svasdssvasds
เนชั่นทีวี

พระราชสำนัก

หนึ่งในพระราชกรณียกิจ ตอน "พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ"

13 ตุลาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันที่ 13 ตุลาคม วันน้อมรำลึกเนื่องในวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งพระองค์ เป็นพระบิดาแห่งศาสตร์ทั้ง 9 หนึ่งในนั้นคือ "พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ"

ในมหามงคลสมัยที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงศิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี ใน พ.ศ. 2539 คณะรัฐมนตรี ได้เทิดพระเกียรติคุณในฐานะที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณในการพัฒนาทรัพยากรน้ำ โดยได้ถวายพระราชสมัญญา "พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ" เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2539 ณ ศาลาดุสิตดาลัย พระตำหนักจิตลดารโหฐาน ด้วยเป็นที่ประจักษ์แก่อาณาประชาราษฎร์ทั้งปวงว่า "น้ำคือชีวิต"

หนึ่งในพระราชกรณียกิจ ตอน "พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ"


นอกจากนี้ยังทรงพระราชทานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่ง น้ำเป็นจำนวนมาก ได้ทรงศึกษาค้นคว้าด้วยพระองค์เองทั้งจากเอกสารและรายงานทางวิชาการที่ เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการจัดการทรัพยากรน้ำ ทรงศึกษารายละเอียดจากแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศถึงพิกัดที่ตั้งหมู่บ้านในท้อง ถิ่นชนบทห่างไกล และเสด็จพระราชดำเนินทรงตรวจสภาพพื้นที่ภูมิประเทศจริงทรงกำหนดโครงการต่าง ๆ ขึ้นบนแผนที่ จากนั้นพระราชทานให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรับไปพิจารณาดำเนินการตามความเหมาะสม
ซึ่งได้ช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำของราษฎรและทำให้ราษฎรได้มีน้ำเพื่อ อุปโภคบริโภค และทำการเกษตรตามความต้องการอย่างเพียงพอในทุกฤดูกาล ความสนพระราชหฤทัยในเรื่องน้ำมิใช่แต่งานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อบรรเทาปัญหาความ เดือดร้อนของพสกนิกรอันเนื่องมาจากการขาดแคลนน้ำเท่านั้นแต่ยังทรงสนพระราช หฤทัยในการจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อให้เกิดความสมดุลทั้งด้านปริมาณและคุณภาพซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญในการ ดำรงชีวิของมนุษย์
โครงการการจัดการทรัพยากรน้ำและพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาทิโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภค ได้แก่เขื่อน อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในการจัดทรัพยากรแหล่งน้ำขนาด ต่าง ๆ อันเนื่องมาจากพระราชดำริมีจำนวนมาก กระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ ดังตัวอย่าง คือ
1. ภาคเหนือ ได้แก่ เขื่อนเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ อ่างเก็บน้ำแม่ต๋ำ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เป็นต้น
2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยเดียก อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อ่างเก็บน้ำ ลำพะยัง อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นต้น
3. ภาคกลาง ได้แก่ โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่าสัก จังหวัดลพลุรีและสระบุรี อ่างเก็บน้ำลองทรายทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก และโครงการพัฒนาห้วยแม่เพรียว อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น
4. ภาคใต้ ได้แก่ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช อ่างเก็บน้ำใกล้บ้านอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส อ่างเก็บน้ำคลองหลา อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และโครงการพัฒนาลุ่มน้ำคลองหอยโข่ง อำเภอขนงใหญ่ จังหวัดสงขลา เป็นต้น

หนึ่งในพระราชกรณียกิจ ตอน "พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ"

โครงการ พัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้แก่ งานพัฒนาแหล่งน้ำของศูนย์ศึกษาการพัฒนาหัวยฮ่องไคร้ฯ อำเภอดอยสะเก็ด และอ่างเก็บน้ำห้วยโจ้ จังหวัดเชียงใหม่
โครงการระบายน้ำออกจาก พื้นที่ลุ่ม ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้แก่ การระบายน้ำออกจากพื้นที่เพาะปลูกขอบพรุบาเจาะ อำเภอบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส
โครงการบรรเทาอุทกภัย ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้แก่ โครงการเขื่อนเก็บกักน้ำแม่น้ำป่าสัก จังหวัดลพบุรีและสระบุรีและโครงการเขื่อนเก็บกักน้ำบ้านท่าด่านแม่น้ำ นครนายก จังหวัดนครนายกที่เป็นการจัดการทรัพยากรน้ำแบบอเนกประสงค์ที่มุ่งพัฒนาแหล่ง น้ำเพื่อการชลประทาน แหล่งน้ำที่ใช้ในการผลิตน้ำประปา และช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในบริเวณ ใต้เขื่อนในภาคกลางและกรุงเทพมหานคร
การจัดการทรัพยากรน้ำในลักษณะ เขื่อนระบายน้ำ งานขุดลอกหนองและบึง และงานสระเก็บน้ำ ตัวอย่างโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้แก่ เขื่อนระบายลำน้ำเขิน อำเภอชุมแพ จังหวัดของแก่น งานขุดลอกหนองโสน ตำบลในเมือง จังหวัดนครราชสีมา และงานสระเก็บน้ำในท้องที่ต่าง ๆ ที่ไม่มีลำน้ำธรรมชาติหรือสภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวยให้ทำการก่อสร้างอ่าง เก็บน้ำและที่เก็บกักน้ำประเภทอื่น เช่น งานสระเก็บน้ำในท้องที่บ้านฉัตรมงคล อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา
การจัดการทรัพยากรน้ำในบรรยากาศ นอกจากการจัดการทรัพยากรน้ำผิวดินที่กล่าวไปแล้ว ยังทรงคิดค้นวิธีการในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำด้วยวิธีการอื่น ๆ ในรูปของการจัดการน้ำในบรรยากาศซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่
1. การทำฝนเทียม หรือ ฝนหลวง เป็นกระบวนการนำน้ำที่มีในบรรยากาศมาให้ประโยชน์ ด้วยการเหนี่ยวนำไอน้ำในบรรยากาศให้กลั่นตัวเป็นละอองน้ำ เมื่อละอองน้ำรวมตัวหนาแน่นจะเกิดเป็นเมฆ จากนั้นจึงกระตุ้นให้เมฆมีการรวมตัวกันหนาแน่น และเพิ่มปริมาณมากขึ้นจนเกิด เป็นฝนตกลงมา
2. เครื่องดักหมอก เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงศึกษาข้อมูล เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากหมอกใน อากาศว่าหมอกสามารถกลายเป็นหยดน้ำหล่อเลี้ยงต้นไม้ได้โดยทรงให้จัดทำแผงดัก หมอกที่ทำขึ้นจากวัสดุพื้นบ้านง่าย ๆ ไอน้ำที่อยู่ในรูปของหมอก เมื่อสามารถนำมาใช้ได้จึงก่อให้เกิดประโยชน์ อย่างมหาศาลทางด้านการเกษตร และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การปลูกป่า เป็นต้น
โครงการแก้ปัญหาน้ำท่วม โครงการแก้มลิง เป็นการระบายน้ำออกจากที่สุ่ม กรณีพื้นที่นั้นเกิดน้ำท่วมขังเป็นประจำ แก้มลิงเป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เกี่ยวกับพื้นที่หน่วงน้ำ (detension area) เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม มีแนวคิดจากการที่ลิงอมกล้วยไว้ในกระพุ้งแก้มไว้ได้คราวละมาก ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชกระแสอธิบายว่า"ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ลิงจะรีบปอกเปลือกเอาเข้าปากเคี้ยว แล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อน ลิงจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหวี หรือเต็มกระพุ้งแก้มจากนั้นจะค่อย ๆ นำออกมาเคี้ยวและกลืนกินภายหลัง"

หนึ่งในพระราชกรณียกิจ ตอน "พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ"


หน่วยงานต่าง ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร กรมชลประทาน มีการวางแผนพื้นที่แก้มลิงอย่างเป็นระบบโดยแก้มลิงมี 3 ขนาด คือ ใหญ่ กลาง และเล็ก มีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอน้ำก่อนที่จะจัดการระบายออกในเวลาต่อมา สามารถเป็นได้ทั้งพื้นที่ของรัฐและเอกชน ในปัจจุบันมีพื้นที่แก้มลิงขนาดใหญ่อยู่ทางฝั่งตะวันออกขอกกรุงเทพฯ เหนือสนามบินสุวรรณภูมิ โดยกำหนดในผังการใช้ที่ดินเป็นพื้นที่สีเขียวลาย ไม่เหมาะกับการพัฒนานอกจากนี้ ยังมีแก้มลิงเล็กใหญ่กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพฯ กว่า 20 จุด

โครงการบำบัดน้ำเสีย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มูลนิธิชัยพัฒนาสนับสนุนงบศึกษา และวิจัยจัดสร้างเครื่องต้นแบบ และร่วมกับกรมชลประทานผลิตเครื่องกลเติมอากาศ "กังหันน้ำชัยพัฒนา" ขึ้นมีใบพัดขับเคลื่อนน้ำและซองวิดน้ำไปสาดกระจาย เพื่อให้สัมผัสอากาศทั่วถึง ให้ออกซิเจนในอากาศละลายในน้ำอย่างรวดเร็วน้ำเสียถูกยกขึ้นมาตกลงน้ำเกิดฟอง ถ่ายเทออกซิเจนจึงสามารถนำไปใช้บำบัดน้ำเสียจากแหล่งชุมชนแหล่งอุตสาหกรรม และแหล่งเกษตรกรรม ปรับปรุงคุณภาพน้ำให้ดีขึ้นรวมทั้งการเพิ่มปริมาณออกซิเจนในบ่อเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอีกทางหนึ่ง
ประโยชน์ของโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริการจัดการทรัพยากรน้ำตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์เพื่อการเกษตรเป็นสำคัญ แต่ก็มีพัฒนาแหล่งน้ำหลาย ๆ โครงการที่มีวัตถุประสงค์หลาย ๆ อย่างพร้อมกันแบบอเนกประสงค์ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริสามารถก่อให้เกิดประโยชน์แก่ ประชาชนและประเทศชาติเป็นส่วนรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาว พอสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถทำการเพาะปลูกได้ทั้งฤดูฝน และฤดูแล้ง ช่วยให้ได้ผลิตผลมากขึ้น และสามารถทำการเพาะปลูกครั้งที่สองได้ เป็นการช่วยให้ราษฎรมีรายได้มากขึ้น
2. ในบางท้องที่เคยมีน้ำท่วมขัง จนไม่สามารถใช้ทำการเพาะปลูกได้ หรือไม่ได้ผลเท่าที่ควร โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่นบริเวณขอบพรุ ทำให้พื้นที่แห้งลงจนสามารถจัดสรรให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองเข้าทำ กินได้ ช่วยให้ไม่ไปบุกรุกทำลายป่าหาที่ทำกินแห่งอื่น ๆ ต่อไปซึ่งเป็นการช่วยรักษาป่าไม่อันเป็นทรัพยากรของชาติไว้ได้
3. เมื่อมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ ไว้ ก็มีการปล่อยพันธุ์ปลา ทำให้ราษฎรตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง สามารถมีปลาบริโภคภายในครอบครัว หรือเสริมรายได้ขึ้น
4. ช่วยให้ราษฎรมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่สะอาดอย่างพอเพียงตลอดปีทำให้ ราษฎรมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น และยังช่วยให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงสัตว์ด้วย
5. บางโครงการจะเป็นประเภทเพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขตชุมชนเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ และปริมณฑล ช่วยลดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้งภาคเอกชน และภาครัฐบาลเป็นอันมาก
6. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการรักษาต้นน้ำลำธารอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยการสร้างฝายเก็บกักน้ำบริเวณต้นน้ำลำธารเป็นขั้น ๆ พร้อมระบบกระจายน้ำจากฝายต่าง ๆ ไปสู่พื้นที่สองฝั่งของลำธารทำให้พื้นดินชุ่มชื้น และป่าไม้ตามแนวสองฝั่งลำธารเขียวชอุ่มตลอดปี ลักษณะเป็นป่าเปียกสำหรับป้องกันไฟป่าเป็นแนวกระจายไปทั่วบริเวณต้นน้ำ ลำธาร ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีความหลากหลายและอุดมสมบูรณ์ต่อไป
ด้วยพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำดังกล่าว รัฐบาลและประชาชนชาวไทยทั้งมวล จึงพร้อมใจกันน้อมเกล้าฯถวายพระราชสมัญญา "พระบิดาแห่งการจัดการทรัพยากรน้ำ"
แหล่งข้อมูล : http://www.xn--12co9drbac8a9as5aiidh8isei1npa.com/content/index.php?page=category&type=view&cat=57

logoline