svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

นายกฯ แถลง ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใช้ 26 มี.ค.63

24 มีนาคม 2563
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งทวีคูณความรุนแรงมากขึ้น ถึงกับทำให้ผู้ป่วยในประเทศไทยเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวในทุกๆวัน และยังมีผู้เสียชีวิตแล้วถึง 4 ราย

ทั้งนี้สถานการณ์ล่าสุด สธ.รายงานว่ายอดผู้เสียชีวิต โควิด -19 พุ่งสะสม 4 ราย ยอดรวมสูงกว่า 827 ราย ห่วงยอดผู้ป่วยใหม่ 4 รายเป็นบุคลากรทางการแพทย์ ติดจากผู้ป่วยไม่แจ้งประวัติเสี่ยง ยืนยันศพไม่สามารถแพร่เชื้อได้ ฌาปณกิจได้ตามปกติ
โดยก่อนหน้านี่ได้มีรายงานว่าหลังประชุมคณะรัฐมนตรี รัฐบาลเตรียมประกาศยกระดับมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในขั้นที่สูงขึ้น โดยจะมีมาตรการห้ามเดินทางข้ามจังหวัด โดยมาตรการห้ามรวมตัวกันทำกิจกรรมทุกประเภท และอาจมีมาตรการห้ามออกจากบ้านในเวลาที่กำหนด หรือที่เรียกว่า "เคอร์ฟิว" ด้วย โดยจะใช้อำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือ "พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ"

นายกฯ แถลง ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใช้ 26 มี.ค.63


มีรายงานว่า ระหว่างการประชุมคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้ขออนุมัติจากที่ประชุมเพื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง โดยอาศัยอำนาจตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 หรือ "พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ" เพื่อใช้มาตรการพิเศษตามกฎหมาย ในการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เช่น เคอร์ฟิว, ควบคุมการคมนาคม เป็นต้น

นายกฯ แถลง ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใช้ 26 มี.ค.63


และล่าสุด เวลา 14:00 น. ได้แถลงการณณ์ออกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เริ่มใช้ 26 มีนาคม 2563 นี้

นายกฯ แถลง ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ใช้ 26 มี.ค.63

นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงข่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ครม.เห็นชอบการใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ควบคุมสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  โดยจะเริ่มประกาศวันที่ 26 มี.ค.นี้ พร้อมยกระดับศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 เป็นศูนย์ฉุกเฉิน แบบ ศอฉ.
พล.อ.ประยุทธ์ ยังบอกว่า สำหรับ ศอฉ. โควิด-19 จะมีการประชุมทุกวันในเวลา 09.00 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล โดยหลังจากนี้จะมีการประกาศต่างๆออกมา โดยแต่ละหน่วยงานจะเสนอมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้ตนเองอนุมัติ เมื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว ก็จะมีการจัดตั้งผู้รับผิดชอบแต่ละกลุ่มงาน โดยสามารถออกข้อกำหนดต่างๆได้ตลอดเวลา ทุกวัน อย่างไรก็ตาม ในระยะที่ 1 ที่จะประกาศออกไปคือการขอความร่วมมือ เพื่อลดการแพร่เชื้อ ขอความร่วมมือลดการเดินทาง ทั้งนี้ เมื่อประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินไปแล้ว ขอให้ระมัดระวังการใช้สื่อโซเชียลที่อาจจะขัดกับกฎหมายด้วย
----

ทั้งนี้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ประกาศใช้เมื่อปี 2548 ในรัฐบาล นายทักษิณ ชินวัตร โดยประกาศเป็น "พระราชกำหนด" ไม่ใช่ "พระราชบัญญัติ" เพราะไม่ได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎร แต่ต้องเร่งประกาศเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่รุนแรงอย่างนัก โดยเฉพาะเหตุการณ์ "ดับเมืองยะลา" เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม ปี 48 / เมื่อประกาศใช้แล้วจึงนำเข้าขอความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาตามเงื่อนไข กระทั่งกฎหมายสามารถบังคับใช้ได้ต่อมาเช่นเดียวกับพระราชบัญญัติสาระสำคัญของ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ไม่ได้มีไว้แค่ "ดับไฟใต้" หรือแก้ปัญหาความขัดแย้งทางอาวุธเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงสถานการณ์ภัยคุกคามด้านอื่นๆ ที่กระทบของสาธารณะ หรือที่เข้าข่ายเป็นภัยพิบัติสาธารณะด้วย ตามนิยามที่กฎหมายเขียนไว้ในมาตรา 4 ที่ว่า "สถานการณ์ฉุกเฉินให้หมายรวมถึงสถานการณ์ที่กระทบกับความปลอดภัยของประชาชน การดำรงชีวิตโดยปกติสุขของประชาชน หรือการป้องปัดหรือแก้ไขเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติสาธารณะอันมีมาอย่างฉุกเฉินและร้ายแรง" ด้วย
การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นายกฯสามารถประกาศไปก่อนได้ทันที เพื่อให้ทันสถานการณ์ แล้วค่อยนำเข้าขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี หรือจะนำเข้าคณะรัฐมนตรีก่อนเพื่อประกาศออกมาเป็นมติ ครม.ก็ได้เมื่อประกาศใช้แล้ว อำนาจของทุกส่วนราชการ จะไปรวมศูนย์อยู่ที่นายกฯ ตามมาตรา 7 / ซึ่งจะทำให้การสั่งการของนายกฯเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ข้ามขั้นตอนหรือสายการบังคับบัญชาตามกฎหมายของแต่ละหน่วยงาน
โดยการบังคับใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ สามารถประกาศได้เฉพาะพื้นที่ (เหมือนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้) หรือครอบคลุมทั่วประเทศก็ได้ / และการประกาศแต่ละครั้ง จะมีระยะเวลานานที่สุด 3 เดือน หากสถานการณ์ฉุกเฉินจบลง ก็ให้นายกฯยกเลิกการประกาศได้ทันที / แต่หากสถานการณ์ฉุกเฉินยังคงอยู่ ก็ให้ขยายเวลาได้คราวละ 3 เดือน / ทำให้สามารถรีวิวสถานการณ์ได้ทุกๆ 3 เดือนสำหรับอำนาจพิเศษที่สามารถนำมาใช้รับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉิน มีบัญญัติในมาตรา 9 และ 11 รวมๆ ประมาณ 16 มาตรการ เช่น ห้ามประชาชนออกนอกเคหสถาน หรือ "เคอร์ฟิว" / สั่งอพยพประชาชนออกจากพื้นที่ / สั่งปิดเส้นทางคมนาคม / ห้ามชุมนุมมั่วสุม หรือไปรวมตัวกันจำนวนมากๆ / ห้ามนำเสนอข่าวสารที่กระทบกับสถานการณ์ / ห้ามใช้อาคารสถานที่ตามที่กำหนด / รวมถึงประกาศให้เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเป็น "เจ้าพนักงาน" ตาม พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ซึ่งจะทำให้มีเอกภาพในการปฏิบัติและการสั่งการมากขึ้นด้วย

logoline