svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ผู้ประกอบการขานรับจัด “เชียงคาน ไลฟ์สไตล์ ควอรันทีน” ฝ่าวิกฤตโควิด

28 กรกฎาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้ประกอบการขานรับ โครงการท่องเที่ยวเชียงคาน ไลฟ์สไตล์ ควอรันทีน หวังฟื้นสภาพเศรษฐกิจ หลังซบเซาหนักจากพิษโควิด แต่ต้องการันตีความปลอดทั้งผู้ร่วมโครงการและนักท่องเที่ยว ต้องฉีดวัคซีนครบแล้ว

28 กรกฎาคม 2564 ที่ถนนชายโขง ชุมชนบ้านไม้เก่า ต.เชียงคาน อ.เชียงคาน จ.เลย ผู้สื่อข่าวมีโอกาสตรวจสังเกตการณ์ด้านการท่องเที่ยวย่านชุมชนบ้านไม้เก่า แก่งคุดคู้ และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประเพณี ธรรมชาติ เห็นว่าจากที่เคยรุ่งโรจน์โชติช่วงชัชวาลมากว่า 10 ปี ของเมืองเชียงคาน ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวกว่า 70 % ของจังหวัดเลย แต่มา ณ วันนี้ในช่วงที่การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 เป็นต้น โดยเฉพาะในระลอกเดือน เมษายน 2564 โดยเฉพาะระลอกเมษายน 2564 จนถึง ณ วันนี้ นับว่ารุนแรงมาก เพียงสัปดาห์เดียวผู้ป่วยทะลุกว่า 300 ราย ภาวะเศรษฐกิจด้านการท่องเที่ยวและธุรกิจ งาน อาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวจึงทรุดหนัก หลายร้าน อาคาร ห้องพัก ปิดตัวลง ปิดป้ายว่าง หยุดกิจการ บ้างหันไปประกอบอาอาชีพอื่นแทน เป็นบรรยากาศที่เงียบ ส่วนโครงการหรือนโยบายที่จะเปิด”เชียงคาน ไลฟ์ สไตล์ ควอรันทีน” นั้นเชื่อว่าผู้ประกอบการ ประชาชน ส่วนใหญ่น่าจะเห็นด้วยโดยเฉพาะตนเห็นด้วยอยู่แล้ว เพราะอะไรน่าจะดีขึ้นกว่านี้ ทั้งนี้เชื่อว่าต้องมีมาตรการเข้มอยู่แล้ว

ผู้ประกอบการขานรับจัด “เชียงคาน ไลฟ์สไตล์ ควอรันทีน” ฝ่าวิกฤตโควิด
 

ด้านผู้บริการอาหาร เครื่องดื่มที่แหล่งท่องเที่ยว”แก่งคุดคู้”ของกลุ่มสตรีอาหารพื้นเมืองแก่งคุดคู้ รายหนึ่ง เปิดเผยว่า กล่าวว่า โต๊ะ เก้าอี้ ลูกค้าไม่มี และบางตาที่สุดก็คือช่วง เมษายน 2564 เป็นต้นมา รายได้หดไปกว่า 90% ต้องไปยื่นเรื่องขอผ่อนผัน ขอพักชำระหนี้ ยืดระยะเวลาส่งเงินต้นและดอกเบี้ยกับทางสถาบันการเงิน บรรยากาศอย่างนี้ก็เพราะพิษโควิด ทำให้นักท่องเที่ยวไม่สามารถเดินทางมาเที่ยวได้ ที่นั่งๆนอน ๆ ตบยุงกันอยู่อย่างนี้ กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา กลุ่มล่องเรือบริการล่องแม่น้ำโขงก็เงียบเหงาจอดเรือค้างแรมยาวนาน เราๆ ก็ได้แต่หวังว่าจะมีลูกค้า นักท่องเที่ยวเข้ามาบ้าง

ผู้ประกอบการขานรับจัด “เชียงคาน ไลฟ์สไตล์ ควอรันทีน” ฝ่าวิกฤตโควิด

ส่วนผู้ประกอบการโรงแรมที่พักที่ถนนชายโขงรายหนึ่ง เปิดเผยว่า “เชียงคาน ไลฟ์ สไตล์ ควอรันทีน” เกิดขึ้นเริ่มต้นจากผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 8 และคณะกรรมการสุขภาพระหว่างประเทศ เป็นการท่องเที่ยวแบบสุขภาพ เห็นว่าเมืองเชียงคานน่าจะส่งเสริมการท่องเที่ยวที่เมืองเชียงคาน ในเรื่องของภูมิปัญหาชาวบ้าน วิถีชีวิต สมุนไพร จากชุมชน น่าจะจัดโครง การใกล้เคียงกับ” แซนบ็อกภูเก็ต” ในภาวการณ์ระบาดของโควิด-19 ที่เปิดตัวแล้วเมื่อวันที่ 1 ก.ค 2564 และมาคิดดูว่าโรคโควิดไม่รู้ว่าจะหยุดจะคลี่คลายเมื่อไร เราจะนั่งอยู่เฉยไม่น่าจะเป็นการดี จึงน่าจะจัดโครงการภายใต้เงื่อนไขความปลอดภัย นทท.เองก็ต้องมีความปลอดภัย เราเป็นเจ้าของบ้านก็ต้องปลอดภัย เป็นความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงท่องเที่ยวฯว่าเมือง เชียงคาน น่าจะส่งเสริม

ผู้ประกอบการขานรับจัด “เชียงคาน ไลฟ์สไตล์ ควอรันทีน” ฝ่าวิกฤตโควิด

 

ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเมทองเชียงคานจึงมาร่วมคิดที่เป็นลำดับเป็นความคิดริเริ่มใหม่ ขึ้นมา ขณะนี้ได้ผ่านระดับจังหวัดเลยแล้ว เหลือระดับกระทรวงและระดับประเทศพิจารณา ทั้งนี้ นทท.ต้องมีเงื่อนไขกับนักท่องเที่ยวต้องเข้มงวดมากต้องฉีดวัคซีนโควิดครบ 2 เข็มมาก่อนแล้ว 14 วัน ผ่านการตรวจโรคมาแล้วไม่ต่ำกว่า 72 ชม.หรือ 3 วัน พร้อมเงินค้ำประกัน 100,000 เหรียญ เมื่อได้วีซ่าต้องไปแจ้งที่สถานทูต เพื่อรับเงื่อนไข เมื่อเครื่องบินลงต้องอยู่ในเส้นทางที่กำหนด ตรวจโรคสนามบินปลอดโรคด้วย เมื่ออยู่ที่โรงแรม 14 วัน 7 วันแรกต้องอยู่ในโรงแรมเท่านั้น อีก 7 วันจึงจะสามารถออกไปเที่ยวที่อื่นได้ และโรงแรมที่พักก็ต้องผ่านระบบ”ซาร์” ได้มาตรฐาน นทท.ไม่ปะปนกับคนอื่นและมีกิจกรรมในโรงแรม ชุมชน สมุนไร กัญชา และวัฒนธรรมประเพณี เช่น ฝึกทำผาสาดลอยเคราะห์ เป็นต้น แหล่งท่องเที่ยวอื่นก็ต้องร่วมโครงการนี้ด้วย เที่ยวตามเส้นทางที่เรากำหนดให้เท่านั้น ก่อนอนุมัติโครงการนี้ คนในพื้นที่ต้องฉีดวัคซีนโควิด 70 % คนที่มาร่วมโครงการคนที่เกี่ยวข้องต้องฉีดวัคซีน 100 % หากไม่ได้ฉีดหรือวัคซีนไม่พร้อมโครงการนี้ก็เลื่อนออกไป และเราได้จัดทำประชาคมขึ้นในพื้นที่แล้ว 6 หมู่บ้านที่เกี่ยวข้องกับโครงการต่างยกมือให้ผ่าน เป็นโครงการเรียนรู้ ทั้งนี้จะเกิดขึ้นได้นั้นต้องผ่าน 2 ด่านคือให้รัฐบาลและ ศบค.อนุมัติลงมา และ ใน 1สัปดาห์ต้องมีผู้ติดเชื้อโควิดไม่เกิน 30 ราย ตามความเหมาะสมจากทางราชการในการควบคุมโรค

ผู้ประกอบการขานรับจัด “เชียงคาน ไลฟ์สไตล์ ควอรันทีน” ฝ่าวิกฤตโควิด

ข่าว/ภาพ บุญชู ศรีไตรภพ


 

logoline