svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

รพ.มหาราช สตาร์ทฉีดวัคซีนสูตรผสมแอนตราเซเนกาเข็ม 2

28 กรกฎาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รพ.มหาราชฯ เริ่มฉีดวัคซีนสูตรสลับแอสตราเซเนกาเข็ม 2ให้ประชาชนทุกกลุ่ม หลังจากเลื่อนวัน ขณะยอดป่วยรายใหม่เพิ่มต่อเนื่อง ต้องบริหารเตียงให้พอ หลัง รพ.สนามแห่งที่ 3 หอพักพยาบาล เตียงเริ่มเหลือน้อยแล้ว

นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการภารกิจด้านอำนวยการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เปิดเผยว่า การให้บริการฉีดวัคซีนต้านโควิด 19 ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ขณะนี้ รพ.ทุกแห่งในจังหวัด ไต้องปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข โดยจะต้องปรับสูตรวัคซีนเป็นการฉีดแบบสลับให้กับประชาชนทุกกลุ่ม คือ เข็มที่ 1 เป็นวัคซีนซิโนแวค และเข็มที่ 2 เป็นแอสตราเซเนกา ซึ่งทาง รพ.มหาราชฯ ได้ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว และเริ่มกลับมาฉีดให้ประชาชนได้อีกครั้ง โดยให้ผู้ที่ลงทะเบียนจองฉีดวัคซีน คิวเดิม วันที่ 24-27 พฤษภาคม 2564 ที่ระบุฉีดเป็นแอสตราเซเนกาเอาไว้ และคิวฉีดใหม่วันที่ 28 กรกฎาคม 2564 ให้มารับบริการฉีดวัคซีนแบบสลับในวันนี้ (28 กรกฎาคม 2564) ส่วนคิวฉีด ของ รพ.มทส. สำหรับผู้ที่ลงทะเบียนผ่านหมอพร้อม และ คอลเซ็นเตอร์ เฉพาะกิจ รพ.มทส.เอาไว้ในลำดับการฉีดที่ 2,701 – 3,199 ให้ไปรับวัคซีนต้านโควิด19 แบบสลับสูตร ได้ในวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม 2564 ที่จุดบริการฉีดวัคซีน รพ.มทส. อาคารสุรพัฒน์ 2 งดรับ วอล์ค อิน ซึ่งที่ รพ.ค่ายสุรนารี ก็เริ่มรันระบบฉีดวัคซีนสูตรสลับในวันที่ 30 กรกฎาคม นี้เช่นกัน โดยสามารถเช็คข้อมูลรายชื่อคิวฉีด ได้ที่เพจเฟซบุ๊ก หรือ ไลน์ ออฟฟิศเชียล ของ รพ.ค่ายสุรนารี

รพ.มหาราช สตาร์ทฉีดวัคซีนสูตรผสมแอนตราเซเนกาเข็ม 2

รพ.มหาราช สตาร์ทฉีดวัคซีนสูตรผสมแอนตราเซเนกาเข็ม 2

 

สำหรับเมื่อวานนี้ (27 กรกฎาคม 2564) มีรถไฟขบวนพิเศษ ที่กระทรวงคมนาคมและกระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกันดำเนินการจัดส่งผู้ป่วยโควิด 19 จากพื้นที่เสี่ยงสูงกลับภูมิลำเนาใน จว.อีสานตอนใต้ ซึ่งผู้ป่วยที่เคยแจ้งความประสงค์จะกลับมารักษาตัวภูมิลำเนาจังหวัดนครราชสีมา ได้ทยอยเดินทางกลับมาก่อนหน้านี้แล้ว ทำให้ไม่มีผู้ป่วยโควิด 19 ในขบวนรถไฟเที่ยวพิเศษมาลงที่จังหวัดนครราชสีมาเมื่อวานนี้ แต่ยอดผู้ป่วยรายใหม่ของจังหวัดฯ ยังคงเพิ่มขึ้นทุกวัน 

รพ.มหาราช สตาร์ทฉีดวัคซีนสูตรผสมแอนตราเซเนกาเข็ม 2
ซึ่งจากข้อมูลศูนย์โควิด19 โคราช สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา จะเห็นได้ว่า ผู้ป่วยโควิดรายใหม่ยังสูงต่อเนื่องวันละ 200-300 กว่าราย ทำให้เตียงรองรับผู้ป่วยของ รพ.หลายแห่งในพื้นที่จังหวัดตึงตัว โดยเฉพาะ รพ.มหาราชนครราชสีมา ได้ใช้หอพักพยาบาล ทำเป็น รพ.สนามแห่งที่ 3 จำนวน 88 ยูนิต มีเตียงรองรับ 264 เตียง เมื่อรวมกับ รพ.สนาม อ.เมืองนครราชสีมาแห่งที่ 1และ 2 จะมีจำนวนเตียงรองรับผู้ป่วยเคสสีเขียว 546 เตียง แต่จากข้อมูลเมื่อวานนี้ (27 กรกฎาคม 2564) มีผู้ป่วยเข้ารักษาแล้ว 249 เตียง ซึ่งต้องบริหารจัดการผู้ป่วยมารักษาในแต่ละแห่งให้เหมาะสม เพื่อเตรียมเตียงไว้ให้ รพ.หลัก รองรับผู้ป่วยเคสสีเหลืองที่จะถูกส่งต่อมาจาก รพ.อื่น ๆ ในจังหวัดด้วย 
 

ส่วน Community Isolation  ศูนย์กักตัวผู้ป่วยชุมชน หรือ Home Isolation การรักษาแบบกักตัวที่บ้าน เพื่อการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่ไม่แสดงอาการรุนแรง เป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว มีความพร้อมที่จะแยกกักตัว เป็นมาตรการเสริมในกรณีที่เตียงผู้ป่วยไม่เพียงพอ มาตรฐานจะเสมือนอยู่ในโรงพยาบาล หรือกึ่งๆ รพ.สนาม  จะมีแพทย์ดูแล มียาให้ ซึ่งในจังหวัดฯ จะมีอยู่ 90 แห่ง รวมจำนวนเตียง 2,254 เตียง มีผู้ป่วยเข้าพักแล้ว 275 เตียง เหลือเตียงว่าง 1,979 เตียง ในขณะที่ ยอดผู้ป่วยรายใหม่เมื่อวานนี้ มีจำนวน 234 ราย และ 131 ราย หรือเกินกว่าครึ่งหนึ่งมาจากพื้นที่เสี่ยงสูง ยอดผู้ป่วยสะสมจึงยังพุ่งสูงต่อเนื่อง โดยแตะอยู่ที่ 5,079 รายแล้ว รักษาหายไป 2,184 ราย ยังรักษาอยู่  2,847 ราย และเสียชีวิต 48 ราย

ข่าว ประสิทธิ์ ตั้งประเสริฐ

 

logoline