svasdssvasds
เนชั่นทีวี

พระราชสำนัก

๒๕ พ.ย. วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

24 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

๒๕ พฤศจิกายน "วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า" วันคล้ายวันสวรรคตของ "พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖" เพื่อร่วมเทิดพระเกียรติพระองค์ ผู้ทรงริเริ่มกิจการลูกเสือในประเทศไทย และรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์สืบต่อไป

๒๕ พ.ย. วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว

พระราชประวัติ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันเสาร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2421 พระองค์ทรงเป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ( สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี ) เมื่อยังทรงพระเยาว์ทรงพระนามว่า "สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ" ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนเทพทวาราวดี ในปี พ.ศ. 2431 และต่อมาในปี พ.ศ. 2437 สมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชเจ้าฟ้าชายมหาวชิราวุธ ได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมารดํารงตําแหน่งรัชทายาท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ จึงได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมงกุฎราชกุมาร ดํารงตําแหน่งรัชทายาทแทน

๒๕ พ.ย. วันคล้ายวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว


การขึ้นครองราชย์เมื่อสมเด็จพระบรมชนกนาถเสด็จสวรรคตลงเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ทั้ง ๆ ที่พระองค์นั้นได้รับการสถาปนาตั้งไว้ในพระรัชทายาทสืบพระราชสันตติวงศ์มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2437 แต่ก็ทรงเศร้าสลด ไม่มีพระราชประสงค์ที่จะแลกสิริราชสมบัติสำหรับพระองค์เองกับการสูญเสียพระชนมชีพของสมเด็จพระบรมชนกนาถ จนกระทั่งสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งเป็นพระปิตุลา (อา) แท้ ๆ ทูลเชิญเสด็จลงที่ห้องแป๊ะเต๋งบนชั้น 2 พระที่นั่งอัมพรสถาน และท่ามกลางพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี ผู้ใหญ่ องคมนตรี และข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ที่ชุมนุมอยู่ พระปิตุลาได้คุกพระชงฆ์ลงกับพื้นกราบถวายบังคมอัญเชิญเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชย์เป็นพระเจ้าแผ่นดินสืบสนองพระองค์สมเด็จพระบรมชนกนาถ และทันใดทุกท่านที่ชุมนุมอยู่ที่นั้น ก็ได้คุกเข่าลงกราบถวายบังคมทั่วกัน และในคืนนั้นได้มีประกาศภาษาไทยให้ออกพระนามว่า สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชผู้ทรงสำเร็จราชการแผ่นดิน ต่อมาวันที่ 25 ตุลาคม จึงให้ออกพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2453 จึงรับบรมราชาภิเษก เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธ เอกอรรคมหาบุรุษบรมนราธิราช พินิตประชานารถมหาสมมตวงษ์ อดิศัยพงษวิมลรัตน์ วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาตสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ จุฬาลงกรณราชวรางกูร บรมมกุฏนเรนทรสูรสันตติวงษวิสิฐ สุสาธิตบุรพาธิการ อดุลยกฤษฎาภินิหารอดิเรกบุญฤทธิ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ บุริมศักดิสมญาเทพวาราวดี ศรีมหาบุรุษสุตสมบัติ เสนางคนิกรรัตน์อัศวโกศล ประพนธปรีชามัทวสมาจาร บริบูรณ์คุณสารสยามาทินครวรุตเมกราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต์ มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินธร บรมชนกาดิศรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเสวตฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนารถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤไทย อโนปไมยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดินทร์ ปรเมนทรธรรมิกมหาราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว"ต่อมาในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2459 ทรงเห็นชอบกับคำกราบบังคมทูลของเหล่าเสนาบดีให้เฉลิมพระปรมาภิไธย "สมเด็จพระรามาธิบดี" แทนคำว่า "สมเด็จพระปรเมนทร" จึงมีพระปรมาภิไธยอย่างสังเขปว่า "พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว" และเมื่อยกรามาธิบดีเป็นคำนำพระปรมาภิไธยแล้ว จึงโปรดเกล้าฯ ให้แก้นเรศรามาธิบดี เป็นนเรศราธิบดี แทน
ด้านการศึกษาของพระองค์
พระองค์ทรงได้รับการศึกษาการอบรมอย่างดียิ่งสมกับที่เป็นองค์รัชทายาทพระองคืทรงได้รับการศึกษาทางด้านอักษรศาสตร์ และศิลปศาสตร์ จากสมเด็จพระราชบิดาและนานาอาจารย์ผู้สันทัดแต่ละวิชาการ เมื่อพระชนมายุ 13 พรรษา ตรงกับพ.ศ. 2436 พระบามสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชบิดาได้โปรดให้พระองค์ออกไปศึกษาวิชาการ ณ ทวีปยุโรปที่โรงเรียนทหารบก แซนต์ เชิสต์ ( พ.ศ. 2441 - พ.ศ. 2442 ) ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมีพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นราชอุปัชฌายะ เสด็จประทับจําพรรษาศึกษาพระธรรมวินัยอยู่ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร

การปกครอง และการเปลี่ยนแปลง
ด้านการปกครอง ทรงปลูกฝังประชาธิปไตยให้กับประชาชน ทรงสร้างดุสิตธานีเป็นที่ทดลองการปกครองแผนใหม่ทรงตราพระราชบัญญัตินามสกุลขึ้นเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2445 ทรงประกาศใช้วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2456
พ.ศ. 2468 พระราชบัญญัติการเกณฑ์ทหารเข้าประจําการ
พ.ศ. 2460 ให้เลิกโรงหวย ก.ข. โรงบ่อนการพนันต่างๆ ธงชาติให้เลิกเครื่องหมายเดิม เปลี่ยนเป็นธงไตรรงค์โปรดให้หนังสือพิมพ์เอกชนออกแสดงความคิดเห็นได้
การเปลี่ยนแปลงการใช้ วัน เดือน ปี เช่น วันขึ้นปีใหม่ ให้นับเอา 1 เมษายน พ.ศ. 2432 เป็นวันขึ้นปีใหม่และให้เลิกใช้จุลศักราชรัตนโกสินทรศก ให้ใช้พุทธศักราชแทน
ทรงจัดตั้งกองเสือป่าขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2453
พ.ศ. 2454 โปรดให้ตราข้อบังคับเกี่ยวกับลักษณะการปกครองลูกเสือขึ้นการศึกษา
ทรงโปรดยกโรงเรียนมหาดเล็กเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือน ภายหลังให้ยกโรงเรียนนี้เป็นจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย เริ่มต้นฝึกหัดครูชายและหญิง และโปรดให้หัวเมืองต่างๆ มีการศึกษาถึงชั้นมัธยมบริบูรณ์
พ.ศ. 2461 โปรดให้ออกพระราชบัญญัติ โรงเรียนราษฎร์
พ.ศ. 2464 โปรดให้ออกพระราชบัญญัติประถมศึกษาการกบฎกับการสงคราม
กบฎ ร.ศ. 130 ประกอบด้วย ทหารบก ทหารเรือ ข้าราชการ พลเรือน ได้ร่วมกันคิดที่จะทําการปฎิวัติ เมื่อ ร.ศ. 130 ตรงกับ พ.ศ. 2454 เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นประชาธิปไตย หัวหน้าที่เป็น นายทหารผู้ใหญ่มียศอย่างสูงคือ พันตรีหลวงพิฆเนศวร์ประสิทธิรักษ์ ความคิกของพวกก่อกบฎแบ่งเป็น 2 พวก1. ต้องการจะเปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นสาธารณรัฐ คือ มีประธนาธิบดีเป็นประมุข
2. ต้องการให้มีการปกครองแบบประชาธิประไตยโดยจะทําการใน วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2455
ซึ่งเป็นวันถือนํ้าพิพัฒน์สัตยา แต่ยังไม่กระทําการ ข่าวนี้ล่วงรู้ไปถึง พันเอกหม่อมเจ้าพันธุประวัติ เจ้ากรมช่างแสงได้ทรงทราบเรื่องราวรายละเอียดทั้งหมดจึงได้ทําการจับกุม พวกที่ถูกประหาร พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงลดลงเป็นจําคุกตลอดชีวิต
สยามเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง
พ.ศ. 2457 สงครามโลกครั้งที่หนึ่งปะทุขึ้นในทวีปยุโรป ทรงให้ความสนใจและติดตามข่าวการสงครามอย่างใกล้ชิด ในตอนแรกพระองค์มีนโยบายวางตัวเป็นกลาง แต่ก็เริ่มเอนเอียงไปเข้าข้างฝ่ายไตรภาคี (บริเตนใหญ่, ฝรั่งเศส และรัสเซีย) ในที่สุด ประเทศสยามประกาศตัวเข้าร่วมกับฝ่ายสัมพันธมิตร และประกาศสงครามต่อจักรวรรดิเยอรมันและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 การตัดสินพระทัยในครั้งนั้นได้รับการคัดค้านจากประชาชนทั่วไป เนื่องจากในสมัยนั้นมีคนสยามไปศึกษาต่อที่ประเทศเยอรมนีเป็นจำนวนมาก จึงนิยมและเคารพเยอรมนีเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ และเยอรมนีไม่เคยสร้างความเจ็บช้ำน้ำใจให้สยามมาก่อน
ชัยชนะของฝ่ายสัมพันธมิตรเปลี่ยนสถานะของสยามจากบ้านป่าเมืองเถื่อนห่างไกลเป็นประเทศที่เชิดหน้าชูตา และได้เป็นสมาชิกแรกก่อตั้งของสันนิบาตชาติที่ตั้งขึ้นใหม่หลังสงคราม และยังได้แก้ไขสนธิสัญญาที่สยามเสียเปรียบต่อประเทศอื่นๆด้วยกันถึง 13 ประเทศ การตัดสินพระทัยครั้งนี้ของพระองค์นับว่าถูกต้อง และช่วยกอบกู้ความนิยมของพระองค์ในหมู่ราษฎรได้ไม่น้อยเสด็จสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2453 จนถึงเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2468 เริ่มประชวรด้วยโรคลําไส้และโลหิตเป็นพิษ จนถึงเดือนพฤศจิกายน พระอาการประชวรก็กําเริบมากขึ้น จนเวลา 13.45 น. ของวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 ก็เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิ์พิมาน ทรงอยู่ในราชสมบัติ 15 ปี มีพระราชธิดาองค์เดียวทรงพระนามว่า เจ้าฟ้าเพชรรัตนฯ

logoline