svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

เตือนความปลอดภัยเครื่องบินหลังถูกเก็บนานช่วงโควิด

15 ธันวาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หน่วยงานกำกับดูแลด้านการบินและบริษัทประกัน เตือนบรรดาสายการบินให้ระวังเรื่องวามปลอดภัยเป็นพิเศษ เมื่อนำเครื่องบินที่ถูกจอดทิ้งเพราะโควิด-19 ออกมาใช้งาน และระวังว่า นักบินไม่ได้บังคับเครื่องบินนานอาจ"สนิมเกาะ"

หน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการบินพาณิชย์, บริษัทประกัน และผู้เชี่ยวชาญด้านการบินเตือนไปยังสายการบินต่างๆ ทั่วโลก ให้ระวังเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ เมื่อนำเครื่องบินที่ถูกจอดทิ้งไว้นานในช่วงการระบาดของโควิด-19 ออกมาใช้งาน ซึ่้งอาจเจอปัญหาสารพัด เช่น "นักบินสนิมเกาะ" ซึ่งหมายถึงนักบินไม่ได้ขับเครื่องบินมานานอาจหลงลืมการปฏิบัติขั้นพื้นฐานบางอย่าง, เกิดความผิดพลาดในการบำรุงรักษา หรือแม้กระทั่งมีแมลงเข้าไปทำรังปิดกั้นตัว "เซ็นเซอร์" ที่สำคัญ




เตือนความปลอดภัยเครื่องบินหลังถูกเก็บนานช่วงโควิด






มีเครื่องบินจำนวนมากที่ถูกจอดทิ้งอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน ช่วงมาตรการล็อคดาวน์ที่ปิดกั้นการเดินทางทางอากาศ ที่ครองสัดส่วนสูงถึง 2 ใน 3 ของเครื่องบินโดยสารทั่วโลก ทำให้มีรายงานปัญหาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสายการบินเริ่มกลับมาให้บริการ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ หรือ IATA ระบุว่า มีการจัดการที่ "ไม่เสถียร" หรือ "ไม่ดี" เพิ่มสูงขึ้นในปีนี้ ทำให้ความผิดพลาดต่างๆ เช่น การนำเครื่องบินสัมผัสพื้นทางวิ่งแรงไป, เครื่องบินไถลหลุดรันเวย์หรือร้ายแรงถึงขั้นตก ซึ่งด้วยเหตุนี้ ทำให้บรรดาบริษัทประกัน พากันสอบถามไปยังสายการบินต่างๆ ว่ามีการฝึกนักบินเป็นพิเศษ โดยมุ่งเน้นไปที่เรื่องการนำเครื่องบินลงจอดหรือไม่

แอร์บัส ผู้ผลิตเครื่องบินยักษ์ใหญ่ของยุโรป ระบุว่า ประเภทของอุบัติเหตุร้ายแรงที่สุดที่สามารถตรวจสอบย้อนหลังไปที่สนามบิน ซึ่งพบว่า อุบัติเหตุร้ายแรงที่สุดส่วนใหญ่เกิดขึ้นระหว่างการลงจอด เช่น อุบัติเหตุที่เกิดจาก "เครื่องบินไม่พร้อมจะลงจอดอย่างปลอดภัย" (unstabilised approach) โดยเครื่องบินของ "ปากีสถาน อินเตอร์เนชั่นแนล แอร์ไลน์ส" ตกเมื่อเดือนพฤษภาคม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 97 คน และเครื่องบินของ "แอร์อินเดีย เอ็กซ์เพรสส์" ตกเมื่อเดือนสิงหาคม มีผู้เสียชีวิต 18 คน


เตือนความปลอดภัยเครื่องบินหลังถูกเก็บนานช่วงโควิด






สำนักงานความปลอดภัยด้านการบินแห่งสหภาพยุโรป หรือ EASA ได้รายงานเรื่องแนวโน้มที่น่าตกใจ เกี่ยวกับความผิดพลาดในการอ่าน "ค่าความเร็ว" และ "ระดับความสูง" ในเที่ยวบินแรก หลังจากเครื่องบินถูกนำออกจากโรงเก็บ มีบางกรณีที่เครื่องบินไม่สามารถทะยานขึ้นได้ หรือต้องหันหัวกลับ ซึ่งเมื่อตรวจสอบดูก็พบว่า แมลงเข้าไปทำรังใน "พิโต ทู้ป" หรือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดความเร็วลม, เซ็นเซอร์ความดันอากาศ ที่ป้อนข้อมูลให้คอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับอิเล็กทรอนิคส์การบิน โดยมีกรณีตัวอย่างเมื่อเดือนมิถุนายน เมื่อเครื่องบินของ "วิซซ์ แอร์" ต้องระงับการขึ้นบิน เพราะค่าความเร็วอ่านได้แค่ศูนย์ เพราะแมลงเข้าไปทำรังใน "พิโต ทู้ป" หลังเครื่องถูกจอดทิ้งไว้ 12 สัปดาห์ แต่เรื่องทำนองนี้ ยังเคยทำให้เกิดโศกนาฏกรรมเมื่อปี 2539 เมื่อเครื่องบินเช่าเหมาลำของเบอร์เกนแอร์ตกในโดมินิกัน ทำให้มีผู้เสียชีวิตทั้งลำคือ 189 คน

logoline