานมีข้อดีคือสามารถเดินทางระยะไกลได้ ทำให้ผู้ป่วยกลับถึงภูมิลำเนาได้อย่างรวดเร็ว


สำหรับภายในอากาศยาน นักบินและเจ้าหน้าที่ประจำเครื่อง ต้องป้องกันตนเองด้วยการสวมชุดป้องกัน ขณะที่ผู้ป่วยก็ต้องสวมชุดป้องกันตนเองเช่นกัน โดยได้ปรับพื้นที่ภายในอากาศยานแบ่งเป็น 5 ส่วน ทั้งพื้นที่ส่วนหน้า ระหว่างกลางสำหรับรักษาพยาบาล และส่วนของพื้นที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร นอกจากนี้ยังมีการควบคุมระบบอากาศภายในเครื่อง มีการปรับแรงดันอากาศ มีเครื่องกรองอากาศ เครื่องฟอกอากาศ ติดตั้งไว้สำหรับรองรับภารกิจนี้ เพื่อควบคุมระบบการหมุนเวียนอากาศให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด นอกจากนี้ยังเตรียมเครื่องมือแพทย์ อุปกรณ์ป้องกันเหตุฉุกเฉิน และออกซิเจน ไว้ด้วย

 

กองทัพบก เคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด-19 กลับภูมิลำเนา


พันเอก อิทธินันท์ ยังบอกด้วยว่า หลายประเทศก็ใช้อากาศยานในการลำเลียงผู้ป่วยโควิด โดยใช้มาตรการป้องกันตนเองสูงสุด และใช้มาตรการเดียวกันคือการป้องกันภายในเครื่อง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานภายในเครื่อง ซึ่งมีผลงานวิจัยรองรับ ขณะที่ในอนาคตการขนส่งผู้ป่วยวิกฤตทางอากาศ ก็มีโอกาสที่จะใช้รูปแบบนี้เช่นกัน


สำหรับการเดินทางไป จ.นคพนม ใช้ระยะเวลาบิน 1 ชั่วโมงครึ่ง และตามหลักการแพทย์การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิด ไม่ควรใช้เวลาบินเกิน 2 ชั่วโมง

logoline