svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"นักวิชาการสื่อ"ค้านเชิญคู่ขัดแย้งมาเผชิญหน้ากลางจอ

07 พฤศจิกายน 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน" คัดค้านรายการทีวีเปิดให้ฝ่ายเห็นต่างทางความคิด โดยเฉพาะด้านการเมืองมาประชันหน้ากลางจอ ย้ำแก้ปัญหาไม่ได้แต่ยังเพิ่มความขัดแย้ง ย้ำควรใช้คนกลางมาเสวนาเพื่อหาทางออก

8 พฤศจิกายน 2563 นายวรัชญ์ ครุจิต นักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน จากคณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ให้ความเห็นกรณีรายการข่าวเปิดพื้นที่ให้ผู้เห็นต่างทางการเมืองสองฝ่าย มาแสดงความเห็นจนบางครั้งมีปรากฏการณ์ทะเลาะกันกลางจอ กระทั่งเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมว่าเป็นการหาทางออกหรือเติมเชื้อไฟให้เกิดความขัดแย้งเพิ่มขึ้น ว่า ส่วนตัวมองว่าบทบาทหน้าที่ของสื่อ ไม่ใช่การเปิดพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาทางการเมือง แต่ควรเป็นการเปิดพื้นที่ให้สามารถแก้ไขปัญหาได้จริง มากกว่าการมาโต้เถียงกัน

ทั้งนี้ ข้อควรระวังของรายการประเภทนี้ คือ การเลือกแขกรับเชิญที่มาร่วมรายการในประเด็นความเห็นต่างทางการเมือง โดยเฉพาะทัศนคติที่สุดโต่ง จึงอาจทำให้เกิดกระแสการเหมารวม แม้ว่ามีกลุ่มคนที่เห็นด้วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเห็นด้วยทั้งหมด ซึ่งเรื่องนี้ ผู้ที่ทำหน้าที่พิธีกรในการควบคุมรายการ ก็ต้องมีประสบการณ์และไม่ทำให้รู้สึกว่าเป็นการเลือกข้าง ซึ่งการเปิดพื้นที่ในลักษณะนี้ ไม่ควรออกมาในรูปแบบรายการทอล์คโชว์ เพราะสื่อไม่ได้มีหน้าที่หาทางออกให้กับประเทศ และไม่ได้เป็นวัตถุประสงค์ของการทำหน้าที่สื่อมวลชน เพราะอาจเกิดการยั่วยุหรือสร้างความขัดแย้งมากขึ้น


\"นักวิชาการสื่อ\"ค้านเชิญคู่ขัดแย้งมาเผชิญหน้ากลางจอ




"หน้าที่ของสื่อมวลชนคือหาสมดุล หรือจุดตรงกลางในความเห็นต่างของคนในสังคม โดยอาจเริ่มต้นจากการเปิดพื้นที่พูดคุยให้กับกลุ่มบุคคลในครอบครัว หรือบุคคลที่มีช่องว่างระหว่างวัย เพื่อไม่ให้เกิดการเหยียดหยาม บูลี่ หรือใช้ Hate Speech ของคนในครอบครัว"นายวรัชญ์กล่าวและว่ายังควรมีข้อตกลงร่วมกันด้วยการมีคนกลางในรายการ เช่น จิตแพทย์หรือบุคคลที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการเป็นคนกลางเสวนา ที่นอกเหนือจากพิธีกร เพราะเมื่อสถาบันครอบครัวยอมรับความคิดที่แตกต่างกันได้แล้ว ก็ย่อมเป็นจุดเริ่มต้น ทำให้สังคมดีขึ้น และยอมรับความเห็นต่างของกันและกันได้อีกด้วย

ขณะที่น.ส.ชลธิชา รอดกันภัยนักสื่อสารมวลชนที่จบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางนิเทศศาสตร์ กล่าวว่า รายการประเภทนี้หากมองในแง่เรทติ้ง คือ ชนะเลิศ แต่การเชิญแขกมาทะเลาะกัน หรือเลือกผู้ร่วมรายการ ซึ่งมีความต่างด้านวุฒิภาวะมากๆ อาจทำให้ผู้ร่วมรายการฝ่ายหนึ่ง ดูแย่ในสายตาของสังคม สะท้อนถึงปัญหาการเลือกบุคคลเข้าร่วมรายการ และอาจลุกลามไปสู่การตั้งคำถามถึงความเป็นกลางในการทำหน้าที่สื่อ

น.ส.ชลธิชา กล่าวว่า สำหรับวิธีการปรับสมดุลของรายการประเภทนี้ ในประเด็นที่มีความอ่อนไหวมากๆ และยังสามารถรักษาเรทติ้งเอาไว้ได้ คือ การเชิญแขกมาครั้งละคน แล้วพิธีกรก็นำข้อเสนอของแขกวันนี้ ไปถามแขกอีกคนหนึ่งในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเป็นฝ่ายที่เห็นต่าง เพื่อแก้ปัญหาการทะเลาะถกเถียงกันกลางรายการ

\"นักวิชาการสื่อ\"ค้านเชิญคู่ขัดแย้งมาเผชิญหน้ากลางจอ

logoline