svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

"ตัวนิ่ม" อาจเป็นพาหะแพร่ "ไวรัสโคโรน่า" สู่มนุษย์

07 กุมภาพันธ์ 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แม้ในปัจจุบันจะพบผู้ติดเชื้อแล้วกว่า 3 หมื่นคนทั่วโลก แต่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ก็ยังเต็มไปด้วยปริศนาที่นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกกำลังเร่งหาคำตอบ โดยหนึ่งในคำถามที่สำคัญที่สุดก็คือ ตกลงแล้วไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่มาจากสัตว์ป่าจริงหรือไม่ และมาจากสัตว์ชนิดใดกันแน่

ล่าสุดมีงานวิจัยชิ้นสำคัญที่ค้นพบว่า ไวรัสอาจมีที่มาจากค้างคาวอย่างที่ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ตั้งสมมติฐานกันก็จริง แต่สัตว์อีกชนิดหนึ่งที่อาจเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโคโรนาไปแพร่จนติดต่อสู่มนุษย์ก็คือ "ตัวนิ่ม" สัตว์ที่มีลำตัวเป็นเกล็ด ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ถูกลักลอบค้ามากที่สุดในโลกกว่า 1 ล้านตัวในรอบทศวรรษที่ผ่านมา และตลาดลักลอบค้าตัวนิ่มที่ใหญ่ที่สุดก็คือประเทศจีน

"ตัวนิ่ม" อาจเป็นพาหะแพร่ "ไวรัสโคโรน่า" สู่มนุษย์


มหาวิทยาลัยการเกษตรแห่งจีนตอนใต้ออกแถลงการณ์ เปิดเผยว่า หลังจากนักวิจัยของสถาบันได้นำเอาตัวอย่างสัตว์ป่ากว่า 1 พันชิ้น มาตรวจสอบรหัสพันธุกรรมในห้องปฏิบัติการ พบว่า ลำดับจีโนมของไวรัสโคโรนาที่พบในตัวนิ่ม ตรงกับไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่พบในมนุษย์ถึง 99 เปอร์เซ็นต์ ทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่ตัวนิ่มจะเป็นพาหะที่ทำให้ไวรัสซึ่งยังคงเชื่อว่ามีต้นตอมาจากค้างคาว เกิดการแพร่เชื้อจนติดต่อจากสัตว์สู่คน
ผลการศึกษานี้ทำให้หลายคนนำไปเปรียบเทียบกับกรณีของไวรัสซาร์สซึ่งระบาดในช่วงปี 2545-2546 เนื่องจากมีที่มาจากค้างคาวแต่แพร่เชื้อผ่านสัตว์อีกชนิดหนึ่งเหมือนกัน โดยในกรณีของซาร์สนั้นเป็นการแพร่จากค้างคาวสู่อีเห็น แล้วไวรัสจากอีเห็นจึงติดต่อสู่คนอีกที

สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ หรือ ไอยูซีเอ็น ระบุว่า ตัวนิ่มเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ถูกลักลอบค้าขายในตลาดมืดมากที่สุดในโลก อย่างน้อย 1 ล้านตัวในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา โดยมีจีนและเวียดนามเป็นตลาดที่สำคัญ เพราะตามตำรายาจีนแผนโบราณเชื่อกันว่า เกล็ดของตัวนิ่มมีสรรพคุณช่วยล้างพิษ
ตัวนิ่มมีด้วยกันหลายสายพันธุ์ เป็นสัตว์ป่าที่พบทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา
หลังเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ได้ไม่นาน ทางการจีนก็สั่งแบนการค้าสัตว์ป่าทุกชนิดทั่วประเทศ ซึ่งนักอนุรักษ์ก็หวังว่า คำสั่งแบนนี้จะถูกขยายให้มีผลแบบถาวร และอยากให้รัฐบาลทั่วโลกออกมาตรการในลักษณะเดียวกันด้วย

logoline