svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีจี้ีัรัฐคืนอำนาจให้ชุมชน

05 กุมภาพันธ์ 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง อ่านแถลงการณ์ "คืนอำนาจการจัดการน้ำให้ชุมชนหยุดนโยบายผันน้ำโขง เลย ชี มูลรัฐจะต้องจริงใจเร่งแก้ไขปัญหาเขื่อนในลุ่มน้ำชี"

เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง จังหวัดยโสธร ประมาณ 100 คน ร่วมกันจัดกิจกรรม "บุญกุ้มข้าวใหญ่ ข้าวใหม่ปลามัน" ณ บริเวณลานวัดบ้านบุ่งหวาย ตำบลสงเปือย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร มีเวทีเสวนา "กระบวนการแก้ไขปัญหาเขื่อนลุ่มน้ำชีตอนล่าง" ซึ่งหลังจากเวทีเสวนาเสร็จ นายนิมิต หาระพันธ์ กรรมการเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่างจังหวัดยโสธร ได้ร่วมกันอ่านแถลงการณ์ โดยมีเนื้อหาดังนี้ "คืนอำนาจการจัดการน้ำให้ชุมชนหยุดนโยบายผันน้ำโขง เลย ชี มูล รัฐจะต้องจริงใจเร่งแก้ไขปัญหาเขื่อนในลุ่มน้ำชี" 






เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีจี้ีัรัฐคืนอำนาจให้ชุมชน









ด้วยทางเครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง จังหวัดยโสธร  เป็นกลุ่มชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายโครงการโขง ชี มูลเดิม โดยการสร้างเขื่อนกันน้ำชี โดยเฉพาะเขื่อนร้อยเอ็ด เขื่อนยโสธร-พนมไพร และเขื่อนธาตุน้อย ลุ่มน้ำชี ส่งผลให้ชาวบ้านลุ่มน้ำชีได้รับผลกระทบดังนี้ 1 พื้นที่ทำการเกษตรถูกน้ำท่วมผิดปกตินาน 1-3 เดือน ทำให้ต้นข้าวเน่าตายต่อเนื่องกันกว่า 10 ปี ก่อปัญหาด้านสภาพเศรษฐกิจทั้งภายในครัวเรือนและชุมชน 2.ระบบนิเวศเกิดการเปลี่ยนแปลง 3.เกิดการอพยพโยกย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคเมืองมากขึ้น 4.เกิดการเปลี่ยนแปลงทางประเพณีและวัฒนธรรม เป็นต้น  





เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีจี้ีัรัฐคืนอำนาจให้ชุมชน











ตลอดระยะเวลากว่า 11 ปี เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีตอนล่าง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้เคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิมาโดยตลอดเพื่อให้รัฐบาลดำเนินการแก้ไขมาแล้วหลายรัฐบาล โดยมีข้อเรียกร้องคือ 1.ให้เยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อน 2.ให้จัดทำแผนฟื้นฟูฐานทรัพยากรชุมชนเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร และกระบวนการก็กำลังดำเนินการแก้ไขปัญหาตามกระบวนการ

เครือข่ายชาวบ้านลุ่มน้ำชีจี้ีัรัฐคืนอำนาจให้ชุมชน

จากบทเรียนในการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะการสร้างเขื่อนที่รัฐมักอ้างว่าแก้ไขปัญหาน้ำท่วม และน้ำแล้ง แต่การดำเนินการที่ผ่านมองให้เห็นว่าเขื่อนไม่ได้ช่วยในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง แต่กลับสร้างปัญหาผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชนและระบบนิเวศ ซึ่งการจัดการน้ำรัฐพยายามรวมศูนย์อำนาจ ดังนั้นจากบทเรียนที่ผ่านมาในประเด็นเรื่องการจัดการน้ำ ทางเครือข่ายลุ่มน้ำชีตอนล่าง จังหวัดยโสธร จึงมีข้อเสนอดังนี้ 1.รัฐจะต้องสรุปบทเรียนการจัดการน้ำที่ล้มเหลวที่ผ่านมา โดยเฉพาะโครงการโขง ชี มูล เดิมที่ส่งผลกระทบต่อชุมชนและระบบนิเวศ2.รัฐจะต้องประเมินความคุ้มค่าของนโยบายการจัดการน้ำที่ผ่านมา3.รัฐจะต้องคืนอำนาจการจัดการน้ำให้กับชุมชน4.รัฐจะต้องยุติโครงการผันน้ำ โขง เลย ชี มูล














logoline