svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

ส่งออกภาคใต้ไตรมาส 1 ปี 64 ขยายตัว

06 พฤษภาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สงขลา - ภาวะเศรษฐกิจภาคใต้ไตรมาสที่1 ปี2564 หดตัวลดลงจากไตรมาส4 ปี 2563 มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวมากขึ้นจากอุปสงค์ต่างประเทศที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้นตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวเล็กน้อย

6 พฤษภาคม 25654 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานภาคใต้ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา  สรุปภาวะเศรษฐกิจและการเงินภาคใต้ไตรมาสที่ 1 ปี 2564 ยังคงหดตัวแม้ปรับดีขึ้นเล็กน้อยจากไตรมาสก่อนโดยการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกสองส่งผลให้กาลังซื้อครัวเรือนยังคงเปราะบาง ส่วนหนึ่งสะท้อนจาก แรงงานในระบบประกันสังคมที่ลดลงต่อเนื่อง รวมถึงรายได้เกษตรกรขยายตัวชะลอลง การอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจึงยังหดตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน แม้จะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐเข้ามาช่วยพยุง              นอกจากนี้การท่องเที่ยว ไทยได้รับผลกระทบเช่นกัน โดยเฉพาะในช่วงต้นไตรมาส อีกทั้งการจากัดการเดินทางระหว่างประเทศยังคงมีอยู่ ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวยังคงหดตัวสูง อย่างไรก็ดี อุปสงค์ต่างประเทศท่ีฟื้นตัวชัดเจนขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจโลก ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกขยายตัวมากขึ้น และการผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวได้เล็กน้อย สอดคล้องกับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนที่ปรับดีขึ้นเล็กน้อย ขณะทกี่ ารลงทุนภาครัฐขยายตัวชะลอลง

ส่งออกภาคใต้ไตรมาส 1 ปี 64 ขยายตัว

ด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลง จากราคาพลังงานที่หดตัวน้อยลงเป็นสาคัญ ด้านตลาดแรงงานยังคงเปราะบาง สะท้อนจากจานวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคม ที่ยังอยู่ในระดับสูง รายละเอียดของภาวะเศรษฐกิจภาคใต้มีดังนี้              เครื่องชี้การอุปโภคบริโภคภาคเอกชน หดตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน ตามกาลังซื้อครัวเรือนที่ยังคง เปราะบาง ส่วนหนึ่งสะท้อนจากแรงงานในระบบประกันสังคมที่ลดลงต่อเนื่อง ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากภาครัฐ อาทิ โครงการ "คนละครึ่ง" "เราชนะ" รวมถึงรายได้เกษตรกรที่แม้จะชะลอลงจากไตรมาสก่อน แต่ยังขยายตัวจากระยะเดียวกันปีก่อน ช่วยพยุงกาลังซื้อได้บางส่วน ทั้งนี้หากพิจารณารายหมวดการใช้จ่าย พบว่า การใช้จ่ายสินค้าในชีวิตประจาวัน หดตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน ขณะที่การใช้จ่ายหมวดบริการด้านการท่องเที่ยว ของนักท่องเที่ยวชาวไทยหดตัวมากขึ้น จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกสอง อย่างไรก็ ดี การใช้จ่ายหมวดยานยนต์หดตัวน้อยลง

ผลผลิตเกษตรกลับมาขยายตัวเล็กน้อย จากที่หดตัวในไตรมาสก่อน โดยผลผลิตยางพารากลับมา ขยายตัวเล็กน้อย จากสภาพอากาศที่มีฝนตกลดลงในช่วงต้นไตรมาส และผลของฐานต่าในปีก่อนที่มีโรคใบร่วง ระบาดในภาคใต้ตอนล่าง ขณะที่ผลผลิตปาล์มน้ามันกลับมาขยายตัวเช่นกัน จากการเข้าสู่ช่วงให้ผลผลิต (peak season) เร็วกว่าปกติเล็กน้อย ด้านผลผลิตกุ้งขาวหดตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน ราคาสินค้าเกษตร ขยายตัวชะลอ ลงจากราคาปาล์มน้ามันเป็นสาคัญ ตามทิศทางผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ราคายางพารายังคงขยายตัวดี เนื่องจาก ผลผลิตยังมีไม่มากเมื่อเทียบกับความต้องการ โดยเฉพาะน้ายางสด ด้านราคากุ้งขาวขยายตัวชะลอลงเล็กน้อย จากไตรมาสก่อน ทั้งนี้ ราคาสินค้าเกษตรที่ขยายตัวชะลอลงส่งผลให้รายได้เกษตรกรขยายตัวชะลอลง       จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ หดตัวสูงต่อเนื่อง จากมาตรการจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศที่ ยังมีอยู่ ด้านการท่องเที่ยวในประเทศของชาวไทยแผ่วลงจากไตรมาสก่อน จากผลกระทบของการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ระลอกสองเป็นสาคัญ โดยเฉพาะช่วงต้นไตรมาส อย่างไรก็ดี เห็นสัญญาณการทยอยฟื้นตัวที่ดี ในช่วงปลายไตรมาส                 

ส่งออกภาคใต้ไตรมาส 1 ปี 64 ขยายตัว



มูลค่าการส่งออกสินค้าขยายตัวมากขึ้น จากอุปสงค์ต่างประเทศที่ฟื้นตัวชัดเจนขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมกลับมาขยายตัวเล็กน้อย จากที่หดตัวในไตรมาสก่อน โดยอุปสงค์ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงปลายไตรมาส ทาให้การผลิตในหมวดสินค้ายางพารา แปรรูป อาหารทะเลแช่เย็นแช่แข็งและแปรรูป อาหารทะเลกระป๋องปรับดีขึ้น ด้านการผลิตน้ามันปาล์มดิบ กลับมาขยายตัวตามปริมาณวัตถุดิบเข้าโรงงาน อย่างไรก็ตาม การผลิตถุงมือยางและการผลิตไม้ยางแปรรูปและ ผลิตภัณฑ์ขยายตัวชะลอลง หลังจากที่เร่งไปมากในไตรมาสก่อน

เครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนปรับดีขึ้นเล็กน้อย โดยหดตัวน้อยลงจากไตรมาสก่อน ตามยอด จดทะเบียนรถยนต์เชิงพาณิชย์ท่ีขยายตัวมากขึ้นเป็นสาคัญ ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการเพื่อใช้ในการประกอบ อาชีพอิสระที่เพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับมูลค่าจาหน่ายเครื่องจักรในประเทศที่ขยายตัว อย่างไรก็ตาม การลงทุนในภาค ก่อสร้างหดตัวมากขึ้น ทั้งในหมวดพื้นที่รับอนุญาตก่อสร้างและปริมาณจาหน่ายปูนซีเมนต์ สอดคล้องกับการ ลงทุนในภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ชะลอลง โดยผู้ประกอบการส่วนหนึ่งชะลอการลงทุนใหม่ จากความไม่แน่นอน เรื่องสถานการณก์ารแพร่ระบาดของโรคCOVID-19ที่กระทบต่อกาลังซื้อของลูกค้าเป็นสาคัญ

ส่งออกภาคใต้ไตรมาส 1 ปี 64 ขยายตัว

              การใช้จ่ายภาครัฐ ขยายตัวชะลอลงจากไตรมาสก่อน โดยรายจ่ายประจากลับมาหดตัว ตามการ เบิกจ่ายที่ลดลงในหมวดงบรายจ่ายอื่นของกองอานวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และในหมวด เงินอุดหนุนทั่วไปของสานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และมหาวิทยาลัยในกากับของรัฐที่ออกนอก ระบบ อย่างไรก็ดี หากพิจารณารายจ่ายประจาสะสม 6 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2564 พบว่าขยายตัว เล็กน้อยเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีงบประมาณก่อนหน้า ด้านรายจ่ายลงทุนขยายตัวชะลอลงจากไตรมาส ก่อน แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี ส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานต่าจากความล่าช้าของ พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายปี 2563              เสถียรภาพเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั่วไปติดลบน้อยลงมาอยู่ที่ร้อยละ -0.35 จากราคาพลังงานที่ หดตัวน้อยลง ตามทิศทางการเพิ่มขึ้นของราคาน้ามันดิบในตลาดโลกเป็นสาคัญ ด้านตลาดแรงงานยังคง เปราะบาง สะท้อนจากจานวนผู้ขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมที่ยังอยู่ใน ระดับสูงธนาคารแห่งประเทศไทย                 ภาคการเงิน ณ สิ้นไตรมาสที่ 1 ปี 2564 เงินฝากคงค้างยังคงอยู่ในระดับสูง แม้จะขยายตัวชะลอ ลงจากไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งจากผลกระทบของ COVID-19 ที่ทาให้ภาวะเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอนสูง ส่งผล ต่อเนื่องให้ทั้งธุรกิจและรายย่อยยังคงต้องการรักษาสภาพคล่อง ด้านสินเชื่อคงค้างขยายตัวใกล้เคียงไตรมาสก่อน ส่วนหนึ่งจากสินเชื่อเสริมสภาพคล่อง และมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้

logoline