svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ชั่วโมงสืบสวน | กลโกงไซเบอร์ หลอกโอนเงินบริจาคเบรค | 14 มิ.ย. 63

16 มิถุนายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หากพูดถึงการหลอกลวงขอรับบริจาคเงินทางโซเชียลมีเดีย มักมีให้เห็นอยู่ทั่วไป อย่างคดีที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นนี้ ก็เกิดขึ้นเมื่อแม่แท้ๆกลับลงมือกับลูกได้อย่างเลือดเย็น "แม่ปุ๊ก"ที่วางยาลูกเลี้ยงและลูกในไส้จนเสียชีวิต 1 ราย และอาการสาหัส 1 ราย เพียงเพราะหวังลวงขายสินค้า และการขอรับเงินบริจาค จนมีเงินสะพัดเกือบ 20 ล้านบาท

เรื่องราวที่เหมือนเป็นนิยายครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2563 ตำรวจนำกำลังเข้าจับกุม น.ส.นิษฐา วงวาล หรือที่รู้จักกันว่า "แม่ปุ๊ก" ได้ที่บ้านพักย่านแขวงสีกัน ดอนเมือง หลังพบว่า "แม่ปุ๊ก" รับดูแลลูกบุญธรรม 1 คน เป็นเด็กหญิง อายุ 4 ขวบ ชื่อน้องอมยิ้ม และมีลูกแท้ๆ อีก 1 คน ชื่อน้องอิ่มบุญ เป็นเด็กชาย อายุ 3 ขวบ โดยมีพฤติการณ์ฉ้อโกงประชาชนด้วยการโพสต์รูป คลิป ข้อความในโซเชียลมีเดีย ระบุว่าลูกทั้ง 2 ป่วยเป็นโรคหายาก จึงขอรับบริจาคเงิน และหลอกขายสินค้า อาทิ หน้ากากอนามัย อ้างว่าหาเงินไปรักษาลูก มีผู้หลงเชื่อซื้อสินค้า จ่ายเงินค่าสินค้า และบริจาคช่วยเหลือ รวมเป็นเงินกว่า 20 ล้านบาท

ชั่วโมงสืบสวน | กลโกงไซเบอร์ หลอกโอนเงินบริจาคเบรค | 14 มิ.ย. 63


แต่ด้วยโรงพยาบาลที่รักษาเด็กเห็นความผิดปกติจึงแจ้งให้ตำรวจ เข้าสืบสวนสอบสวนเรื่องก็มาปรากฏข้อเท็จจริงว่าแท้จริงนั้นเป็นการวางแผนลงมืออย่างโหดเหี้ยมของคนที่อ้างตัวว่าเป็นแม่ วางยาเลี้ยงไข้ลูกทั้งสองเพื่อหวังเงินบริจาค
หรือแม้กระทั่งเรื่องราวของคุณลุงคนขับแท็กซี่ ที่ชื่อว่า "สิทธิชัย ใกล้ชิด" วัย 72 ปี ที่ชีวิตในช่วง COVID-19 ทำลุงลำบากหนัก เพราะเงินค่าเช่ารถวันละ 300 บาท ยังไม่มีให้เถ้าแก่ หลังจากที่มีการเผยแพร่เรื่องราว น้ำใจคนไทยต่างหลั่งไหลมาช่วยคุณลุงกันมากมาย ทั้งบริจาคเป็นเงิน ข้าวสาร อาหารแห้ง และคุณลุงได้เปิดบัญชีรับเงินบริจาคเพียงชั่วข้ามคืนเดียว มียอดเงินบริจาคเข้าบัญชีจำนวน 8 ล้านบาท แต่หลังจากเป็นข่าวเจ้าของอู่แจ้งความและออกมาแฉการค้างค่างวดรถ แต่สุดท้ายลุงสิทธิชัยได้โอนเงินจ่ายเรียบร้อยแล้ว

ชั่วโมงสืบสวน | กลโกงไซเบอร์ หลอกโอนเงินบริจาคเบรค | 14 มิ.ย. 63


สอดคล้องกับข้อมูลตามหน้าเฟซบุ๊ก หรือโซเชียลต่างๆ จะเห็นการเปิดรับบริจาคเงินมีอยู่อย่างโจ่งแจ้ง โดยเรื่องราวดูแล้วเกิดความสะเทือนใจต่อผู้อ่าน ทั้งการเปิดรับบริจาคเงินช่วยเหลือครอบครัว การสร้างที่อยู่อาศัย เด็ก คนพิการ หรือสัตว์ ซึ่งมีคนเข้ามาวิพากษ์วิจารณ์เห็นใจจำนวนมาก
หลายเรื่องราวที่เกิดขึ้น คนในสังคมตั้งคำถามว่า เหตุการณ์ที่เขียนขึ้นนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ การตรวจสอบข้อเท็จจริงมีมากน้อยแค่ไหน หรือหนึ่งในคนเหล่านั้น คือ "มิจฉาชีพ" ที่จ้องหาผลประโยชน์และใช้สื่อโซเชียลมีเดียเป็นสะพานเชื่อมล่อลวงเงินจากกระเป๋าหรือข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ให้กลายเป็น "เหยื่อ" โดยไม่รู้ตัว

ชั่วโมงสืบสวน | กลโกงไซเบอร์ หลอกโอนเงินบริจาคเบรค | 14 มิ.ย. 63


จากข้อมูลของตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี หรือปอท. ยอมรับว่า การหลอกลวงขอรับบริจาคเงินมีจำนวนมากขึ้น เนื่องจากการเข้าถึงโซเชียลมีเดียได้ง่ายขึ้นรวดเร็วมากขึ้น และประชาชนส่วนใหญ่มีโมบายแบงกิ้งก็สามารถโอนเงินได้อย่างรวดเร็ว ประกอบกับคนไทยใจบุญชอบช่วยเหลือผู้อื่น จึงทำให้เกิดคดีเหล่านี้มากขึ้น
ส่วนรูปแบบการหลอกลวงการขอรับบริจาคเปลี่ยนไปจากในอดีต ด้วยวิธีการสร้างเรื่องราวให้ดูน่าสงสารแล้วมาโพสต์ลง ทางอินเทอร์เน็ต จนเกิดการแชร์ต่อเป็นวงกว้าง เพราะในอดีตโซเชียลยังไม่ได้รับความนิยม ซึ่งรูปแบบที่พบส่วนใหญ่เป็นเรื่องการช่วยเหลือครอบครัว และน้องสุนัขน้องแมว มีทั้งทำเป็นขบวนการและทำเพียงคนเดียวโดยยอมรับว่า การตรวจสอบเป็นเรื่องที่ยาก แต่คนร้ายก็มักจะทิ้งร่องรอยให้สืบสวนมาถึง

ชั่วโมงสืบสวน | กลโกงไซเบอร์ หลอกโอนเงินบริจาคเบรค | 14 มิ.ย. 63


ตรงกันข้ามกับมุมมองของอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ที่มองว่า รูปแบบการขอรับบริจาคเงินไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก แต่ช่องทางการสื่อสารเปลี่ยนไป ประกอบกับผู้ที่ดูแลเรื่องไซเบอร์โดยเฉพาะมีจำนวนน้อย จึงทำให้การตรวจสอบเป็นไปได้ยาก แต่ถ้าเรามีฐานข้อมูลที่เป็นสถิติการเกิดเหตุก็จะสามารถช่วยวิเคราะห์พฤติกรรมหรือช่วงการเกิดเหตุได้
อย่างที่บอกไปตอนต้นแล้วว่า การเข้าถึงโซเชียลมีเดียเป็นเรื่องที่ง่ายดาย มิจฉาชีพก็อาจจะแฝงตัวเข้ามาสร้างเรื่องราวเพื่อเปิดขอรับบริจาคเงิน ช่วงหน้ามาติดตามทางออกของปัญหานี้ การตรวจสอบของประชาชน เพื่อไม่ให้ถูกหลอกลวง และผู้ที่คิดจะกระทำ อาจต้องคิดดีๆ เพราะบทลงโทษมีความรุนแรง และอาจโดนหลายข้อหาหนัก

ชั่วโมงสืบสวน | กลโกงไซเบอร์ หลอกโอนเงินบริจาคเบรค | 14 มิ.ย. 63

การตรวจสอบการเปิดรับบริจาคเงินตามช่องทางต่างๆในโซเชียลมีเดีย ประชาชนสามารถนำชื่อของผู้ที่เปิดรับบริจาคมาค้นหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตได้ว่าเคยมีประวัติเคยหลอกลวงหรือไม่ รวมถึงการนำเบอร์บัญชี หรือนำชื่อโครงการที่มิจฉาชีพกล่าวอ้างเป็นตัวแทนรับบริจาคนั้นมีจริงหรือไม่ ให้ลองตรวจสอบข่าวสารการรับบริจาค เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงผ่านช่องทาง Official ของโครงการหรือมูลนิธินั้น ๆ ก่อนตัดสินใจโอนเงินทำบุญ

ชั่วโมงสืบสวน | กลโกงไซเบอร์ หลอกโอนเงินบริจาคเบรค | 14 มิ.ย. 63


ข้อเสนอแนะของอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยไซเบอร์ แนะนำการตรวจสอบที่ง่าย โดยการนำชื่อ เบอร์โทร เลขบัญชี และโครงการ ไปค้นหา ถ้าคนๆ นั้นมีประวัติเคยโกง ก็จะขึ้นให้เห็น แต่ถ้าคนๆใช้ชื่อ เบอร์โทร หรือเลขบัญชีคนอื่น ที่ไม่เคยมีประวัติก็อาจจะไม่ขึ้น แต่ถ้าประชาชนอยากจะช่วยเหลือเป็นเงินจำนวนมาก ควรลงพื้นที่ไปดูสภาพความเป็นอยู่ ของผู้โพสต์ว่าได้รับความเดือดร้อนจริงหรือไม่ จึงจะสามารถเชื่อถือได้
ส่วนในมุมมองของประชาชนที่ท่องโลกออนไลน์ มองว่าเรื่องนี้มีทางออก เพราะการที่จะโอนเงินช่วยเหลือใคร อย่างน้อยเราต้องตรวจสอบเบื้องต้นก่อนว่าเรื่องนั้นมีมูลความจริงหรือไม่ เชื่อถือได้หรือเปล่า โดยการเข้าไปตรวจสอบผู้โพสต์ และเข้าไปดูคอมเม้นต่างๆ หรือถ้าเป็นไปได้ต้องลงพื้นที่ไปดูสถานที่จริง 

ชั่วโมงสืบสวน | กลโกงไซเบอร์ หลอกโอนเงินบริจาคเบรค | 14 มิ.ย. 63


เลขานุการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ในฐานะที่เป็นหนึ่งในองค์กรที่คอยช่วยเหลือประชาชน มองว่า ผู้บริโภคหรือประชาชนทุกคนสามารถตกเป็นเหยื่อได้ง่าย เพราะโซเชียลมีเดียก้าวหน้าไปไกล ถ้าใครตามไม่ทันก็อาจตกเป็นผู้เสียหายได้  อยากให้ประชาชนคิดสักนิดก่อนโอน เพราะถ้ากรณีผู้ที่โพสต์ต้องการให้ช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล อยากให้รู้ไว้ได้เลยว่า การรักษาพยาบาลเข้าถึงคนทุกกลุ่มแล้ว โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่ต้องมาเปิดขอรับบริจาค
รูปแบบกลโกงของมิจฉาชีพมีหลากหลายรูปแบบ แต่เราต้องไม่ตกเป็นเหยื่อของคนเหล่านี้ ให้นำเงินเราไปใช้จ่ายได้อย่างสุขสบาย เราจะต้องไม่ไปสนับสนุนการกระทำที่ผิดกฎหมายนี้ ให้ใครหลายคนสร้างเรื่องราวขึ้นมาทำตามกันเป็นลูกโซ่ ประชาชนทุกคนสามารถให้คำแนะนำคนเหล่านั้นให้เข้าสู่กระบวนที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ โดยผ่านองค์กรที่เชื่อถือได้ หรือสื่อมวลชนที่เป็นกระบอกเสียงให้กับประชาชน

ชั่วโมงสืบสวน | กลโกงไซเบอร์ หลอกโอนเงินบริจาคเบรค | 14 มิ.ย. 63

logoline